ประวัติความเป็นมารำวงมาตรฐาน
รำวงมาตรฐาน เป็นการแสดงที่มีวิวัฒนาการมาจาก “รำโทน” เป็นการรำและร้องของชาวบ้าน ซึ่งจะมีผู้ชายและผู้หญิง รำกันเป็นคู่ๆ รอบๆ ครกตำข้าวที่วางคว่ำไว้ หรือไม่ก็รำกันเป็นวงกลม โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ลักษณะการรำ และการร้องเป็นไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนกำหนดไว้ ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 – 2488 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้น ที่ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8ธันวาคม 2484เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพในประเทศ ไทย โดยใช้เส้นทางต่างๆ ในแผ่นดินไทยลำเรียงเสบียงอาหาร อาวุธและกำลังพล เพื่อใช้ในการต่อสู้กับประเทศสัมพันธมิตร ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี จอมพล ป (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพราะเกรงว่าหากปฏิเสธคงจะถูกปราบปรามแน่ ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบ จากการรุกรานของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีฐานทัพญี่ปุ่นทางอากาศโดยเฉพาะ ในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนัก ด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายทำลายชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น เมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไป คืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจน จึงพักการรุกราน ประชาชนชาวไทย ได้รับความเดือนร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัว เป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีการผ่อนคลายความตึงเครียด ความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้าน ที่ซบเซาไป กลับมาร้องรำทำเพลง นั้นก็คือ “การเล่นรำโทน” คำร้อง ทำนองและการแต่งกาย ก็ยังคงเรียบง่ายเน้นความสะดวกสบาย สนุกสนาน เช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่ เพลงใกล้เข้าไป อีกนิด ช่อมาลี ตามองตา ยวนยาเหล เป็นต้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2487 รัฐบาลได้เล็งเห็นศิลปะพื้นบ้านอันสวยงามของไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย ควรที่จะเชิดชูให้มีระเบียบแบบแผนตามแบบนาฏศิลป์ไทยเพราะหากชาวต่างชาติมาพบเห็น จะตำหนิได้ว่าศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มีความสวยงาม ประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะ ที่แสดงออกว่าเป็นชาติ ที่มีวัฒนธรรม จึงได้มอบให้ กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบใน การปรับปรุงและพัฒนาการรำ (รำโทน) ขึ้นใหม่ให้มีระเบียบ แบบแผน มีความงดงามมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเนื้อร้อง ทำนองเพลง และนำท่ารำจากแม่บทกำหนดเป็นท่ารำเฉพาะแต่ละเพลง อย่างเป็นแบบแผน รำวงมาตรฐาน ประกอบด้วยเพลงทั้งหมด 10 เพลง กรมศิลปากรแต่งเนื้อร้องจำนวน 4 เพลงคือ 1.เพลงงามแสงเดือน (เพลงที่ 1) 2.เพลงชาวไทย (เพลงที่ 2) 3.เพลงรำมาซิมารำ (เพลงที่ 3) 4.เพลงคืนเดือนหงาย (เพลงที่ 4) ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม แต่งเนื้อร้องเพิ่มอีก 6 เพลงคือ 1. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ (เพลงที่ 5) 2.เพลงดอกไม้ของชาติ (เพลงที่ 6) 3. เพลงหญิงไทยใจงาม (เพลงที่ 7) 4. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า (เพลงที่ 8) 5.เพลงยอดชายใจหาญ (เพลงที่ 9) 6.เพลงบูชานักรบ (เพลงที่ 10) ส่วนทำนองเพล ทั้ง 10 เพลง กรมศิลปกรและกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้แต่ง เมื่อปรับปรุงแบบแผนการเล่นรำโทนให้มีมาตรฐานและมีความเหมาะสม จึงมีการเปลี่ยนชื่อจากรำโทนเป็น “รำวงมาตรฐาน” อันมีลักษณะการแสดงที่ เป็นการรำร่วมกันระหว่างชาย-หญิง เป็นคู่ๆ เคลื่อนย้ายเวียนเป็นวงกลม (ทวนเข็มนาฬิกา) มีเนื้อร้องที่แต่งทำนองขึ้นใหม่ มีการใช้ทั้งวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบ และบางเพลงก็ใช้ วงดนตรีสากลบรรเลงประกอบ ซึ่งเนื้อร้องที่แต่งขึ้นใหม่ทั้ง 10 เพลง มีท่ารำที่กำหนดไว้ เป็นแบบแผน คือ เพลง ท่ารำชาย ท่ารำหญิง เพลงงามแสงเดือน ท่าสอดสร้อยมาลา ท่าสอดสร้อยมาลา เพลงชาวไทย ท่าชักแป้งผัดหน้า ท่าชักแป้งผัดหน้า เพลงรำมาซิมารำ ท่ารำส่าย ท่ารำส่าย เพลงคืนเดือนหงาย ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ท่าแขกเต้าเข้ารังและท่าผาลาเพียงไหล่ ท่าแขกเต้าเข้ารังและท่าผาลาเพียงไหล่ เพลงดอกไม้ของชาติ ท่ารำยั่ว ท่ารำยั่ว เพลงหญิงไทยใจงาม ท่าพรหมสี่หน้าและท่ายูงฟ้อนหาง ท่าพรหมสี่หน้าและท่ายูงฟ้อนหาง เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า ท่าช้างประสานงาชายท่าจันทร์ทรงกลด ท่าช้างประสานงาชายท่าจันทร์ทรงกลด เพลงยอดชายใจหาญ ท่าจ่อเพลิงกาล ท่าชะนีร่ายไม้ เพลงบูชานักรบ ท่าจันทร์ทรงกลด และท่าขอแก้ว ท่าขัดจางนางและท่าล่อแก้ว : ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำ เพลงรำวงมาตรฐานทั้ง 10 เพลงนั้นคือคณะอาจารย์ด้านนาฏศิลป์ของ กรมศิลปากรได้ช่วยกันคิดประดิษฐ์ท่ารำให้งดงามถูกต้องตามหลักนาฏศิลป์กำหนดให้เป็น แบบมาตรฐาน ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำของรำวงมาตรฐาน คือ 1. หม่อมต่วน (นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) 2. ครูมัลลี คงประภัศร์ 3. ครูลมุล ยมะคุปต์ 4. ครูผัน โมรา ต่อมาได้มีการนำรำวงนี้ไปสลับกับวงลีลาศ ทำให้ชาวต่างประเทศรู้จักรำวง เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้เล่นกันแพร่หลาย และมีแบบแผนอันเดียวกัน กรมศิลปากรจึงเรียกว่า“รำวงมาตรฐาน” การแสดงรำวงมาตรฐาน มีผู้แสดงครั้งแรก ดังนี้ นายอาคม สายาคม นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ นายจำนง พรพิสุทธิ์ นางศิริวัฒน์ ดิษยนันทน์ นายธีรยุทธ ยวงศรี นางสาวสุนันทา บุณยเกตุ |
https://www.youtube.com/watch?v=KVxiEh1Wf3c รำแม่บทเล็ก
https://www.youtube.com/watch?v=p3fIrEEeAiU รำวงมาตรฐาน
https://www.youtube.com/watch?v=6EM35bB9htw สื่อการสอน รำวงมาตรฐาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
gotoknow.org
thaidance11.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น