วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

วงปี่พาทย์



 ประเภทของวงดนตรีไทย

          วงดนตรีไทยที่ถือเป็นวงมาตรฐาน พบเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น  3  ประเภท ดังนี้
                      1. วงปี่พาทย์
                      2. วงเครื่องสาย
                      3. วงมโหรี



วงปี่พาทย์
          หมายถึง วงดนตรีประเภทหนึ่งที่ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่ทำหน้าที่หลักในการบรรเลงบทเพลง เครื่องดนตรีเหล่านี้ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวง มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่มีหน้าที่เป่าประสานบทเพลง มี่เครื่องดนตรีประเภท เครื่องหนัง ได้แก่ ตะโพน กลองทัด มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ มีฉิ่งเป็นเครื่องกำกับ จังหวะย่อย(หนัก-เบา) มีฉาบ กรับ โหม่ง เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ประสมเป็นวงลักษณะต่างๆ ใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรม และมหรสพมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน

ประเภทของวงปี่พาทย์

๑ วงปี่พาทย์ชาตรี (งานมงคล)
                    ๒. งปี่พาทย์เครื่องห้า (งานมงคล)
                    ๓. วงปี่พาทย์เครื่องคู่ (งานมงคล)
                    ๔. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ (งานมงคล)
                    ๕. วงปี่พาทย์เสภา (งานมงคล)
                    ๖. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ (งานมงคล)
                    ๗. วงปี่พาทย์นางหงส์ (งานอวมงคล)
                    ๘. วงปี่พาทย์มอญ (งานอวมงคล)

วงปี่พาทย์ที่ใช้ในงานมงคล 
           - วงปี่พาทย์เครื่องเบา(วงปี่พาทย์ชาตรี)
                   สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายเรื่องวงปี่พาทย์ไว้ในหนังสือตำนานมโหรี ปี่พาทย์ ว่า "เดิมปี่พาทย์มี ๒ ชนิด คือวงปี่พาทย์เครื่องเบา กับวงปี่พาทย์เครื่องหนัก" ปี่พาทย์เครื่องเบา ก็คือปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบละครชาตรีของภาคใต้ เรียกอีกอย่างว่า "ปี่พาทย์ชาตรี" ลักษณะของวงปี่พาทย์ชาตรีเหมือนกับวงดนตรีประกอบการแสดง มโนราห์ของภาคใต้ ประกอบด้วย ๑. ปี่ ๒. กลองชาตรี ๓.โทนชาตรี ๔. ฆ้องคู่ ๕. ฉิ่ง 

วงปี่พาทย์ชาตรี
ที่มาภาพ : http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Templates/Peepart.html

*ลักษณะเครื่องดนตรีปี่พาทย์เครื่องเบา มักมีขนาดเล็กเคลื่อนย้ายง่าย* 

          - วงปี่พาทย์เครื่องห้า ( วงปี่พาทย์ไม้แข็ง)
                   หมายถึง เครื่องดนตรี ที่มีน้ำหนักของเครื่องดนตรีหนักกว่าวงปี่พาทย์เครื่องเบา ปี่พาทย์เครื่องหนัก เริ่มสืบค้นประวัติได้ในสมัยสุโขทัย ตามหลักฐานจดหมายเหตุของ นาย ลาลูแบ ราชทูตของชาวฝรั่งเศษสมัยแผ่นดิน พระนารายน์มหาราช วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า อาจารย์มนตรี ตราโมท(ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยของกรมศิลปากร) ได้อธิบายปี่พาทย์ที่เกิด ขึ้น ในสมัยสุโขทัยไว้ว่า เป็นวงปี่พาทย์ไม้แข็งที่มีลักษณะวงเป็นเครื่องห้า มีเครื่องดนตรีประกอบไปด้วย 
                    ๑. ปี่ มีหน้าที่เป่าบรรเลงทำนอง 
                    ๒. ฆ้องวงมีหน้าที่ ดำเนินทำนองหลัก 
                    ๓. ตะโพนมีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ
                    ๔. กลองทัด (ใบเดียว) มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ 
                    ๕. ฉิ่ง มีหน้าที่กำกับจังหวะย่อย (จังหวะหนักเบา)

                    * สรุปวงปี่พาทย์เครื่องห้าเป็นวงปี่พาทย์มีวิวัฒนาการ ๓ สมัยด้วยกันคือ
                    สมัยที่หนึ่ง   สมัยสุโขทัย  พบว่ามีเครื่องดนตรีดังนี้
                    ๑. ปี่ใน
                    ๒. ฆ้องวงใหญ่
                    ๓. ตะโพน
                    ๔. กลองทัด (ลูกเดียว)
                    ๕..ฉิ่ง 
                    สมัยที่สอง   สมัยอยุธยาตอนปลาย  พบว่ามี “ ระนาดเอก “ เข้าร่วมด้วย” ดังนี้
                    ๑.ปี่ใน
                    ๒.ระนาดเอก
                    ๓.ฆ้องวงใหญ่
                    ๔. ตะโพ
                    ๕.กลองทัด(ลูกเดียว)
                    ๖. ฉิ่ง 
                    สมัยที่สาม   สมัยรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่ ๑ เพิ่มกลองทัดเป็น ๒ ลูก เป็นคู่กัน  ลูกหนึ่งมีเสียงต่ำ เรียกว่า “ตัวเมีย” อีกลูกหนึ่งมีเสียงสูง เรียกว่า “ ตัวผู้” ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้ 
                    ๑. ปี่ใน
                    ๒.  ระนาดเอก
                     ๓. ฆ้องวงใหญ่
                    ๔.ตะโพน
                    ๕.กลองทัด (๒ลูก)
                    ๖. ฉิ่ง


