ภาพประกอบ
อาจารย์จักรพัน โปษยกฤต
รำแม่บทเล็ก
.
แม่บทเล็ก เป็นท่ารำมาตรฐาน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แม่ท่า” เช่นเดียวกับแม่บทใหญ่ แต่มีลีลากระบวนการรำที่สั้นกว่า แม่บทใหญ่ยาวถึง ๑๘ คำกลอน ส่วนแม่บทเล็กมีเพียง ๖ คำกลอน เป็นที่นิยมฝึกหัดกันเป็นอย่างมาก เพราะสารมารถนำไปใช้แสดงออกโรงไดพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
ประวัติเพลงแม่บทเล็ก
อ้างถึงบทความที่เกี่ยวข้อง
รำแม่บท ในการวิจัยครั้งนี้จะศึกษารำแม่บทเล็ก หรืออีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า
แม่บทนางนารายณ์ มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ปรากฏอยู่ในระบำเบิกโรง
ชุดนารายณ์ปราบนนทุก
และมีการสืบทอดต่อกันมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏในกลอนบทละคร
ความพิสดารเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ จนถึงสมัยของพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเบิกโรงละครหลวงไว้เป็นตำนานว่า
เรื่องนารายณ์กำราบปราบนนทุก
เป็นเรื่องดึกดำบรรพ์สืบกันมา
เบิกโรงงานการเล่นเต้นรำ
สำหรับโรงนางฟ้อนละครใน
มีทีท่าต่าง ๆ อย่างนารายณ์
มีชื่อเรียกท่าไว้ให้ศิษย์จำ
บัดนี้เราได้รำทำบท
เบิกโรงละครก่อนเล่นงาน
ในต้นไตรดายุคโบราณว่า
ครั้งกรุงศรีอยุธยาเอามาใช้
ที่เริ่มมีพิธีทำเป็นการใหญ่
แสดงให้เห็นครูผู้สอนรำ
เยื้องกรายโดยนิยมคมขำ
จะได้ทำให้ต้องแก่คลองการ
ให้ปรากฏโดยแสดงแถลงสาร
พวกเราท่านจงเป็นสุขทุกคนลักษณะการแต่งกาย
แต่งกายยืนเครื่อง พระ นาง ครบชุด
โอกาสที่ใช้แสดง
สามารถใช้แสดงในงานต่าง ๆได้
ิิิ วิธีที่ใช้แสดง
– รำพระ นาง คู่ หรือ รำเป็นหมู่คณะ ตั้งแต่ ๒ คู่ขึ้นไป– รำเป็นนางล้วน เดี่ยว หรือ หมู่ก็ได้ดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงใช้วงปี่พาทย์ เริ่มด้วยเพลงรัว ร้องเพลงชมตลาดจบด้วยเพลงรัวก็ได้ หรือ จะออกวรเชษฐ์เพลงเร็วลาก็ได้.
.
.
เนื้อร้องเพลง แม่บทเล็ก
(ทำนองเพลงชมตลาด)
เทพพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน
ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน กินรีเลียบถ้ำอำไพ
(ดนตรีรับ)
อีกช้านางนอนภมรเคล้า แขกเต้าผาลาเพียงไหล่
เมขลาโยนแก้วแววไว มยุเรศฟ้อนในนภาพร
(ดนตรีรับ)
ยอดตองต้องลมพรหมนิมิต อีกพิสมัยเรียงหมอน
ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์
(ดนตรีรับ)
https://www.youtube.com/watch?v=KVxiEh1Wf3c รำแม่บทเล็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น