วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2564

งานจิตรกรรม







 การระบายสีน้ำ

   ปัจจุบันเรานิยมเขียนภาพสีน้ำกันอย่างแพร่หลาย ความนิยมในการเขียนภาพสีน้ำเพราะความงดงามของสีน้ำที่แสดงให้เห็นถึง มิติของสี ความซับซ้อนของพื้นภาพ และประกายแสง ลักษณะพิเศษเหล่านี้ เกิดจากการระบายที่ประณีตซับซ้อน นอกจากนั้นแล้ว สีน้ำยังมีเสน่ห์ ในการนำออกไประบายยังสถานที่ี่ ต่างๆ เราเพียงแต่มีกล่องใส่สีน้ำหรืออาจจะใช้สีน้ำช่วยระบายเป็นภาพร่างสำหรับการเขียนภาพสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค อัลเบรชท์ ดูเรอร์ เป็นศิลปินคนแรกที่ใช้สีน้ำเป็นสื่อในการแสดงออกเพื่อเขียนภาพสัตว์์ และ ภาพภูมิทัศน์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19  เทอร์เนอร์ เป็นศิลปิน คนแรกในการระบายสีน้ำตามแนวทางศิลปะสมัยใหม่

   ปีคริสต์ศักราช 1832 นักเคมีและจิตรกร วิลเลียม วินเซอร์  และ เฮนรี นิวตัน ได้เริ่มต้นธุรกิจ สิ่งที่ทั้ง สองประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ คือ สีน้ำ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ สีน้ำบรรจุกล่อง แล้วจึงตามมาด้วย สีน้ำชนิดบรรจุหลอดโลหะในปี ค.ศ.1841

    คำแนะนำต่อไปนี้  ได้เตรียมข้อมูลที่หลากหลายสำหรับการระบายสีน้ำ  เป็นพื้นฐานการทำงานที่ดี สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา(มือใหม่) สำหรับมืออาชีพ ก็มีคู่มือวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์์งานศิลปะด้วยเช่นกัน

 สีน้ำ (WATER COLUOR)   


  เป็นสีชนิดหนึ่งมีลักษณะโปร่งใสไม่ทึบเหมือนกับสีโปสเตอร์ หรือสีน้ำมัน จากความเป็นมาของสีน้ำมนุษย์เริ่มรู้จักใช้สีน้ำ

  มาวาดภาพตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จากตัวอย่างที่ปรากฏได้ชัดคือ ภาพตามผนังถ้ำ เดิมเป็นเนื้อสีจากธรรมชาติผสมกับน้ำและสารยึด เช่น

  ไขสัตว์ ยางไม้ ชาวจีนและญี่ปุ่นใช้สีน้ำวาดลงบนสิ่งทอต่างๆ และกระดาษที่ทำจากเปลือกไม้การใช้สี สีเป็นองค์ประกอบหลักของงาน

  ศิลปะ มีผลทางอารมณ์และจิตใจเป็นอย่างมากสีน้ำเป็นสีเนื้อละเอียดมาก สามารถละลายน้ำได้ดี มีความโปร่งใสไม่ทึบเหมือนสีโปสเตอร์

  หรือสีน้ำมัน สีน้ำจะมีราคาสูงพอสมควร

 

สีที่จำเป็นในการเขีนนสีน้ำมีชื่อต่างๆดังนี้

  1. YELLOW OCHRE
  2. BURNT UMBER
  3. LEMON YELLOW
  4. ALIZARINE CRIMSON
  5. MAUVE
  6. CADMIUM RED
  7. ULTRAMARINE BLUE
  8. VIRIDIAN
  9. PAYNE'S GREY
  10. PERMENT ROSE
  • การทดลองผสมสี เมื่อศึกษาแล้วก็ควรผสมสีดูว่า สีอะไรผสมสีอะไรได้สีใหม่เกิดขึ้น
  • ฝึกระบายสี จากสีเข้มสุดไปหาสีอ่อนสุด และถ้าผสมน้ำมากสีก็จะซึมเข้าหากันมากและสีจะจางลง แต่ถ้าผสมน้ำน้อยสีก็จะซึมเข้าหากันน้อยและสีจะเข้ม
  • ทดลองลงสีในรูปทรงง่ายๆ เช่น ทรงสี่เหลี่ยม ทรงสามเหลี่ยม ภาชนะต่างๆ จากนั้นก็ทดลองลงสีสิ่งที่ยากขึ้น
https://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=14760



http://www.paintingsworld.krusudruadee.com/untitled13.html 


https://www.youtube.com/watch?v=1kAVzrp8CL4


https://www.takieng.com/stories/4132    10 ศิลปินระดับโลก


https://renaissance.co.th/index.php/2020/11/04/mixtechniqueswatercolourandcolourpencil/

เทคนิคการสร้างผลงานสีน้ำ

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ประเภทของเพลงไทย

 