วงปี่พาทย์เครื่องห้า สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ที่มาภาพ : http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Templates/Peepart.html
 - วงปี่พาทยไม้แข็งเครื่องคู่ 
                    เป็นวงปี่พาทย์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเพิ่มเครื่องดนตรีบางชิ้นให้มาเป็นคู่กับ เครื่องดนตรีที่มีอยู่เดิมในวงเครื่องห้า เพิ่มปี่นอกมาเป็นคู่กับปี่ใน เพิ่มระนาดทุ้มมาเป็นคู่กับระนาดเอก เพิ่มฆ้องวงเล็กมาเป็นคู่กับฆ้องวงใหญ่ เพิ่มฉาบ(เล็ก)มาเป็นคู่กับฉิ่ง

วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่
ที่มาภาพ : http://staffzone.amnuaysilpa.ac.th/thaimusic/pinprat2.htm

 *กำหนดให้ระนาดเอกอยู่ขวามือด้านหน้าสุด(กรณีตั้งวงจริง) เครื่องดนตรีชิ้นอื่นจัดตามตำแหน่ง แต่ให้ระนาดเอกเป็นต่ำแหน่งหลัก

          - วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่
                    เป็นวงปี่พาทย์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เครื่องดนตรีทุกชนิดเหมือนวงปี่พาทย์เครื่องคู่ แต่เพิ่มระนาดเอกเหล็ก  ระนาดทุ้มเหล็ก  ฉาบใหญ่  กรับ  โหม่ง

 *กำหนดให้ระนาดเอกอยู่ขวามือด้านหน้าสุด(กรณีตั้งวงจริง) เครื่องดนตรีชิ้นอื่นจัดตามตำแหน่ง แต่ให้ระนาดเอกเป็นตำแหน่งหลัก

วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่
ที่มาภาพ : http://www.patakorn.com/modules.php?name=News&file=article&sid=35

 - วงปี่พาทย์เสภา
                    เป็นวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์สำหรับการเล่นเสภาในอดีตมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับดังนี้
                    ๑. เริ่มแรกผู้ขับจะขับเสภาเป็นเรื่องราว พร้อมกับขยับกรับในไม้ต่างๆให้สอดประสานไปกับบทจนจบเรื่อง
                    ๒. ต่อมาให้มีดนตรีเข้ามาบรรเลงประกอบในการขับเสภา แต่บรรเลงเฉพาะกิริยาอารมณ์ต่างๆ ของตัวละครในบท เช่น ไป มา โกรธ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น
                    ๓ ต่อมานำบทเสภาบางตอนที่ไพเราะมาร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ ซึ่งในชั้นแรกจะเป็นเพลงในอัตราสองชั้น โดยสร้างรูปแบบและวิธีการเล่นปี่พาทย์เสภาที่มีปี่พาทย์ประกอบคือ เริ่มด้วยวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงรัวประลองเสภา ผู้ขับ ขับเสภาในบทไหว้ครู แล้วขับเข้าเรื่อง บทเสภาบทใดไพเราะ ผู้ขับก็จะร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ แล้วขับเสภาเดินเรื่องต่อ กระทำสลับกันจนจบเรื่อง ในระหว่างบทร้องส่งเพลงสุดท้าย เมื่อปี่พาทย์รับแล้วจะลงจบด้วยทำนองเพลงที่เป็นลูกหมด
                    ๔. การขยับกรับขับเสภาเป็นเรื่องราวจึงลดน้อยค่อยๆหายไป คงเหลือแต่การนำบทเสภาในเรื่องต่างๆมาขับร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ พร้อมทั้งสร้างรูปแบบ ลำดับวิธีการบรรเลงปี่พาทย์เสภา ยึดถือเป็นระเบียบดังนี้ ๑. รัวประลองเสภา ๒.โหมโรงเสภา ๓. เพลงพม่า ๕. ท่อน ๔.เพลงจะเข้หางยาว ๕.เพลงสี่บท ๖.เพลงบุหลัน จากนั้นจะร้องและบรรเลงเพลงประเภททยอย เช่น ทยอยเขมร ทยอยนอกทยอยใน โอ้ลาว แขกลพบุรี แขกโอด เป็นต้น หรืออาจต่อด้วยเพลงตับเรื่องต่างๆ เมื่อจะจบการ บรรเลง จะบรรเลงและขับร้อง " เพลงลา" เป็นอันดับสุดท้าย สำหรับเพลงลาเป็นเพลงลักษณะหนึ่งที่ท่วงทำนองตอนหนึ่งให้ปี่ว่า " ดอก " ตามบทร้อง เช่น เพลงเต่ากินผักบุ้ง เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง วงปี่พาทย์เสภามีรูปแบบจัดวง ๓ รูปแบบ

            ๕. ต่อมานำบทเสภาบางตอนที่ไพเราะมาร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ ซึ่งในชั้นแรกจะเป็นเพลงในอัตราสองชั้น โดยสร้างรูปแบบและวิธีการเล่นปี่พาทย์เสภาที่มีปี่พาทย์ประกอบคือ เริ่มด้วยวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงรัวประลองเสภา ผู้ขับ ขับเสภาในบทไหว้ครู แล้วขับเข้าเรื่อง บทเสภาบทใดไพเราะ ผู้ขับก็จะร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ แล้วขับเสภาเดินเรื่องต่อ กระทำสลับกันจนจบเรื่อง ในระหว่างบทร้องส่งเพลงสุดท้าย เมื่อปี่พาทย์รับแล้วจะลงจบด้วยทำนองเพลงที่เป็นลูกหมด

                            ๑. วงปี่พาทย์เสภาเครื่องห้า
                            ๒. วงปี่พาทย์เสภาเครื่องคู่
                            ๓. วงปี่พาทย์เสภาเครื่องใหญ่
            ลักษณะการจัดวงใช้วิธีการจัดวงเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็ง เปลี่ยนเอากลองทัด  และตะโพนออก ใช้กลองสองหน้าควบคุมจังหวะหน้าทับแทน

          - วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์



วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
ที่มาภาพ : http://thailandclassicalmusic.com/thaimusic/pinprat2.htm

  เป็นวงดนตรีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ จากความคิดริเริ่มของเจ้าพระยาเทเวศร์วงวิวัฒน์เมื่อ ครั้งไปยุโรป ทรงเห็นการแสดง " โอเปร่า" ที่ฝรั่งเล่นเกิดชอบใจ กลับมาทูลชวน ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ให้ทรงช่วยร่วมมือกันคิดขยายการ เล่นละครโอเปร่าอย่างไทย จึงทรงสร้างโรงละครขึ้นใหม่ชื่อว่าโรงละครดึกดำบรรพ์ จึงเรียกการแสดงนี้เลียนแบบโรงละครว่า ละครดึกดำบรรพ์ วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนี้ตั้งชื่อวงตามการแสดง ชื่อว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

          - วงปี่พาทย์ไม้นวม
                    เป็นวงปี่พาทย์ที่มีลักษณะและรูปวงคล้ายคลึงกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง มีการปรับเปลี่ยนไม้ที่ใช้ตีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีแต่ละชนิด ให้มีความนุ่มของเสียงมากขึ้น เพราะความต้องการวงดนตรีที่มีเสียงไม่ดังเกินไป เพื่อสำหรับ บรรเลงประกอบการแสดงละครที่พัฒนาขึ้นในสมัยหลัง จึงปรับเปลี่ยน รูปแบบของเครื่องดนตรี และการประสมวงของวง ปี่พาทย์ไม้แข็งเสีย ใหม่ คือ ไม้ที่ใช้สำหรับรรเลงระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก เปลี่ยนมาใช้ไม้นวมแทน เครื่องเป่าก็เปลี่ยนจากปี่มาเป็นขลุ่ยเพียงออไม่แข็งกร้าวเหมือนเดิม จากคำอธิบายที่มาของวงปี่พาทย์ไม้นวมของอาจารย์ มนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ) อธิบายไว้ว่า น่าจะเกิดตามหลังวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่ง ใช้ไม้นวมตีระนาดเอก และนำเอาซออู้ , กลองแขก ที่ใช้บรรเลงในวงปี่ พาทย์ดึกดำบรรพ์เข้ามาบรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้นวมด้วย สำหรับวงปี่พาทย์ไม้นวมในปัจจุบัน นิยมใช้บรรเลงและขับร้องในรูปแบบในการขับกล่อม และประกอบการแสดง โดยเฉพาะการแสดงที่มีลักษณะเป็นโรงละคร หรือแสดงภายในอาคาร

  เป็นวงดนตรีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ จากความคิดริเริ่มของเจ้าพระยาเทเวศร์วงวิวัฒน์เมื่อ ครั้งไปยุโรป ทรงเห็นการแสดง " โอเปร่า" ที่ฝรั่งเล่นเกิดชอบใจ กลับมาทูลชวน ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ให้ทรงช่วยร่วมมือกันคิดขยายการ เล่นละครโอเปร่าอย่างไทย จึงทรงสร้างโรงละครขึ้นใหม่ชื่อว่าโรงละครดึกดำบรรพ์ จึงเรียกการแสดงนี้เลียนแบบโรงละครว่า ละครดึกดำบรรพ์ วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนี้ตั้งชื่อวงตามการแสดง ชื่อว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

          - วงปี่พาทย์ไม้นวม
                    เป็นวงปี่พาทย์ที่มีลักษณะและรูปวงคล้ายคลึงกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง มีการปรับเปลี่ยนไม้ที่ใช้ตีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีแต่ละชนิด ให้มีความนุ่มของเสียงมากขึ้น เพราะความต้องการวงดนตรีที่มีเสียงไม่ดังเกินไป เพื่อสำหรับ บรรเลงประกอบการแสดงละครที่พัฒนาขึ้นในสมัยหลัง จึงปรับเปลี่ยน รูปแบบของเครื่องดนตรี และการประสมวงของวง ปี่พาทย์ไม้แข็งเสีย ใหม่ คือ ไม้ที่ใช้สำหรับรรเลงระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก เปลี่ยนมาใช้ไม้นวมแทน เครื่องเป่าก็เปลี่ยนจากปี่มาเป็นขลุ่ยเพียงออไม่แข็งกร้าวเหมือนเดิม จากคำอธิบายที่มาของวงปี่พาทย์ไม้นวมของอาจารย์ มนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ) อธิบายไว้ว่า น่าจะเกิดตามหลังวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่ง ใช้ไม้นวมตีระนาดเอก และนำเอาซออู้ , กลองแขก ที่ใช้บรรเลงในวงปี่ พาทย์ดึกดำบรรพ์เข้ามาบรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้นวมด้วย สำหรับวงปี่พาทย์ไม้นวมในปัจจุบัน นิยมใช้บรรเลงและขับร้องในรูปแบบในการขับกล่อม และประกอบการแสดง โดยเฉพาะการแสดงที่มีลักษณะเป็นโรงละคร หรือแสดงภายในอาคาร

วงปี่พากทย์ไม้นวม
ที่มาภาพ : http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2497

* วงปี่พาทย์ไม้นวม กำเนิดของวงนี้มาจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบของวงปี่พาทย์ไม้แข็ง กล่าวคือ เปลี่ยนหัวไม้ที่ใช้สำหรับการบรรเลงระนาดเอกฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก จากที่เป็นหัวไม้แข็งก็มาใช้ไม้นวม (ใช้พันผ้าแล้วถักด้วยเส้นด้ายสลักจนนุ่ม) แทนทำให้ลดความดังและความเกรี้ยวกราดของเสียงลง เครื่องเป่าแต่เดิมที่ใช้ปี่ใน ซึ่งมีเสียงดังมากจึงเปลี่ยนมาใช้ขลุ่ยเพียงออ ซึ่งมีเสียงเบากว่าแทน และยังเพิ่มซออู้เข้าไปอีก 1 คัน ทำให้วงมีเสียงนุ่มนวลและกลมกล่อมมากขึ้นกว่าเดิม

