วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564

ทัศนศิลป์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ช่วงระหว่างวันที่ 4-8 มกราคม 2564






นักเรียนศึกษาเรื่องความหมายของทัศนธาตุ และศึกษาทัศนธาตุเรื่องสี และเส้น

แบบทดสอบก่อนเรียน

https://docs.google.com/forms/d/1azXU6rcTUy4rTnNsbXUDIB6ajr-qjA96ehk8GqvVfxE/edit


ทัศนธาตุ หมายถึง ธาตุแห่งการมองเห็นหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญในงานศิลปะหรือทัศนศิลป์ได้แก่ จุด เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น ซึ่งเราสามารถนำส่วนประกอบแต่ละอย่างมาสร้างเป็นงานศิลปะได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งก็จะให้ความรู้สึกในการมองเห็นที่แตกต่างกันไป ทัศนธาตุ สามารถสร้างอารมณ์ต่าง ๆ ให้กับคนดู จึงเป็นความรู้พื้นฐาน นับตั้งแต่ จุด เส้น รูปร่าง- รูปทรง แสง เงา น้ำหนักอ่อน – แก่ สี พื้นผิว มักมีปรากฏอยู่ในความงามอันละเอียดอ่อนของธรรมชาติ ทั้งสิ้น

ฉะนั้นการรู้จักสังเกตธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวและการรู้จักเลือกสรรส่วนประกอบจากธรรมชาติมาจัดองค์ประกอบทางศิลปะนั้น จึงเป็นวิธีที่ง่ายและดีที่สุดในการสร้างสรรค์งานศิลปะทัศนธาตุ ประกอบด้วย
1.จุด ( point ) หมายถึงสิ่งที่ปรากฏบนพื้นระนาบที่มีขนาดเล็กที่สุด ไม่มีความกว้าง ความยาว ความสูง ความหนา หรือความลึก จุดเป็นทัศนธาตุที่เล็กที่สุดและมีมิติเป็นศูนย์ จุดสามารถแสดงตำแหน่งได้เมื่อมีบริเวณว่างรองรับ จุดถือเป็นทัศนธาตุหรือพื้นฐานเบื้องต้นที่สุดในการสร้างงานทัศนศิลป์ จุดเป็นต้นกำเนิดของทัศนธาตุอื่นๆ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรงและพื้นผิว ค่าความอ่อนแก่ แสงเงา เราสามารถพบเห็นจุดได้โดยทั่วไปในธรรมชาติ เช่น ดวงดาวบนท้องฟ้า บนส่วนต่างๆของผิวพืชและสัตว์ บนก้อนหิน พื้นดินฯลฯ
นอกจากจุดจะเป็นพื้นฐานขององค์ประกอบอื่นๆแล้ว จุดยังเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้งานสร้างสรรค์ต่างๆมีความสมบูรณ์มากขึ้น การนำจุดมาจัดให้เกิดรูปแบบใหม่อาจทำได้หลายลักษณะ
2. เส้น ( Line ) หมายถึง ทัศนธาตุเบื้องต้นที่สำคัญที่สุด เป็นแกนของทัศนศิลป์ทุก ๆ แขนง เส้นเป็นพื้นฐานของโครงสร้างของทุกสิ่งในจักรวาล เส้นแสดงความรู้สึกได้ทั้งด้วยตัวของมันเองและด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น เส้นที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่เส้นตรงและเส้นโค้ง สามารถนำมาสร้างให้เกิดเป็นเส้นใหม่ที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างทั้งช่วยแสดงถึงอารมณ์และความรู้สึกของศิลปินด้วย เส้นแต่ละชนิดก็มีความหมายแตกต่างกัน ดังเช่น

– เส้นนอน ให้ความรู้สึกกว้างขวาง เงียบสงบ นิ่ง ราบเรียบ ผ่อนคลายสายตา
– เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกสูงสง่า มั่นคง แข็งแรง รุ่งเรือง