            เพลงไทย หมายถึง เพลงที่แต่งขึ้นตามหลักของดนตรีไทย มีลีลาในการขับร้องและบรรเลงแบบไทย โดยเฉพาะและแตกต่างจากเพลงของชาติอื่นๆ เพลงไทยแต่เดิมมักจะมีประโยคสั้นๆและมีจังหวะค่อนข้างเร็ว  ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากเพลงพื้นบ้าน หรือเพลงสำหรับประกอบการรำเต้นเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง ต่อมาเมื่อต้องการจะใช้ เป็นเพลงสำหรับร้องขับกล่อม และ ประกอบการแสดงละครก็จำเป็นต้องประดิษฐ์ทำนองให้มีจังหวะช้ากว่าเดิม และมีประโยคยาวกว่าเดิม ให้เหมาะสมที่จะร้อง

ประเภทของเพลงไทย  อาจแบ่งออกได้เป็นพวกๆ คือ

๑. เพลงสำหรับบรรเลงดนตรีล้วนๆ ไม่มีการขับร้อง  เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประโคมพิธีต่างๆ เพลงโหมโรง และเพลงหน้าพาทย์ จะเป็นเพลงสำหรับใช้ประกอบกิริยาอาการและแสดงอารมณ์ต่างๆ ของการรำ

๒. เพลงสำหรับขับร้อง  คือ เพลงซึ่งร้องแล้วรับด้วยการบรรเลง เรียกว่า ร้องส่งดนตรีเช่น เพลงประกอบ การขับเสภา(ร้องส่งเสภา) เพลงที่ร้องส่งเพื่อฟังไพเราะทั่วไปส่วนมากจะเป็นเพลงเถาและเพลงตับ

๓. เพลงประกอบการรำ  คือ เพลงร้องตามบทร้อง ให้ผู้รำได้รำตามบทหรือเนื้อร้องส่วนมากจะเป็นเพลงสองชั้นเพื่อให้เหมาะกับการรำไม่ช้าไปไม่เร็วไป นอกจากนั้นก็ยังใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดง กิริยาอาการ ของผู้แสดงอีกด้วย

ลักษณะเพลงไทยประเภทต่างๆ

เพลงสำหรับขับร้อง

เพลงชั้นเดียว 
         เพลงชั้นเดียว หมายถึง เพลงที่มีจังหวะเร็ว หรือเรียกว่าเพลงเร็ว จะสังเกตได้จากเสียงฉิ่ง  ปกติแล้วการตีฉิ่งจะเริ่มด้วยเสียง ฉิ่ง และจบด้วยเสียง ฉับ ตีสลับกันไปจนกว่าจะจบการบรรเลง ถ้าช่วงระหว่างเสียงฉิ่ง และฉับเร็วกระชับติดกัน ก็แสดงว่าเป็นเพลงชั้นเดียว หรือสังเกตได้จากทำนองร้อง เพลงชั้นเดียวจะร้องเอื้อนน้อย หรือไม่มีการร้องเอื้อนเลยก็ได้  
         เพลงชั้นเดียว ใช้ขับร้องและบรรเลงประกอบการแสดงมหรสพต่างๆ 

เพลงสองชั้น
         เพลงสองชั้น หมายถึง เพลงที่มีจังหวะปานกลาง ไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป ส่วนใหญ่เป็นเพลงสั้นๆ ที่ร้องและจำทำนองง่าย มีความยาวกว่าเพลงชั้นเดียวหนึ่งเท่าตัว หรือสังเกตจากเสียงฉิ่ง ช่วงระหว่างเสียงฉิ่งและฉับห่างกันปานกลาง มีทำนองร้อง การร้องเอื้อนไม่มากไม่น้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะของเพลง
         เพลงสองชั้น ใช้ขับร้องและบรรเลงเพื่อเป็นการขับกล่อม และประกอบการแสดง
มหรสพต่างๆ 


เพลงสามชั้น 
         เพลงสามชั้น หมายถึง เพลงที่มีจังหวะช้า ต้องใช้เวลาบรรเลงและขับร้องนานกว่าเพลงในอัตราอื่นๆ  ถ้าจะสังเกตเสียงฉิ่ง ช่วงระหว่างเสียงฉิ่งและฉาบห่างกันมาก ทำนองร้องจะมีการร้องเอื้อนยาวๆ เพลงสามชั้นใช้ขับร้องและบรรเลงในโอกาสทั่วไป

เพลงเถา
         เพลงเถา หมายถึง เพลงขนาดยาวที่มีเพลง ๓ ชนิดติดต่ออยู่ในเพลงเดียวกัน
โดยการบรรเลงเพลงสามชั้นก่อน แล้วเป็นเพลงสองชั้น ลงมาจนถึงเพลงชั้นเดียว เรียกว่า เพลงเถา  ตัวอย่าง เพลงเขมรพวงเถา เดิมเป็นเพลงสองชั้น ต่อมา หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้คิดแต่งขึ้นเป็นสามชั้นดำเนินทำนองเป็นคู่กัน กับเพลงเขมรเลียบพระนคร เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้วหมื่นประคมเพลงประสาน (ใจ นิตยผลิน) ได้ตัดลงเป็นชั้นเดียว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ และมีทำนองชั้นเดียวโดย นายเหมือน ดุริยะประกิต เป็นผู้แต่งเพลงเถา
นิยมใช้บรรเลงและขับร้องในรูปของเพลงรับร้อง คือเมื่อร้องจบท่อน ดนตรีก็บรรเลงรับ  ไม่นิยมนำเพลงเถามาร้องให้ดนตรีบรรเลงคลอ หรือบรรเลงลำลองแต่อย่างใด  