วงปี่พาทย์ไม้นวมในปัจจุบัน นิยมใช้บรรเลงและขับร้องในรูปแบบในการขับกล่อม และประกอบการแสดงโดยเฉพาะการแสดงที่มีลักษณะเป็นโรงละครหรือแสดงภายในอาคาร แบ่งออกเป็น 3 วง เช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ได้แก่

  1. วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย ๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ซออู้, ๕.ตะโพน, ๖.กลองแขก, ๗.ฉิ่ง
  2. วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย ๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้มไม้, ๔.ฆ้องวงใหญ่, ๕.ฆ้องวงเล็ก, ๖.ซออู้, ๗.ตะโพน, ๘.กลองแขก, ๙.ฉิ่ง, ๑๐.ฉาบ, ๑๑.โหม่ง
  3. วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย ๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้มไม้, ๔ฆ้องวงใหญ่, ๕.ฆ้องวงเล็ก, ๖ระนาดเอกเหล็ก, ๗.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๘.ซออู้, ๙.ตะโพน, ๑๐.กลองแขก, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.ฉาบ, ๑๓.โหม่ง

วงปี่พาทย์ที่ใช้ในงานอวมงคล
          - วงปี่พาทย์นางหงส์
                    เป็นวงปี่พาทย์อีกชนิดหนึ่งที่นำเอาวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับวง ปี่ชวา - กลองมาลายู ( หรือที่เรียกว่า วงบัวลอย ) ซึงประกอบ ๑.ปี่ชวา ๒.กลองมลายู(ตีด้วยไม้งอๆ) ๓.ฆ้องเหม่ง แล้วนำไปประสมกับวงปี่พาทย์ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังนี้
                               เอาตะโพน – กลองทัดในวงปี่พาทย์ออกใช้กลองมาลายูตีแทน
                               เอาปี่ใน ในวงปี่พาทย์ออก ใช้ปี่ชวา เป่าแทน
                               เอาฆ้องเหม่งในวงปี่-กลองออก เพราะมีฉิ่ง เป็นเครื่องควบคุมจังหวะอยู่


วงปี่พาทย์นางหงส์
ที่มาภาพ : http://www.patakorn.com/modules.php?name=News&file=article&sid=42

  เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดในการเกิดของวงปี่พาทย์นางหงส์  และยังไม่สามารถหาหลักฐานที่แน่นอนของการประสมวงนางหงส์ ว่าเกิดขึ้นในสมัยใด แต่ในปัจจุบันปรากฏลักษณะรูปวงนางหงส์เป็น ๒ แบบ คือ ๑. ใช้ตีด้วยกลองมาลายู ๒. ใช้ตีด้วยกลองทัด ทั้งสองแบบใช้หน้าทับที่คล้ายคลึงกัน ผิดกันแต่วิธีการตีเท่านั้น

          - วงปี่พาทย์มอญ


                        

วงปี่พาทย์มอญ
ที่มาภาพ : http://www.patakorn.com/modules.php?name=News&file=article&sid=41
 เป็นวงดนตรีที่ได้รับรูปแบบมาจากมอญแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมวงปี่พาทย์มอญเป็นเครื่องดนตรีประจำของชาวรามัญอย่างหนึ่ง ซึ่งบรรเลงในงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นงานมงคลและงานอวมงคล แต่คนไทยในสมัยปัจจุบันยึดถือกันว่า ปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงได้แต่งานศพเท่านั้น(อวมงคล) ที่เป็นดังนี้ก็คงเป็นด้วยสมัยต่อมา ได้เห็นปี่พาทย์มอญออกบรรเลงแต่งานพระบรมศพ เมื่อออกพระเมรุ จึงทำให้เกิดความนิยม งานศพก็จะหาปี่พาทย์มอญมาประโคมเป็นเกียรติ กลายเป็นค่านิยมมาจนถึงทุกวันนี้ อีกประการหนึ่งคงจะเป็นด้วยเสียงเพลงของวงปี่พาทย์มอญมีความไพเราะเยือกเย็นระคนเศร้า เหมาะกับงานศพเป็นอย่างยิ่ง และเครื่องดนตรีก็มีความสวยงาม แกะลวดลายลงรักปิดทอง กลมกลืนกับตู้พระธรรมและเครื่องตั้งศพ

อ้างอิง http://www.digitalschool.club/digitalschool/art/music1_1/lesson1/gamelan2.php
แบบทดสอบหลังเรียน

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565

นาฏยศัพท์และภาษาท่า

 




นาฏยศัพท์และภาษาท่า 


นาฏยศัพท์หมายถึง  

       ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่าง ๆ

ประเภทของนาฏยศัพท์
       แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑.  นามศัพท์  หมายถึง ศัพท์ที่เรืยกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ ม้วนมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กระเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่

๒.  กิริยาศัพท์  หมายถึงศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา แบ่งออกเป็น
๒.๑  ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ตึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า เปิดส้น ชักส้น
๒.๒  ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัวและแก้ไขท่าทีของตนให้ดี เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ

๓.  นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด หมายถึง ศัพท์ต่างๆ ที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อน เหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ท่า ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่-พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง ศัพท์แทน

ลักษณะต่างๆ ของนาฏยศัพท์  แบ่งตามการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่