25570713-153518-56118207.jpg

– เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง เคลื่อนไหว รวดเร็ว แปรปรวน
– เส้นประ ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน
เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น เส้นโค้งคว่ำลง ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า ผิดหวัง เสียใจ แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น ก็จะให้ความรู้สึกอารมณ์ดี เป็นต้น
3. รูปร่าง ( Shape ) หมายถึง 3.1. การนำเส้นมาประกอบกันให้เกิดความกว้างและความยาว ไม่มีความหนาหรือความลึก
มีลักษณะ 2 มิติ
3.2. รูปแบบที่เป็น 2 มิติแสดงพื้นที่ผิวเป็นระนาบแบนไม่แสดงความเป็นปริมาตร ซึ่งมีลักษณะแบนราบ ไม่แสดงน้ำหนักแสงเงา รูปร่างในทางศิลปะอาจแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
3.2.1. รูปร่างธรรมชาติ หมายถึงรูปร่างที่ถ่ายทอดแบบมาจากธรรมชาติที่พบเห็นอยู่ทั่วไป เช่น คน สัตว์ พืช ฯลฯ
3.2.2. รูปร่างเรขาคณิต หมายถึงรูปร่างที่มนุษย์สร้างขึ้น มีโครงสร้างแน่นอน ได้แก่ รูปร่างวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม วงรี ฯลฯ
3.2.3. รูปร่างอิสระ หมายถึงรูปร่างที่มีลักษณะไม่แน่นอน ไม่สามารถคาดเดาได้ว่ารูปร่างจะเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนไหวไปในรูปแบบใดหรือทิศทางใด
4. รูปทรง ( Form ) หมายถึง
4.1. การนำเส้นมาประกอบกันให้เกิดความกว้าง ความยาว และความหนาหรือความลึก มีลักษณะ 3มิติ
4.2. สิ่งที่มีลักษณะแน่นทึบแบบ 3 มิติ เช่นงานประติมากรรม สถาปัตยกรรม หรือลักษณะ
ที่มองเห็นเป็น 3 มิติในงานจิตกรรม รูปทรงในทางศิลปะอาจแบ่งได้ 3 ประเภท
4.2.2. รูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปทรงที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่รูปทรงสามเหลี่ยม รูปทรงสี่เหลี่ยม รูปทรงกลม รูปทรงกรวย ฯลฯ
4.2.3. รูปทรงอิสระหมายถึง รูปทรงที่เกิดขึ้นเองอย่างอิสระไม่มีโครงสร้างแน่นอน เช่นรูปทรงของก้อนหิน กรวด ดิน ก้อนเมฆ เปลวไฟ หยดน้ำ ต้นไม้ ภูเขา ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรูปทรงที่แปลกให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวและเป็นอิสระ
5. พื้นผิว ( texture) หมายถึง ลักษณะภายนอกของวัตถุที่เรามองเห็นและสัมผัสได้ ภาพที่มีลักษณะพื้นผิวที่แตกต่างกันจะให้ความรู้สึกสนุกสนานตื่นเต้นและมีชีวิตชีวา พื้นผิวสามารถก่อให้เกิดความรู้สึกในลักษณะต่าง ๆ กันเช่น หยาบ ละเอียด มันวาว ด้าน และขรุขระ เป็นต้น
6. แสงและเงา ( Light and Shadow ) หมายถึง
6.1 แสง ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ แสงจากดวงอาทิตย์ แสงจันทร์ ฯลฯ
6.2 แสง ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ แสงไฟฟ้า แสงจากเทียนไข ฯลฯ
6.3 เงา ที่เกิดขึ้นภายในตัววัตถุ
6.4 เงาของวัตถุที่เกิดบนพื้น หรือพาดบนวัตถุอื่นที่รองรับแสงและเงา
7. สี ( Color ) หมายถึง สีเป็นปรากฏการณ์ของแสงที่ส่องกระทบวัตถุ สะท้อนเข้าสู่ตามนุษย์
สี
สีแต่ละสีที่มีอยู่ในวัตถุต่าง ๆ มีผลต่อความรู้สึก นึกคิด ของมนุษย์ เช่น
สีแดง กล้าหาญ อันตราย เร้าใจ สะดุดตา
สีเหลือง สว่างที่สุด บริสุทธิ์ แจ่มใส เลื่อมใส
สีน้ำเงิน สงบ สุขุม สันติภาพ ภูมิฐาน
สีเขียว ความหวัง สดชื่น ชุ่มชื่น ร่มเย็น
สีม่วง ร่ำรวย โอ่อ่า งอกงาม
สีส้ม ร้อนแรง สนุกสนาน รื่นเริง เปรี้ยว
สีขาว สะอาด บริสุทธิ์ กระจ่างแจ้ง มั่นคง เบา
สีดำ เศร้า ความตาย หนัก
น้ำหนักสี ( Tone ) หรือวรรณะของสี หมายถึง ระดับความเข้มที่แตกต่างกันของสีหรือค่าความอ่อนแก่ของสี ไล่ระดับกันไป เช่น ดำ – เทาเข้ม – เทากลาง – เทาอ่อน – ขาว โทนก็มีผลต่อความรู้สึกคล้ายกับสีนั่นเอง เพียงแต่จะละเอียดอ่อนมากขึ้น มีค่าความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีผลต่อความรู้สึก นึกคิด ของมนุษย์ เช่น
น้ำหนักของสี
1. วรรณะสีร้อน ( Warm Tone ) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดง และสีม่วง สีในวรรณะร้อนนี้จะเป็นสีที่ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้มถ้าสีใดสีหนึ่งค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่นสีน้ำตาล สีเทาอมแดง ก็ให้ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน ให้ความรู้สึกร้อนแรง
วงจรสีและสีวรรณะร้อน
2. วรรณะสีเย็น ( Cold Tone ) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็น
ดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เหล่านี้เป็นต้น ให้ความรู้สึกเย็นสบาย
วงจรสีและสีวรรณะเย็น
โดยสรุป ทัศนธาตุ ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง ส่วนประกอบของศิลปะที่มองเห็นได้ ประกอบด้วย จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว แสง-เงา และสี