เพลงเกร็ด
         เพลงเกร็ด เป็นเพลงขนาดย่อม นำมาขับร้องและบรรเลงเป็นเพลงๆไปอาจเป็นอัตราจังหวะใด จังหวะหนึ่งในชุดของเพลงเถา หรือเป็นเพลงใดเพลงหนึ่งจากชุดเพลงตับหรือเพลงเรื่องก็ได้   เพลงเกร็ด ที่ขับร้องและบรรเลงกันอยู่โดยทั่วๆ ไป มักจะมีบทร้องที่มีความหมาย มีคติมีความซาบซึ้ง ประทับใจและมีช่วงทำนองที่มีความ ไพเราะเป็นพิเศษ  ตัวอย่างเพลงเกร็ด เช่น เพลงแป๊ะ (สามชั้น) เพลงแขกสาหร่าย (สองชั้น)และเพลงเต่าเห่ (สองชั้น) 

เพลงละคร
         เพลงละคร หมายถึง เพลงที่ใช้ขับร้องและบรรเลงในการแสดงโขน ละคร และ
มหรสพต่างๆ มีทั้งร้องแล้วดนตรีรับ ทั้งร้องคลอดนตรี เคล้า และลำลอง ขึ้นอยู่กับลักษณะ
การแสดงนั้นๆ 
         ตัวอย่างเพลงละคร ได้แก่ เพลงอัตราสองชั้น เช่น เพลงสร้อยเพลง เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือเพลงในอัตราเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงหนีเสือ เพลงลิงโลด  และเพลงพิเศษที่ใช้เฉพาะละครแท้ๆ เช่น เพลงช้าปี่ เพลงโอ้ชาตรี เพลงโอ้โลม เพลงโอ้ร่าย เพลงยานี เพลงชมตลาด เป็นต้น
         เพลงที่ใช้ร้องประกอบละครหรือมหรสพอื่นๆ จะต้องใช้ให้ถูกต้องตามอารมณ์ของตัวละคร เช่น เพลงพญาโศก เพลงสร้อยเพลง ใช้สำหรับอารมณ์โศก  เพลงนาคราช เพลงลิงโลด ใช้สำหรับอารมณ์โกรธ เพลงโอ้โลม เพลงโอ้ชาตรี ใช้สำหรับอารมณ์รักหรือเวลาเกี้ยวพาราสี เป็นต้น 

เพลงลา
         เพลงลา หมายถึง เพลงที่ผู้ขับร้องและบรรเลงแสดงเป็นอันดับสุดท้ายก่อนที่
การแสดงจะจบลง ซึ่งเป็นไปตามแบบแผนของการแสดงกิจกรรมการบรรเลงดนตรีไทย ที่โบราณจารย์ได้กำหนดไว้ กล่าวคือ เพลงแรกที่บรรเลงคือเพลงโหมโรง และเพลงสุดท้าย
ต้องบรรเลงเพลงลา เพื่อเป็นการร่ำลาให้ศีลให้พรแก่เจ้าของงานหรือผู้ชมผู้ฟัง เนื้อร้องมีความหมายในทางร่ำลา อาลัย อาวรณ์ และให้ศีลให้พรแล้ว มักจะมีสร้อย คือ มีการร้องว่า "ดอกเอ๋ย เจ้าดอก..." และจะมีเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งบรรเลงเลียนเสียงร้อง
ให้คล้ายคลึงกันมากที่สุด ซึ่งเรียกกันเป็นทางภาษาสามัญว่า "ว่าดอก" เครื่องดนตรีที่ใช้
ก็อาจใช้ ซออู้  
         เพลงลาที่นิยมใช้บรรเลงกัน เช่น เพลงเต่ากินผักบุ้ง เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง เพลงอกทะเลเป็นต้น

 

เพลงบรรเลง

เพลงเรื่อง
         เพลงเรื่อง คือ เพลงที่โบราณาจารย์ประดิษฐ์ขึ้น โดยนำเอาเพลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันหลายๆ เพลงมาบรรเลงติดต่อกันเป็นชุด เป็นเรื่อง เพื่อความสะดวกในการใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ กัน เช่น เพลงเรื่อง นางหงส์ สำหรับใช้บรรเลงประกอบพิธีศพ เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันสำหรับใช้บรรเลงประกอบพระฉันภัตตาหาร และเพลงเรื่องสร้อยสน สำหรับใช้บรรเลงในโอกาสทั่วๆ ไป  นอกจากนั้น ยังเป็นการรวบรวมเพลงที่มีลักษณะคล้ายๆ กันมาไว้ด้วยกัน เพื่อความสะดวกในการจดจำ ที่น่าสังเกตคือ มักจะนิยมบรรเลง
เพลงเรื่อง โดยการบรรเลงเฉพาะดนตรี ไม่มีร้อง
             การบรรเลงเพลงเรื่อง โดยทั่วไปประกอบด้วยเพลงช้า เพลงสองไม้ เพลงเร็ว และจบลงด้วยเพลงลา เช่น เพลงเรื่องสร้อยสน ประกอบด้วยเพลงสร้อยสน เพลงพวงร้อย แล้วออกท้ายด้วยเพลงสองไม้ และเพลงเร็ว จบด้วยเพลงลา