๑. ส่วนศีรษะ
เอียง  คือ การเอียงศีรษะ ต้องกลมกลืนกับไหล่และลำตัวให้เป็นเส้นโค้ง ถ้าเอียงซ้ายให้หน้าเบือนทางขวาเล็กน้อย ถ้าเอียงขวาให้หน้าเบือนทางซ้ายเล็กน้อย
ลักคอ  คือ การเอียงคนละข้างกับไหล่ที่กดลง ถ้าเอียงซ้ายให้กดไหล่ขวา ถ้าเอียงขวา ให้กดไหล่ซ้าย
เปิดคาง  คือ ไม่ก้มหน้า เปิดปลายคางและทอดสายตาตรงสูงเท่าระดับตาตนเอง
กดคาง  คือ ไม่เชิดหน้าหรือเงยหน้ามากเกินไป

๒. ส่วนแขน
วง คือ การเหยียดมือให้ตึงทั้งห้านิ้ว แต่นิ้วหัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อย การตั้งวงที่สวยงาม ต้องหักข้อมือเข้าหาลำแขนบนให้มาก ทอดลำแขนให้ส่วนโค้งพองาม และงอศอกเล็กน้อย วงแบ่งออกเป็น 

วงบน คือ ยกแขนไปข้างลำตัว ทอดศอกโค้ง มือแบตั้งปลายนิ้วขึ้นวงพระปลายนิ้วอยู่ระดับศีรษะ
ส่วนวงนางปลายนิ้วจะอยู่ระดับหางคิ้วและวงแคบกว่า

วงกลาง คือ การยกส่วนโค้งของลำแขนให้ปลายนิ้วสูงระดับไหล่ ลำแขนส่วนบนลาดกว่าวงบน

วงล่าง คือ การตั้งวงระดับต่ำที่สุด โดยทอดส่วนโค้งของลำแขนลงข้างล่างอยู่ระดับเอว โดยตั้งมือตรงหัวเข็มขัด ตัวพระกันศอกให้ห่างตัว

วงหน้า คือ ส่วนโค้งของลำแขนที่ทอดโค้งอยู่ข้างหน้า  วงพระผายกว้างกว่านาง ปลายนิ้วอยู่ระดับแก้ม วงนางปลายนิ้วอยู่ระดับปาก  


วงบัวบาน คือ ยกแขนขึ้นข้างลำตัว ให้ศอกสูงระดับไหล่
หักศอกให้แขนท่อนล่างพับเข้าหาตัว ตั้งฉากกับแขนท่อนบน
มือแบหงายปลายนิ้วชี้ไปข้างๆ ตัววงนางจะแคบกว่าวงพระ

๓. ส่วนมือ

มือแบ  คือ นิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย ติดกัน ตึงนิ้ว หัวแม่มือ กาง หลบไปทางฝ่ามือ หักข้อมือไปทางหลังมือ แต่มีบางท่าที่ หักข้อมือไปทางฝ่ามือ เช่น ท่าป้องหน้า
มือจีบ  คือ การกรีดนิ้ว โดยเอานิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจรดกัน ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดข้อแรกของปลายนิ้วชี้ ให้ตึงนิ้ว นิ้วกลาง นาง ก้อย กรีดห่างกัน หักข้อมือไปทางฝ่ามือ

จีบแบ่งเป็น ๕ ลักษณะ ได้แก่

จีบหงาย  คือ การหงายฝ่ามือให้ปลายนิ้วชี้ขึ้น ถ้าอยู่ระดับหน้าท้องเรียกว่า จีบหงายชายพก  

 จีบคว่ำ  คือ การคว่ำฝ่ามือให้ปลายนิ้วชี้ลง หักข้อมือเข้าหาลำแขน

จีบส่งหลัง  คือ การส่งแขนไปข้างหลัง ตึงแขน พลิกข้อมือให้ปลายนิ้วชี้ขึ้น แขนตึงและส่งแขนให้สูงไปด้านหลัง 

จีบปรกหน้า  คือ การจีบที่คล้ายกับจีบหงาย แต่หันจีบเข้าหาลำตัวด้านหน้า
ทั้งแขนและมือชูอยู่ด้านหน้า ตั้งลำแขนขึ้น ทำมุมที่ข้อพับตรงศอก
หันจีบเข้าหาหน้าผาก

 จีบปรกข้าง  คือ การจีบที่คล้ายกับจีบปรกหน้า แต่หันจีบเข้าหาแง่ศีรษะ ลำแขนอยู่ข้าง ๆ ระดับเดียวกับวงบน 

 จีบล่อแก้ว คือ ลักษณะกิริยาท่าทางคล้ายจีบ ใช้นิ้วกลางกดข้อที่ ๑
ของนิ้วหัวแม่มือ หักปลายนิ้วหัวแม่มือคล้ายวงแหวน นิ้วที่เหลือเหยียดตึง
หักข้อมือเข้าหาลำแขน


๔. ส่วนลำตัว

ทรงตัว
คือ การยืนให้นิ่ง เป็นการใช้ลำตัวตั้งแต่ศีรษะ ตลอดถึงปลายเท้าในท่าที่สวยงาม ไม่เอนไปทางใดทางหนึ่งขณะที่ยืน
เผ่นตัว
คือ กิริยาอาการทรงตัวชนิดหนึ่ง มาจากท่าก้าวเท้า แล้วส่งตัวขึ้น โดยการยกเข่าตึงเท้าหนึ่ง ยืนรับน้ำหนักอีกเท้าหนึ่งอยู่ข้างๆ
ดึงไหล่
คือ การรำหลังตึง หรือดันหลังขึ้น ไม่ปล่อยให้ไหล่ค่อม
กดไหล่
คือ กิริยากดไหล่โน้มตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง ทำพร้อมกับการเอียงศีรษะ กดลงเฉพาะไหล่ ไม่ให้สะโพกเอียงไปด้วย
ตีไหล่คือ การกดไหล่ แล้วบิดไหล่ข้างที่กดไปข้างหลัง