    ในการเรียนรู้ในภาคเรียนนี้นักเรียนศึกษาเรื่องเส้นและสีในเชิงลึกเพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานประเภทภาพพิมพ์และภาพถ่าย

ครูได้สั่งงานล่วงหน้าไปแล้วคืองานภาพพิมพ์ที่แสดงความสวยงามของการจัดวางและออกแบบเรื่องเส้นและสีเป็นหลักโดยให้นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมจากการดูงานศิลปะกลุ่มงานศิลปะนามธรรม (Abstract Art)หรือกึ่งนามธรรม(Semi Abstract) จากสื่อต่างๆ


ศิลปะกึ่งนามธรรม (Semi Abstract ) 

         เป็นศิลปะที่เริ่มบิดเบือนไปจากศิลปะแบบเหมือนจริง ด้วยการตัดทอน  รูปทรงของจริงให้อยู่ในรูปแบบเรียบง่าย แต่ยังมีเค้าโครงที่เหมือนจริงหลงเหลืออยู่ให้รู้ว่าเป็นรูปอะไร การสร้างศิลปะกึ่งนามธรรมนี้จะต้องมีจินตนาการในการสร้างสรรค์งาน  เพื่อให้ผลงานมีรูปแบบที่แลดูแปลก น่าสนใจ รวมทั้งให้อารมณ์และความรู้สึกไม่จำเจทั้งเนื้อเรื่องและรูปแบบจะไม่ชัดเจนเหมือนศิลปะแบบเหมือนจริง  ดังนั้นผู้ชมงานศิลปะประเภทนี้จำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในลักษณะงานแบบกึ่งนามธรรมด้วยคุณค่าของงานจะเน้นโครงสร้างองค์ประกอบสีที่แปลกน่าสนใจ ตื่นเต้น และแนวความคิดหลายด้าน หลายทางที่ผู้ชมต้องจินตนาการด้วย







ศิลปะแบบนามธรรม (Abstract)