เพลงโหมโรง
         เพลงโหมโรง หมายถึง เพลงที่บรรเลงในอันดับแรกสำหรับงานต่างๆ เพื่อเป็นการประกาศให้รู้ว่า ขณะนี้งานดังกล่าวกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว และเป็นการบรรเลงเพื่อเคารพสักการะครูอาจารย์ และอัญเชิญเทพยดามายังสถานมงคลพิธีนั้นด้วย  
        

        เพลงโหมโรงแบ่งออกได้หลายลักษณะ ดังนี้

      ๑.  โหมโรงเช้า  ใช้บรรเลงในงานมงคลพิธีต่างๆ ซึ่งจะมีขึ้นในตอนเช้า เช่น งานที่รู้จักกันเป็นสามัญว่า งานสวดมนต์เย็นฉันเช้า  เพลงที่บรรเลง ได้แก่ สาธุการ  เหาะ  รัว  กลม ชำนาญ 
      ๒.  โหมโรงกลางวัน  เป็นโหมโรงที่เกิดขึ้นจากประเพณีการแสดงมหรสพในสมัยโบราณ ถ้าเป็นการแสดงกลางวัน ซึ่งได้เริ่มแสดงตั้งแต่เช้ามาแล้ว เมื่อถึงเวลาเที่ยงจะต้องหยุดพักกลางวัน เพื่อให้ตัวละครและผู้บรรเลงดนตรี ตลอดจนผู้ร่วมงานการแสดงนั้น ได้หยุดพักและรับประทานอาหารกลางวัน  โหมโรงกลางวัน ประกอบด้วยเพลงกราวใน เชิด  ชุบ  ลา  กระบองตัน  เสมอข้ามสมุทร  เชิดฉาน  ปลูกต้นไม้  ชายเรือ  รุกรัน  แผละเหาะ  โล้  วา
      ๓.  โหมโรงเย็น  เป็นเพลงชุดที่ใช้บรรเลงในตอนเย็นของงาน ในการเริ่มงานมงคลต่างๆประกอบด้วยเพลง สาธุการ  ตระโหมโรง  รัวสามลา  ต้นชุบ  เข้าม่าน  ปฐม  ลา  เสมอ  รัว  เชิด  กลม  ชำนาญ  กราวใน  ต้นชุบ
      ๔.  โหมโรงเสภา  เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีการนำเอาปี่พาทย์มาบรรเลงประกอบการขับเสภา  การโหมโรงเสภาใช้ลักษณะเดียวกันกับโหมโรงก่อนการแสดงละคร คือ ปี่พาทย์จะบรรเลงหน้าพาทย์ชุดต่างๆ จนกระทั่งถึงเพลงวาแล้วจึงเริ่มการแสดง  ต่อมาเพื่อไม่ให้เสียเวลามาก ใช้บรรเลง เพลงวาเพลงเดียว จากนั้นก็เปลี่ยนมาใช้เพลงในอัตราสองชั้นและสามชั้นตามความนิยม แต่ก็ยังยึดถือกันว่า ต้องจบด้วยทำนองตอนท้ายของเพลงวา  นอกจากนั้น ยังกำหนดให้บรรเลง เพลงรัว 
ซึ่งเรียกกันเป็นสามัญว่า รัวประลองเสภา แล้วจึงบรรเลงเพลงโหมโรง 
         ในปัจจุบัน การบรรเลงของวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี ก็ได้นำเอาวิธีการโหมโรงเสภานี้มาใช้ แต่ได้ตัดเพลงรัวประลองเสภาออกเสีย เริ่มต้นด้วยเพลงโหมโรง และจบด้วยทำนองท้ายของเพลงวาเหมือนกัน และนิยมใช้บรรเลงกันอย่างแพร่หลายจนทุกวันนี้