กล่อมไหล่


คือ กดไหล่ แล้วบิดไหล่ข้างที่กดมาข้างหน้า


ยักตัว



ดึงเอว
คือ  กิริยาของลำตัวส่วนเกลียวหน้า ยักขึ้นลง ไหล่จะขึ้นลงตามไปด้วย แต่สะโพกอยู่คงที่ และลักคอด้วย

  คือ กิริยาของเอวด้านหลังตั้งขึ้นตรง ไม่หย่อนตัว


๕. ส่วนเข่าและขา
เหลี่ยม
คือ ลักษณะของเข่าที่แบะห่างกัน เมื่อก้าวเท้า พระต้องกันเข่าให้เหลี่ยมกว้าง ส่วนนางก้าวข้าง ต้องหลบเข่า ไม่ให้มีเหลี่ยม
จรดเท้าคือ อาการของเท้าข้างใดข้างหนึ่งที่วางอยู่ข้างหน้า น้ำหนักตัวจะอยู่ที่เท้าหลัง เท้าหน้าจะใช้เพียงปลายจมูกเท้า แตะเบาๆไว้กับพื้น (จมูกเท้า คือ บริเวณเนื้อโคนนิ้วเท้า)
แตะเท้าคือ การใช้ส่วนของจมูกเท้าแตะพื้น แล้ววิ่งหรือก้าว ขณะที่ก้าว ส่วนอื่นๆ ของเท้าถึงพื้นด้วย
ซอยเท้าคือ กิริยาที่ใช้จมูกเท้าวางกับพื้น ยกส้นเท้าน้อยๆ ทั้ง ๒ ข้าง แล้วย่ำซ้ายขวาถี่ๆ จะอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ก็ได้
ขยั่นเท้าคือ เหมือนซอยเท้า ต่างกันที่ขยั่นเท้าต้องไขว้เท้า แล้วทำกิริยาเหมือนซอยเท้า ถ้าขยั่นเคลื่อนที่ไปทางขวาก็ให้เท้าซ้ายอยู่หน้า ถ้าขยั่นเคลื่อนที่ไปทางซ้ายก็ให้เท้าขวาอยู่หน้า
ฉายเท้าคือ กิริยาที่ก้าวหน้า แล้วต้องการลากเท้าที่ก้าวมาพักไว้ข้างๆ ให้ใช้จมูกเท้าจรดพื้นไว้ เผยอส้นนิดหน่อย แล้วลากมาพักไว้ในลักษณะเหลื่อมเท้า โดยหันปลายเท้าที่ฉายมาให้อยู่ด้านข้าง
ประเท้าคือ อาการที่สืบเนื่องจากการจรดเท้า โดยยกจมูกเท้าขึ้น ใช้สันเท้าวางกับพื้น ย่อเข่าลงพร้อมทั้งแตะจมูกเท้าลงกับพื้น แล้วยกเท้าขึ้น
ตบเท้าคือ กิริยาของการใช้เท้าคล้ายกับประเท้า แต่ไม่ต้องยกเท้าขึ้น ห่มเข่าตามจังหวะที่ตบเท้าอยู่ตลอดเวลา
ยกเท้าคือ การยกเท้าขึ้นไว้ข้างหน้า เชิดปลายเท้าให้ตึง หักข้อเท้าเข้าหาลำขา ตัวพระกันเข่าออกไปข้างๆ ส่วนสูงระดับเข่าข้างที่ยืน ตัวนางไม่ต้องกันเข่า ส่วนสูงอยู่ต่ำกว่าเข่าข้างที่ยืน ชักส้นเท้าและเชิดปลายนิ้ว
ก้าวเท้า 
 ก้าวหน้า คือ การวางฝ่าเท้าลงบนพื้นข้างหน้า โดยวางส้นเท้าลงก่อน ตัวพระจะก้าวเฉียงไปข้างๆตัวเล็กน้อยเฉียงปลายเท้าไปทางนิ้วก้อย กันเข่าแบะให้ได้เหลี่ยม ส่วนตัวนางวางเท้าลงข้างหน้า ไม่ต้องกันเข่า ปลายเท้าเฉียงไปทางนิ้วก้อยเล็กน้อย
 ก้าวข้าง  คือ การวางเท้าไปข้างๆตัว ปลายเท้าเฉียงไปทางนิ้วก้อยมาก ถ้าเป็นตัวนาวต้องหลบเข่าตามไปด้วย
กระทุ้งคือ การวางเท้าไว้ข้างหลังด้วยจมูกเท้า แล้วใช้จมูกเท้ากระทุ้งลงกับพื้น แล้วกระดกขึ้น หรือยกไปข้างหน้า
กระเทาะคือ อาการของการใช้เท้าคล้ายกระทุ้ง แต่ไม่ต้องกระดกเท้า ใช้จมูกเท้ากระทุ้งเป็นจังหวะหลายๆ ครั้ง
กระดก 
กระดกหลัง  กระทุ้งเท้าแล้วถีบเข่าไปข้างหลังมากๆ ให้เข่าทั้งสองข้างแยกห่างจากกัน ให้ส้นเท้าชิดก้นมากที่สุด หักปลายเท้าลง ย่อเข่าที่ยืน ตัวพระต้องกันเข่าด้วย

กระดกเสี้ยว  คล้ายกระดกหลัง แต่เบี่ยงขามาข้างๆและไม่ต้องกระทุ้งเท้า มักทำเนื่องต่อจากการก้าวข้าง หรือท่านั่งกระดกเท้า