    เป็นศิลปะทีไม่มีรูปของความจริงเหลืออยู่ เพราะถูกตัดทอนให้เหลือแต่เส้น-แสงที่ก่อให้เกิดความงาม อารมณ์และความรู้สึก ศิลปินต้องใช้จินตนาการสูง คือ จินตนาการให้เป็นภาพหรือรูปทรงที่ประหลาด ที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง เป็นความคิดเพ้อฝัน รูปแบบของงานจะถูกตัดทอนจากภาพเหมือนจริงจนดูเรียบง่าย หรือบางครั้งดูสับสนจนยากที่จะเข้าใจ  ศิลปะนามธรรมไม่ใช่ศิลปะที่ไม่มีเนื้อหา แต่เนื้อหาสาระได้แสดงออกในรูปแบบนามธรรม คือ รูปร่าง รูปทรง เส้น แสง สี จึงยากที่จะเข้าใจ ศิลปินต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถสร้างผลงานออกมาได้ โดยเฉพาะ เส้น แสง สี ที่สร้างความรู้สึกได้หลายรูปแบบ เช่น ความหนาว ความร้อน ความสดชื่น ความน่ากลัว ฯลฯ  ศิลปะไม่จำเป็นจะต้องแสดงออกเป็นภาพเหมือนจริงเสมอไปก็ได้






ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาพพิมพ์

ภาพพิมพ์ที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า Graphic arts มาจากคำสองคำรวมกันคือคำว่า "Graph" แปลว่า เขียน เเละ "Arts"แปลว่า การทำให้เกิดความงามหรือรูปทรง เมื่อรวมคำทั้งสองเข้าด้วยกันจึงมีความหมายว่า ศิลปะเเห่งการเขียน โดยจะต้องรวมถึงรูปแบบต่างๆ ของการเเสดงออกในทางศิลปะที่มองเห็นได้ ได้เเก่ จิตรกรรม งานวาดเส้น งานภาพพิมพ์ การถ่ายรูปและงานพิมพ์หนังสือ

      ลักษณะทางกายภาพของภาพพิมพ์ในสมัยปัจจุบัน หมายถึง งานศิลป์ที่มีพื้นผิวเเบนราบ(Flat surface) แบบ ๒ มิติ คือ มีความกว้างเเละความยาว ปราศจากความหนาหรือความลึก วิธีการพิมพ์มีทั้งการใช้สีเเบบสีเดียว (Monochrome) และเเบบหลายสี (Polychrome) ซึ่งใช้วิธีการ /"กดให้ติด"/ โดยการสร้างรูปหรือเครื่องหมายลงบนวัสดุผิวราบด้วยการกดหรือประทับจากเเม่พิมพ์

       คำว่า Graphic arts ในความเข้าใจทั่วไป เป็นการสร้างสรรค์ให้เป็นศิลปะเพียงอย่างเดียว กล่าวคือใช้คำว่า "ภาพพิมพ์" หรือ "ศิลปะภาพพิมพ์"ในความหมายเดียวกัน เเต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเเละประเทศทางตะวันตกไม่นิยมเรียกศิลปะเเบบนี้ว่า Graphic arts เพราะอาจจะสับสนกับศิลปะชนิดอื่นๆ จึงเรียกว่า "Prints" หรือ "Printings" มากกว่า ดังนั้น คำว่า Graphic arts นอกจากจะหมายถึงภาพพิมพ์หรือศิลปะภาพเเล้ว ยังมีความหมายรวมไปถึง Prints และ Printings อีกด้วย

      มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์บังเอิญเอามือที่เปื้อนดินโคลนไปจับหรือวางทาบตามผนังถ้ำ ทำให้เกิดรอยฝ่ามือขึ้น ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงนำมือไปจุ่มสีแล้วเอามาวางทาบบนผนังถ้ำเกิดเป็นรูปมือในลักษณะต่างๆ ซึ่งเราเรียกวิธีการแบบนี้ว่า การพิมพ์ภาพ” และเรียกภาพที่เกิดขึ้นว่า ภาพพิมพ์” จากนั้นก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องด้วยการหาวัสดุต่างๆ เช่น ไม้ แผ่นโลหะ แผ่นหิน แผ่นยาง ผ้าไหม ฯลฯ มาใช้พิมพ์แทนที่มือ จนเกิดกระบวนการพิมพ์ขึ้นมา 4 กระบวนการหลักๆ คือ ภาพพิมพ์ผิวนูน ภาพพิมพ์ร่องลึก ภาพพิมพ์พื้นราบ และภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ซึ่งการพิมพ์ทั้ง 4 กระบวนการนี้ ได้รับ การพัฒนาคิดค้นขึ้นมา เพื่อใช้พิมพ์ภาพและตัวอักษรให้ได้เป็นจำนวนมากสำหรับใช้ในวงการธุรกิจ การค้า โดยพิมพ์เป็นหนังสือ แผ่นพับ ป้ายโฆษณา แผ่นปิดภาพยนต์ เสื้อผ้า หีบห่อ บรรจุภัณฑ์ กล่องขนม กล่องไม้ขีด ถุงใส่ของ เป็นต้นแต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระบวนการพิมพ์นั้นสามารถสร้างภาพได้สวยงามเหมือนกับ ผลงานจิตรกรรม อีกทั้งยังสามารถพิมพ์ภาพซ้ำๆ ที่เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก แต่จิตรกรรมไม่ สามารถทำภาพซ้ำกันได้ ถึงแม้ทำซ้ำก็ไม่เหมือนเดิม จึงทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการสะสมและจัดจำหน่าย ดังนั้นศิลปินจึงได้นำกระบวนการพิมพ์ทั้ง 4 กระบวนการนั้นมาใช้ในการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการสะสมและจัดจำหน่ายให้ได้มากขึ้น จนกระทั่งเมื่อประมาณ 50 มานี้เอง ภาพพิมพ์ได้รับการยอมรับในวงการศิลปะว่ามีคุณค่าเป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่สามารถถ่ายทอด จินตนาการ อารมณ์ ความรู้สึกได้อย่างดีเยี่ยมจากที่กล่าวมาขึ้นต้นจะเห็นได้ว่าภาพพิมพ์นั้น มีจุดมุ่งหมายในทำอยู่ 2 ลักษณะ คือ ภาพพิมพ์งานพาณิชย์ที่พิมพ์ เพื่อใช้เป็นสื่อโฆษณา


          มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์บังเอิญเอามือที่เปื้อนดินโคลนไปจับหรือวางทาบตามผนังถ้ำ ทำให้เกิดรอยฝ่ามือขึ้น ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงนำมือไปจุ่มสีแล้วเอามาวางทาบบนผนังถ้ำเกิดเป็นรูปมือในลักษณะต่างๆ ซึ่งเราเรียกวิธีการแบบนี้ว่า การพิมพ์ภาพ” และเรียกภาพที่เกิดขึ้นว่า ภาพพิมพ์” จากนั้นก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องด้วยการหาวัสดุต่างๆ เช่น ไม้ แผ่นโลหะ แผ่นหิน แผ่นยาง ผ้าไหม ฯลฯ มาใช้พิมพ์แทนที่มือ จนเกิดกระบวนการพิมพ์ขึ้นมา 4 กระบวนการหลักๆ คือ ภาพพิมพ์ผิวนูน ภาพพิมพ์ร่องลึก ภาพพิมพ์พื้นราบ และภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ซึ่งการพิมพ์ทั้ง 4 กระบวนการนี้ ได้รับ การพัฒนาคิดค้นขึ้นมา เพื่อใช้พิมพ์ภาพและตัวอักษรให้ได้เป็นจำนวนมากสำหรับใช้ในวงการธุรกิจ การค้า โดยพิมพ์เป็นหนังสือ แผ่นพับ ป้ายโฆษณา แผ่นปิดภาพยนต์ เสื้อผ้า หีบห่อ บรรจุภัณฑ์ กล่องขนม กล่องไม้ขีด ถุงใส่ของ เป็นต้นแต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระบวนการพิมพ์นั้นสามารถสร้างภาพได้สวยงามเหมือนกับ ผลงานจิตรกรรม อีกทั้งยังสามารถพิมพ์ภาพซ้ำๆ ที่เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก แต่จิตรกรรมไม่ สามารถทำภาพซ้ำกันได้ ถึงแม้ทำซ้ำก็ไม่เหมือนเดิม จึงทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการสะสมและจัดจำหน่าย ดังนั้นศิลปินจึงได้นำกระบวนการพิมพ์ทั้ง 4 กระบวนการนั้นมาใช้ในการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการสะสมและจัดจำหน่ายให้ได้มากขึ้น จนกระทั่งเมื่อประมาณ 50 มานี้เอง ภาพพิมพ์ได้รับการยอมรับในวงการศิลปะว่ามีคุณค่าเป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่สามารถถ่ายทอด จินตนาการ อารมณ์ ความรู้สึกได้อย่างดีเยี่ยมจากที่กล่าวมาขึ้นต้นจะเห็นได้ว่าภาพพิมพ์นั้น มีจุดมุ่งหมายในทำอยู่ 2 ลักษณะ คือ ภาพพิมพ์งานพาณิชย์ที่พิมพ์ เพื่อใช้เป็นสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์หรือสำหรับสร้างความสวยงามให้กับผลิตภัณฑ์ กับภาพพิมพ์งานศิลปะที่พิมพ์ เพื่อเป็นสื่อในการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกของศิลปิน สำหรับเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ ผู้เขียนมุ่งเน้นเฉพาะภาพพิมพ์งานศิลปะ ดังนั้นจึง ขอกล่าวเฉพาะเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับศิลปะภาพพิมพ์หรือภาพพิมพ์ต้นฉบับเท่านั้น ซึ่งในการศึกษาผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ประเภท รูปแบบ การเซ็นชื่อและการเขียนข้อความต่างๆ ลงในภาพพิมพ์ต้นฉบับ ภาพพิมพ์พิสูจน์ ตลอดจนการเก็บรักษาผลงานภาพพิมพ์

        ภาพพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาใช้คำว่า “Printmaking” สำหรับเรียกกระบวนการพิมพ์ที่ สร้างสรรค์เพื่อเป็นศิลปะและใช้คำว่า “Print” สำหรับเรียกกระบวนการพิมพ์ที่เป็นงานพิมพ์ทั่วไป โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานพาณิชย์ต่างๆ (พีระพงษ์ กุลพิศาล, 2531:68)
        ภาพพิมพ์ คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานจากแม่พิมพ์ชนิดแผ่นโลหะ แผ่นไม้ แท่นหิน ตะแกรงไหม แล้วผ่านกระบวนการพิมพ์ ซึ่งจะได้ผลงานที่เหมือนๆ กัน เป็นจำนวนมากในด้านวิจิตรศิลป์

2.1ประเภทของภาพพิมพ์

ภาพพิมพ์มีกลวิธีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของแม่พิมพ์ ดังนั้นการแบ่งประเภทของภาพพิมพ์จึงพิจารณาจากลักษณะแม่พิมพ์เป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้ กระบวนการหลัก คือ ภาพพิมพ์ผิวนูน ภาพพิมพ์ร่องลึก ภาพพิมพ์พื้นราบ และภาพพิมพ์ตะแกรงไหม

2.1.1. ภาพพิมพ์ผิวนูน (Relief Printing) คือ กระบวนการพิมพ์ที่พิมพ์จากผิวส่วนที่อยู่สูงบนแม่พิมพ์ ดังนั้นส่วนที่ถูกแกะเซาะออกไปหรือส่วนที่เป็นร่องลึกลงไปจะไม่ถูกพิมพ์ ซึ่งแม่พิมพ์ในลักษณะนี้ เช่น แม่พิมพ์แกะไม้ แม่พิมพ์แกะยาง แม่พิมพ์กระดาษแข็ง แม่พิมพ์วัสดุ เมื่อเวลาพิมพ์แม่พิมพ์เหล่านี้จะใช้เครื่องมือประเภทลูกกลิ้ง ลูกประคบหนัง ทาหมึกลงบนส่วนนูนของแม่พิมพ์ แล้วนำไปพิมพ์ลงบนกระดาษอาจจะพิมพ์ ด้วยมือหรือแท่นพิมพ์ หมึกก็ติดกระดาษเกิดเป็นรูปขึ้นมา