    เพลงหน้าพาทย์
               เพลงหน้าพาทย์ คือ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยา พฤติกรรมต่างๆ และอารมณ์ของตัวละคร เช่น เพลงโอดสำหรับร้องไห้ เสียใจ เพลงกราวรำสำหรับเยาะเย้ยสนุกสนาน เพลงเชิดฉานสำหรับพระรามตามกวาง เพลงแผละสำหรับครุฑบิน เพลงคุกพาทย์สำหรับทศกัณฐ์แสดงอิทธิฤทธิ์ความโหดร้าย หรือสำหรับหนุมานแผลงอิทธิฤทธิ์ หาวเป็นดาวเป็นเดือน เป็นต้น  นอกจากนั้นยังหมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาสมมุติที่แลไม่เห็นตัวตน เช่น เพลงสาธุการ เพลงตระเชิญ เพลงตระนิมิต เพลงกระบองกัน สำหรับเชิญเทพยดาให้เสด็จมา แต่ไม่มีใครมองเห็นการเสด็จมาของเทพยดาในเวลานั้น เช่น บรรเลงประกอบพิธีไหว้ครู ครอบครูดนตรีและนาฎศิลป์ และยังเป็นเพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาที่เป็นอดีต ไม่ใช่ปัจจุบัน เช่น เมื่อพระเทศน์มหาชาติกัณฑ์มัทรีจบลง ปี่พาทย์บรรเลงเพลงทยอยโอด คือ บรรเลงเพลงโอดกับเพลงทยอยสลับกัน เพื่อประกอบกิริยาคร่ำครวญ โศกเศร้า เสียใจของพระนางมัทรี ตัวเอกของกัณฑ์นี้เมื่อทราบว่าพระเวสสันดรได้บริจาค 2 กุมาร กัณหาและชาลีให้แก่พราหมณ์ชูชกไป  พระได้เทศน์เรื่องนี้จนจบลงแล้ว แต่ปี่พาทย์เพิ่งจะบรรเลงเพลงประกอบเรื่อง อย่างนี้ถือว่าเป็นการบรรเลงประกอบกิริยาสมมุติที่เป็นอดีต เป็นต้น  
      *
  เพลงหน้าพาทย์นิยมบรรเลงดนตรีเพียงอย่างเดียว ไม่มีร้อง

เพลงหน้าพาทย์แบ่งตามฐานันดร  แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
          ๑. หน้าพาทย์ธรรมดา ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอารมณ์ของตัวละครที่เป็นสามัญชน เป็นเพลงหน้าพาทย์ไม่บังคับความยาว การจะหยุด ลงจบ หรือเปลี่ยนเพลง ผู้บรรเลงจะต้องดูท่ารำของตัวละครเป็นหลัก เพลงหน้าพาทย์ชนิดนี้โดยมากใช้กับการแสดงลิเกหรือละคร เช่น เพลงเสมอ เพลงเชิด เพลงรัว เพลงโอด
          ๒. หน้าพาทย์ชั้นสูง   ใช้บรรเลงประกอบกิริยา อารมณ์ของตัวละครผู้สูงศักดิ์หรือ
เทพเจ้าต่างๆ เป็นเพลงหน้าพาทย์ประเภทบังคับความยาว ผู้รำจะต้องยืดทำนองและจังหวะของเพลงเป็นหลักสำคัญ จะตัดให้สั้นหรือเติมให้ยาวตามใจชอบไม่ได้ โดยมากใช้กับการแสดงโขน ละคร และใช้ในพิธีไหว้ครู ครอบครูดนตรีปละนาฎศิลป์ เช่น เพลงตระนอน  เพลงกระบองกัน  เพลงตระบรรทมสินธุ์  เพลงบาทสกุณี  เพลงองค์พระพิราพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงอนงค์พระพิราพ ถือกันว่าเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงสุดในบรรดาเพลงหน้าพาทย์ทั้งหลาย
เพลงหน้าพาทย์แบ่งตามหน้าที่การนำไปใช้ประกอบการแสดงของตัวละคร  แบ่งได้ ๗ ลักษณะ คือ

๑. เพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาไปมา ได้แก่ 
        เพลงเสมอ       ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางระยะใกล้ ไปช้าๆ ไม่รีบร้อน
        เพลงเชิด        ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางระยะไกลไปมาอย่างรีบร้อน
        เพลงโคมเวียน  ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางในอากาศของเทวดาและนางฟ้า
        เพลงแผละ      ใช้ประกอบกิริยาการไปมาของสัตว์มีปีก เช่น นก ครุฑ
        เพลงชุบ         ใช้ประกอบกิริยาไปมาของตัวละครศักดิ์ต่ำ เช่น นางกำนัล
๒. เพลงหน้าพาทย์ประกอบการยกทัพ  ได้แก่
        เพลงกราวนอก  สำหรับการยกทัพของมนุษย์ ลิง
        เพลงกราวใน    สำหรับการยกทัพของยักษ์
๓. เพลงหน้าพาทย์ประกอบความสนุกสนานร่าเริง  ได้แก่
        เพลงกราวรำ    สำหรับกิริยาเยาะเย้ย
        เพลงสีนวล  เพลงช้า  เพลงเร็ว  สำหรับแสดงความรื่นเริง
        เพลงฉุยฉาย แม่ศรี สำหรับแสดงความภูมิใจในความงาม
๔. เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฎิหารย์ ได้แก่
        เพลงตระนิมิตร  สำหรับการแปลงกาย ชุบคนตายให้ฟื้น
        เพลงคุกพาทย์   สำหรับการแสดงอิทธิฤทธิ์ หรือเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัว
        เพลงรัว          ใช้ทั่วไปในการสำแดงเดช หรือแสดงปรากฎการณ์โดยฉับพลัน
๕. เพลงหน้าพาทย์ประกอบการต่อสู้และและติดตาม ได้แก่
        เพลงเชิดนอก    สำหรับการต่อสู้หรือการไล่ติดตามของตัวละครที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น หนุมานไล่จับนางสุพรรณมัจฉา  หนุมานไล่จับนางเบญกาย
        เพลงเชิดฉาน   สำหรับตัวละครที่เป็นมนุษย์ไล่ตามสัตว์ เช่น พระรามตามกวาง
        เพลงเชิดกลอง   สำหรับการต่อสู้  การรุกไล่ฆ่าฟันกันโดยทั่วไป
        เพลงเชิดฉิ่ง     ใช้ประกอบการรำก่อนที่จะใช้อาวุธสำคัญหรือก่อนกระทำกิจสำคัญ
๖. เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงอารมณ์ทั่วไป ได้แก่
        เพลงกล่อม      สำหรับการขับกล่อมเพื่อการนอนหลับ
        เพลงโลม        สำหรับการเข้าพระเข้านาง  การเล้าโลมด้วยความรัก 
        เพลงโอด        สำหรับการร้องไห้
        เพลงทยอย      สำหรับอารมณ์เสียใจ เศร้าใจขณะที่เคลื่อนที่ไปด้วย เช่น เดินพลางร้องไห้พลาง
๗. เพลงหน้าพาทย์เบ็ดเตล็ด ได้แก่
        เพลงตระนอน   แสดงการนอน
        เพลงลงสรง      สำหรับการอาบน้ำ
        เพลงเซ่นเหล้า   สำหรับการกิน การดื่มสุรา
        เพลงหน้าพาทย์ทั้ง ๗ ลักษณะ ล้วนเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่นำมาใช้ในการแสดงต่างๆ เช่น ลิเก ละครและโขนอยู่บ่อยๆ