ชี้นิ้วคือ อาการนิ้วหัวแม่มือแตะปลายนิ้วก้อย นาง กลาง นิ้วชี้ตึง แยกห่างจากนิ้วอื่นๆระดับมืออยู่ในตำแหน่งต่างๆกัน แล้วแต่ความหมาย
ม้วนมือคือ การจีบหงายแล้วม้วนข้อมือ คลายจีบเป็นแบ คว่ำข้อมือ ตั้งปลายนิ้วขึ้น
สอดมือคือ การจีบคว่ำ แล้วสอดจีบขึ้น แบหงาย ปลายนิ้วลงล่าง แล้วพลิกข้อมือคว่ำ ตั้งปลายนิ้วขึ้น
สะบัดมือคือ ลักษณะมือจีบหงาย สะบัดนิ้วทั้งสี่ออกโดยเร็ว เป็นแบหงายให้ปลายนิ้วลงล่าง

ภาษาท่า  หมายถึง การสื่อความหมายหรือสื่อสารให้เข้าใจกัน โดยใช้กิริยาท่าทาง การรำในทางนาฏศิลป์ เรียกว่า รำบท หรือรำตีบท คือ การแสดงท่ารำแทนคำพูด รวมทั้งการแสดงอารมณ์ด้วย การรำบทเป็นการใช้ภาษาที่พัฒนามาจากท่าทางโดยธรรมชาติ ท่ารำที่ใช้ในการรำตีบท เช่น

ตัวเรา (ฉัน)- จีบหงายมือซ้าย กลางอก แนบตัว (จะต้องเป็นมือซ้ายเท่านั้น)
ตัวท่าน- (ระดับสูงกว่า) แบมือ ปลายนิ้วทั้งสี่ ชี้ไปที่บุคคลที่เราพูดด้วย มือสูงระดับอก
เธอ- (ระดับเท่ากัน) ชี้นิ้วไปยังบุคคลนั้น
เขา- ชี้ไปยังทิศที่คาดว่าเขาอยู่
ท่าน- แบมือ ตั้งปลายนิ้วขึ้น ยกมือสูงระดับวงบนข้างหน้าหรือซ้ายขวา
พระองค์- พนมมือ ตั้งสูงระดับศีรษะข้างซ้ายหรือขวา

พูด, กล่าว 

 

- ชี้ที่ปาก

- จีบมือที่ปากแล้วม้วนออกไป

กิน- ชี้ที่ปาก
ดู, เห็น- ชี้ที่ตา
ประสบ, พบ, เห็น- มือหนึ่งแบวงหน้า อีกมือหนึ่งแบคว่ำ ตึงแขนข้างลำตัวระดับเอว ก้าวเท้าชะงัก   (เท้าเดียวกับมือวงหน้า)
มองดู, หา,  เห็น- มือหนึ่งจีบหงายที่ชายพก อีกมือหนึ่งจีบหลัง เอียงทางมือจีบหลัง (พระ ก้าวเท้าเดียวกับมือจีบหน้า  นาง ก้าวเท้าเดียวกับมือจีบหลัง)
เสาะหา, ค้นหา, มองหา- มือหนึ่งแบมือกดลง ยกมือสูงระดับหน้าผาก อีกมือหนึ่งแบหงายงอศอก   ระดับเอวข้างตัว (พระ ก้าวเท้ามือสูง  นาง ก้าวเท้ามือต่ำ)

ได้ยิน, ได้ฟัง

 

- ชี้ที่หู
- แบมือตั้งป้องหู
- ก้าวขวา เอียงขวา มือขวาแบวงล่าง มือซ้ายแบหงาย ตึงแขนข้างตัวระดับเอว
- ก้าวซ้าย เอียงซ้าย มือซ้ายแบวงล่าง มือขวาแบหงาย ตึงแขนข้างตัวระดับเอว
อยู่- แบสองมือ คว่ำช้อนกันข้างหน้าระดับเอว ห่างตัว 
รวม, ร่วม- แบสองมือ คว่ำข้างตัว แล้วรวมมือเข้าหากันข้างหน้า ขณะเดินมือค่อยๆ กดฝ่ามือลง จีบช้าๆ เมื่อมือรวมกัน 

ไป

- จีบหงาย ม้วนจีบคว่ำลง ม้วนมือออกไปปล่อยจีบ แบมือตั้งวงหน้า
- จีบหงาย ม้วนจีบคว่ำลง ม้วนมือออกไปปล่อยจีบ แบมือตั้งวงบนข้างตัว

มา

- แบมือตั้งวงพิเศษ กดฝ่ามือ ปาดเข้าหาตัว จีบช้าๆ
- แบตั้งสองมือข้างใดก็ได้ แล้วดึงมือไปตรงกันข้าม พร้อมทั้งกดฝ่ามือลง จีบช้าๆ
เรียกเข้ามาหา,กวักเรียก- แบตั้งวงหน้า กดฝ่ามือลงโดยเร็ว เป็นจีบคว่ำ
คอยหา- สองมือ เท้าเอว ยืนชะเง้อ
เชยชม, ขอ- มือแบหงายฝ่ามือ ระดับอก มือเดียวหรือ ๒ มือก็ได้

คิดถึง, รู้สึก, ชีวิต, จิตใจ

- จีบมือซ้าย กลางอก แนบตัว
- แบสองมือ ประทับซ้อนกัน กลางอก แนบตัว
ท่านทั้งหลาย- มือแบหงาย ผายออกจากข้างหน้า ไปข้างๆ
พร้อมใจ- แบสองมือ ประทับซ้อนกัน กลางอก แนบตัว
ช่วยเหลือ, ให้, อุทิศ- สองมือแบตะแคงข้างตัว กอบขึ้นข้างหน้า
สิ่งศักดิ์สิทธิ์, สิ่งที่เคารพ,
ชาติ, บ้านเมือง, คุณธรรม