The Kissผลงาน Edvard Munch

2.1.2 ภาพพิมพ์ร่องลึก (Intaglio Printing) คือ กระบวนการพิมพ์ที่พิมพ์จากส่วนที่อยู่ลึกเป็นร่องของแม่พิมพ์ ซึ่งแม่พิมพ์จะมีส่วนที่นูนและร่องเหมือนกับแม่พิมพ์ผิวนูน แต่เวลาพิมพ์ต้องอุดหมึกลงไป ในร่องลึกและเช็ดบริเวณที่ไม่ต้องการจะพิมพ์ออก แล้วนำกระดาษเปียกน้ำหมาดๆ วางลงบนแม่พิมพ์ จากนั้นพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์ที่มีแรงกดสูงเพื่อกดกระดาษให้ไปดูดซับหมึกขึ้นมา ซึ่งกลวิธีที่รวมอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ ได้แก่ ภาพพิมพ์ภาพถ่าย ภาพพิมพ์มัชฌิมรงค์ ภาพพิมพ์อย่างสีน้ำ ภาพพิมพ์จารเข็ม ภาพพิมพ์แกะลายเส้น ภาพพิมพ์กัดกรด ภาพพิมพ์แบบเขียนถ่าน ภาพพิมพ์ กัดกรดพื้นนิ่ม ภาพพิมพ์กัดกรดรูปนูน

          ชีวิตหมายเลข ผลงานกมล ศรีวิชัยนันท์   

    2.1.3. ภาพพิมพ์พื้นราบ (Planographic Printing หรือ Lithograph) คือ กระบวนการพิมพ์ที่พิมพ์จากพื้นแบนราบ ส่วนที่ถูกพิมพ์และส่วนที่ไม่ต้องการพิมพ์นั้นจะอยู่ในระนาบแม่พิมพ์ บริเวณทั้งสองจะต่างกันเพียงส่วนที่ต้องการพิมพ์จะเป็นไขหรือน้ำมัน แต่อีกส่วนที่ไม่ต้องการพิมพ์จะชุ่มด้วยน้ำ เมื่อเวลาพิมพ์จะใช้ลูกกลิ้งที่มีหมึกเชื้อน้ำมันติดอยู่ กลิ้งลงบนแม่พิมพ์ที่มีน้ำหมาดๆ เมื่อกลิ้งหมึกซึ่งเป็นไขผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกเชื้อน้ำมันจะติดลงบนส่วนที่เป็นไขของแม่พิมพ์เท่านั้น จากนั้นนำเอากระดาษมาปิดทับบนแม่พิมพ์ เพื่อรีดกดให้หมึกติดกระดาษเกิดเป็นรูปภาพตามที่ต้องการ กลวิธีที่รวมอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ ได้แก่ ภาพพิมพ์ครั้งเดียว และภาพพิมพ์หิน         

Brustbild Einer Arbeitfrau ผลงาน Kathe Kollwitz

2.1.4. ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (Silk Screen) คือ กระบวนการพิมพ์ที่พิมพ์ โดยใช้ไม้ปาดสีรีดเนื้อสีผ่านตะแกรงเนื้อละเอียดลงมาสู่วัสดุที่ต้องการ พิมพ์ ซึ่งบริเวณที่ไม่ถูกพิมพ์จะเป็นบริเวณตะแกรง ที่ถูกกันเอาไว้ไม่ให้สีลอดผ่านลงมาสู่วัสดุที่ต้องการพิมพ์





งานภาพพิมพ์ที่นักเรียนต้องรับผิดชอบ   2 ชิ้นงาน

1.นักเรียนจงออกแบบงานภาพพิมพ์จากความรู้เรื่องทัศนธาตุสีและเส้น
โดยสร้างสรรค์งานในประเภท  semi abstract arts หรือ abstract arts
ขนาดกระดาษ a4 พร้อมผนึกภาพด้วยกระดาษชาร์ทสีขนาดใหญ่กว่ากระดาษ A4กว้างxยาว 1 นิ้ว

2.นักเรียนจงถ่ายภาพความงามในฤดูหนาว ให้ถูกหลักการองค์ประกอบศิลป์ โดยนักเรียนศึกษาค้นคว้าเรื่องหลักการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายด้วยตนเองส่งครูทาง email    khrumoddang@gmail.com






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น