เพลงหางเครื่อง
         เพลงหางเครื่อง คือ เพลงเล็กๆ สั้นๆ แปลกๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงแม่บท (เพลงเถาหรือเพลงสามชั้น) โดยทันทีทันใดหลังจากที่บรรเลงเพลงนั้นจบลงแล้ว บางครั้งเรียกว่า เพลงลูกบท เพราะใช้บรรเลงเพลงต่อจากเพลงแม่บท  เพลงหางเครื่องเป็นเพลงในอัตราจังหวะสองชั้นหรือชั้นเดียว ที่มีท่วงทำนองค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉงให้ความเพลิดเพลินสนุกสนาน ละเป็นเพลงที่มีเสียงและสำเนียงเดียวกันกับแม่บทที่บรรเลงนำมาก่อน เช่น บรรเลงเพลงแขกมอญบางขุนพรหม (เถา) จบแล้ว บรรเลง ต่อท้ายด้วยเพลงมอญมอบเรืออัตราจังหวะสองชั้น เพลงมอญมอบเรือ (สองชั้น) ก็เรียกว่าเพลงหางเครื่อง หรือบรรเลงเพลงเขมรไทรโยค (สามชั้น) จบแล้ว บรรเลงต่อท้ายด้วยเพลงมยุราภิรมย์ หรือระบำลพบุรี  
         การบรรเลงเพลงหางเครื่องจะจบด้วยการออกลูกหมดเสมอ และนิยมบรรเลงเฉพาะดนตรีอย่างเดียว ไม่มีร้อง

       

         เพลงไทย ที่ใช้ขับร้องและบรรเลงในปัจจุบันนี้ มีทั้งเพลงเก่าสมัยโบราณ 
เพลงที่ดัดแปลงจากของเก่า และเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ แยกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะและวิธีใช้ได้หลายประเภท ได้แก่

เพลงตับ 
         เพลงตับหมายถึง เพลงที่บรรเลงเป็นเรื่อง มีแขนงย่อยแบ่งออกเป็น ตับเรื่อง
และตับเพลง 

         ๑. ตับเรื่อง  หมายถึง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็นเรื่อง เดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ ฟังแล้วรู้เรื่องโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ  
ส่วนทำนองเพลงจะเป็นคนละอัตรา คนละประเภท หรือหมายถึง เพลงที่ร้องและบรรเลง
ประกอบการแสดงโขนและละครที่เป็นเรื่อง เป็นชุด หรือเป็นตอน ตัวอย่างของเพลงตับเรื่อง เช่น ตับนางลอย  ตับพระลอ(ตับเจริญศรี)และตับนางซินเดอริลลา

ตับนางลอย ได้แก่เพลง ยานี  เชิดฉิ่ง  แขกต่อยหม้อ  โล้  ช้าปี่  หรุ่ม  ร่าย  เต่าเห่  
ตะลุ่มโปง  พ้อ  ขวัญอ่อน  กล่อมพญา พราหมณ์เก็บหัวแหวน  แขกบรเทศ  เชิดนอก
        
ตับพระลอ(ตับเจริญศรี) ได้แก่เพลง เกริ่น  ลาวเล็กตัดสร้อย  ลาวเล่นน้ำ  สาวกระตุกกี่  
กระแตเล็ก  ดอกไม้เหนือ  ลาวเฉียง ลาวครวญ  ลาวกระแช
      
ตับนางซินเดอริลลา  ได้แก่เพลงวิลันดาโอด  ฝรั่งจรกา  ครอบจักรวาล  ฝรั่งรำเท้า 
เวสสุกรรม  หงส์ทอง