- แบมือ ตั้งปลายนิ้วขึ้นสูงระดับหน้าผาก สับสันมือเบาๆ ไปข้างหน้า

ผ่องใส, ผ่องแผ้ว, เจริญ- จีบคว่ำ สูงระดับหน้าผาก โบกจีบออกไปข้างๆ พร้อมกับคลายจีบเป็นมือแบหงาย
รัก, เมตตา- แบมือทั้งสอง ประสานแขนไขว้กลางอก ปลายนิ้วแตะฐานไหล่
กล้าหาญ, ต่อสู้, ท้าทาย- มือซ้ายแบ ตั้งวงบน มือขวาแบคว่ำที่หน้าขาขวา ก้าวขวาแล้วเผ่นตัวขึ้น
อดทน, หนักแน่น, เข้มแข็ง- กำมือขวา ฟาดลงบนมือซ้าย ระดับเอว
เสียสละ, พลีชีพ, พ่ายแพ้, ตาย- มือทั้งสองแบหงาย ข้างหน้า ระดับเอว แล้วผายออกข้าง
เทิดทูน- มือทั้งสองแบหงาย ยกสูงระดับหน้าผาก มือห่างกัน ๑ คืบ ระดับต่างกันเล็กน้อย
ปฏิเสธ- มือแบตั้งปลายนิ้วขึ้น หันฝ่ามือไปข้างหน้า โบกปลายนิ้วเล็กน้อย
ชั่วร้าย, ไม่ดี- ฟาดนิ้วชี้ ลงข้างหน้า ระดับเอว ห่างตัว
อื่นๆ, ทั่วไป- ชี้นิ้วกวาดจากข้างหน้าไปข้างๆ

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565

รำแม่บท

 

ภาพประกอบ

อาจารย์จักรพัน  โปษยกฤต

รำแม่บทเล็ก

.
แม่บทเล็ก เป็นท่ารำมาตรฐาน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แม่ท่า” เช่นเดียวกับแม่บทใหญ่ แต่มีลีลากระบวนการรำที่สั้นกว่า แม่บทใหญ่ยาวถึง ๑๘ คำกลอน ส่วนแม่บทเล็กมีเพียง ๖ คำกลอน เป็นที่นิยมฝึกหัดกันเป็นอย่างมาก เพราะสารมารถนำไปใช้แสดงออกโรงไดพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป


ประวัติเพลงแม่บทเล็ก

แม่บทเล็กนี้ เป็นชุดรำชุดหนึ่งที่อยู่ในต้นเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทุกข์ 
ใช้ทำนองเพลงชมตลาด ซึ่งมีลีลาการเอื้อนที่ช้าและนุ่มนวล เหมาะกับกระบวนการรำที่มี
ความอ่อนช้อยงดงามตามลักษณะการรำของนาฏศิลป์ไทย ที่มีการวางไว้เป็นแบบมาตรฐาน


อ้างถึงบทความที่เกี่ยวข้อง

รำแม่บท ในการวิจัยครั้งนี้จะศึกษารำแม่บทเล็ก หรืออีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า 
แม่บทนางนารายณ์ มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ปรากฏอยู่ในระบำเบิกโรง 
ชุดนารายณ์ปราบนนทุก 

     และมีการสืบทอดต่อกันมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏในกลอนบทละคร
    ความพิสดารเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ จนถึงสมัยของพระบาทสมเด็จ
    พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเบิกโรงละครหลวง
    ไว้เป็นตำนานว่า



    เรื่องนารายณ์กำราบปราบนนทุก

     

    เป็นเรื่องดึกดำบรรพ์สืบกันมา
    เบิกโรงงานการเล่นเต้นรำ
    สำหรับโรงนางฟ้อนละครใน
    มีทีท่าต่าง ๆ อย่างนารายณ์
    มีชื่อเรียกท่าไว้ให้ศิษย์จำ
    บัดนี้เราได้รำทำบท
    เบิกโรงละครก่อนเล่นงาน




    ในต้นไตรดายุคโบราณว่า
    ครั้งกรุงศรีอยุธยาเอามาใช้
    ที่เริ่มมีพิธีทำเป็นการใหญ่
    แสดงให้เห็นครูผู้สอนรำ
    เยื้องกรายโดยนิยมคมขำ
    จะได้ทำให้ต้องแก่คลองการ
    ให้ปรากฏโดยแสดงแถลงสาร
    พวกเราท่านจงเป็นสุขทุกคน

    ลักษณะการแต่งกาย

              แต่งกายยืนเครื่อง พระ นาง ครบชุด

                   โอกาสที่ใช้แสดง

             สามารถใช้แสดงในงานต่าง ๆได้

     ิิิ                             วิธีที่ใช้แสดง

    – รำพระ นาง คู่ หรือ รำเป็นหมู่คณะ ตั้งแต่ ๒ คู่ขึ้นไป
    – รำเป็นนางล้วน เดี่ยว หรือ หมู่ก็ได้

                                ดนตรีที่ใช้ในการบรรเลง
    ใช้วงปี่พาทย์ เริ่มด้วยเพลงรัว ร้องเพลงชมตลาดจบด้วยเพลงรัวก็ได้ หรือ จะออกวรเชษฐ์
     เพลงเร็วลาก็ได้

    .

    .

    .

                         เนื้อร้องเพลง แม่บทเล็ก

    (ทำนองเพลงชมตลาด)

    เทพพนมปฐมพรหมสี่หน้า                    สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน

    ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน                            กินรีเลียบถ้ำอำไพ

    (ดนตรีรับ)

    อีกช้านางนอนภมรเคล้า                            แขกเต้าผาลาเพียงไหล่

    เมขลาโยนแก้วแววไว                            มยุเรศฟ้อนในนภาพร

    (ดนตรีรับ)

    ยอดตองต้องลมพรหมนิมิต                        อีกพิสมัยเรียงหมอน

    ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร                            พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์

    (ดนตรีรับ)

    https://www.youtube.com/watch?v=KVxiEh1Wf3c รำแม่บทเล็ก