          ๒. ตับเพลง  หมายถึง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลง จะต้องมีสำนวนทำนองสอดคล้อง
ต้องกัน คือ มีเสียงขึ้นต้นเพลงคล้ายๆ กัน คือ สำเนียงคล้ายๆ กัน เป็นเพลงในอัตราจังหวะ
เดียวกัน เช่น เป็นสองชั้นเหมือนกัน หรือสามชั้นเหมือนกัน  ส่วนบทร้องจะมีเนื้อเรื่อง
อย่างไร เรื่องเดียวกันหรือไม่ ไม่ถือเป็นสิ่งสำคัญ  ตัวอย่างตับเพลง เช่น ตับลมพัดชายเขา (สามชั้น)  ตับต้นเพลงฉิ่ง (สามชั้น)  และตับต้นเพลงฉิ่ง (สองชั้น)

ตับลมพัดชายเขา (สามชั้น)  ได้แก่เพลง ลมพัดชายเขา  แขกมอญบางช้าง  ลมหวน 
เหราเล่นน้ำ

ตับต้นเพลงฉิ่ง (สามชั้น)  ได้แก่เพลง ต้นเพลงฉิ่ง  จระเข้หางยาว  ตวงพระธาตุ  นกขมิ้น

ตับต้นเพลงฉิ่ง (สองชั้น)  ได้แก่เพลง ต้นเพลงฉิ่ง  สามเส้า  ตวงพระธาตุ  นกขมิ้น 
ธรณีร้องไห้

เพลงภาษาและการออกภาษา
         เพลงภาษา หมายถึง เพลงไทยที่มีชื่อขึ้นต้นเป็นชื่อของชาติอื่น ภาษาอื่น เช่น เพลงจีนขิมเล็ก เพลงเขมรพายเรือ เพลงมอญรำดาบ เพลงมอญรำดาบ เพลงพม่ารำขวาน เพลงแขกยิงนก เพลงฝั่งรำเท้า เป็นต้น   เพลงภาษาเป็นเพลงที่นักดนตรีไทยได้แต่งขึ้นเอง โดยเลียนสำเนียงภาษาต่างๆ เหล่านั้น เป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้นคล้ายๆ กับเพลงหางเครื่อง ต่างกันที่ว่าเพลงหางเครื่องนิยมบรรเลงต่อท้าย เพลงแม่บทที่บรรเลงนำมาก่อนเพียง ๑ เพลงหรือ ๒ เพลงเท่านั้น และต้องเป็นเพลงที่มีเสียงหรือสำเนียง เดียวกันกับเพลงแม่บท ส่วนเพลงภาษาบางทีบรรเลงติดต่อกัน ไปหลายๆ ภาษา หรือที่เรียกว่า "ออภาษา" หรือ "ออกสิบสองภาษา"  วิธีออกภาษาตามระเบียบแบบแผนวิธีการบรรเลงเพลงภาษา ที่นิยมใช้ บรรเลงกันอยู่โดยทั่วไปนั้น มีหลักอยู่ว่า ต้องออก ๔ ภาษาแรก คือ จีน เขมร ตะลุง พม่า แล้วจึงออกภาษาอื่นๆ ต่อไป ซึ่งสมัยก่อนคงจะมีถึง ๑๒ ภาษา จึงมักนิยมเรียกกันติดปากว่า "ออกสิบสองภาษา"
              การบรรเลงเพลงภาษาและออกภาษานี้ เป็นที่นิยมกันมาก บางทีบรรเลงเพลงสามชั้นสำเนียงแขก ก็ออกภาษาแขกต่อท้าย บางทีก็นำเพลงภาษามาบรรเลง ๒-๓ เพลง ติดต่อกัน บางทีก็นำเพลงภาษาไปใช้ ในละครพันทาง บางครั้งก็ใช้สำหรับวงปี่พาทย์
์นางหงส์ ที่บรรเลงในงานศพเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเศร้าโศก
               เพลงออกภาษาที่ใช้บรรเลงกันมาแต่เดิม ใช้บรรเลงเฉพาะดนตรีล้วนๆ ไม่มีร้อง ในปัจจุบัน บางครั้ง ได้มีการนำเอาเนื้อร้องเข้าประกอบเพลงภาษาด้วย เพื่อเป็นการสร้าง
ความสนุกสนาน เพลิดเพลินแก่ผู้ชม และผู้ฟังได้อีกแบบหนึ่ง

เพลงลูกหมด
          เพลงลูกหมด เป็นเพลงเล็กๆ สั้นๆ มีจังหวะเร็ว เทียบเท่าเพลงชั้นเดียว  สำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงต่างๆ เพื่อแสดงว่าจบเพลงหรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า"ออกลูกหมด"การบรรเลงเพลงลูกหมดหรือการออกลูกหมดนนี้  นอกจากจะมีความหมายว่า เพลงได้จบลงแล้ว ยังเป็นการให้เสียงกับคนร้อง ช่วยให้คนร้อง ร้องได้ตรงกับระดับเสียงของวงดนตรีที่บรรเลง คนร้องที่มีความสามารถ เมื่อดนตรีบรรเลงเพลงลูกหมด
จบลงแล้ว ก็ร้องเพลงได้ทันทีโดยไม่ต้องรอนักดนตรีให้เสียง  เพลงลูกหมดมักจะใช้บรรเลงต่อจากเพลงสามชั้น เพลงเถา และเพลงหางเครื่อง แล้วแต่กรณีและไม่มีร้อง 

เพลงเดี่ยว 
         เพลงเดี่ยว   เป็นการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีสร้างทำนองเพียงเครื่องเดียว โดยมีเครื่องเคาะจังหวะบรรเลงประกอบด้วย   ปกติเพลงที่ใช้บรรเลงเดี่ยวจะเป็นเพลงขับร้อง และบรรเลงหมู่ทั่วไป แต่จะมีลูกเล่นกลเม็ดในการบรรเลงแพรวพราวมากยิ่งขึ้นไปกว่าตอนบรรเลงหมู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความสามารถทั้งการแปรทำนองที่วิจิตร พิสดารของผู้แปร, ความแม่นยำในการจดจำลูกเล่น และความช่ำชองในการใช้
้เครื่องดนตรีของผู้เล่น มักจะเลือกเอาเพลงที่มีเสียงครบ ๗ เสียง เพราะเพลงไทยบางเพลงมีเพียง ๕ เสียง จึงไม่เหมาะกับการบรรเลงเดี่ยว  เพลงเดี่ยวหรือการเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีมีหลายแบบ คือ
         การเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีชิ้นเดียวตลอดเพลง  เช่น ซออู้ ใช้เพลงแขกมอญ หรือเพลงกราวใน เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มเสียงใหญ่  ซอด้วง ใช้เพลงเชิดนอก เพลงพญาโศกฯ เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่เสียงแหลมเล็ก  นอกจากนั้น เพลงเดี่ยวที่นิยมกันทั่วไปได้แก่ แขกมอญ  สารถี  พญาโศก  ลาวแพน  นกขมิ้น  เชิดนอก  กราวในทยอย  อาหนู  อาเฮีย  แป๊ะ  การะเวก  ม้าย่อง  นารายณ์แปลงรูป  ดอกไม้ไทร  ต่อยรูป
         การเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นในวงดนตรี  มักจะเป็นวงปี่พาทย์ และเริ่มด้วยปี่ในระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดทุ้ม ตามลำดับ  ส่วนจะบรรเลงเพลงใดก่อน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของนักดนตรีที่ร่วมวงกันอยู่ รวมทั้งสถานการณ์ในขณะนั้นเป็นส่วนประกอบด้วย
         เครื่องดนตรีอื่นๆ ที่บรรเลงร่วมกับการเดี่ยว ได้แก่ กลองสองหน้าและฉิ่ง

         นอกจากนี้ ประเภทของเพลง   หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า "ทางเพลง" สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

               เพลงทางพื้น คือเพลงที่มีทำนองเต็ม มักเป็นเพลงที่มีการบรรเลงแบบเก็บ (เสียงโน้ตสั้นเป็นตัวๆ ไม่ลากยาว) เป็นหลัก

              เพลงทางกรอ    คือเพลงที่ดำเนินทำนองช้าๆ ห่างๆ เสียงดนตรีจะมีความต่อเนื่องยาวๆ   หากเป็นระนาด หรือฆ้อง ก็จะเล่นแบบกรอ หรือตีรัวถี่ๆ ยืดเสียงตัวโน้ตให้ยาวออกไป เพลงประเภทนี้ ได้แก่เพลงเขมรไทรโยค เพลงแสนคำนึง เป็นต้น

           เพลงลูกล้อ-ลูกขัด    คล้ายการหยอกล้อกันของเครื่องดนตรี โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มนำ-ได้แก่เครื่องดนตรีที่มีเสียงสูง เช่น ซอด้วง ระนาดเอก.. และกลุ่มตาม- ได้แก่เครื่องดนตรีเสียงต่ำ เช่น ซออู้ ่ระนาดทุ้ม...โดย บรรเลงในลีลาต่างๆ ดังนี้

                 ลูกล้อ - กลุ่มนำจะบรรเลงไปก่อน เมื่อจบห้องแล้วกลุ่มตามก็จะบรรเลงล้อเลียนในทำนองเช่นเดิม 

               ลูกต่อ - กลุ่มนำจะบรรเลงเพลงประโยคแรกก่อน จากนั้นกลุ่มตามก็จะบรรเลงประโยคที่เหลือต่อซึ่งไม่เหมือนกัน

           ลูกเหลื่อม (ล้วง) – ขณะที่กลุ่มนำบรรเลงไปได้เพียงส่วนหนึ่งของท่อน เพลง กลุ่มตามก็จะเริ่มบรรเลงท่อนเดียวกันนี้ตามมา จึงทำให้ประโยค เพลงท่อนดังกล่าวมีความเหลื่อมๆ กัน


แบบทดสอบหลังเรียน

https://docs.google.com/forms/d/1YWotiL5E8Pja5c9KFwdaQIWq4Yh1noO-nnpy0mEyTOY/edit