วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565

เพลงไทยประเภทต่างๆ ม.1

ประเภทของเพลงไทย

      เพลงไทย หมายถึง เพลงที่ประพันธ์ ตามหลักของดนตรีไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นศิลปะและวัฒนธรรมของชนชาติไทยซึ่งมีมาแต่สมัยโบราณ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาโดยมากเลียนสำเนียงภาษาอื่น มักจะมีชื่อเรียกนำหน้าเพลงตามสำเนียงภาษา เช่น เพลงลาวดวงเดือน เขมรไทรโยค มอญท่าอิฐ แขกสาหร่าย พม่าเห่ จีนขิมเล็ก ฯลฯ

เพลงไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือเพลงบรรเลง และเพลงขับร้อง

   เพลงบรรเลง

                 หมายถึง เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงล้วน ๆ ดังนี้

       1. เพลงโหมโรง

              เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงก่อนการแสดงโขน-ละคร และพิธีกรรม ต่าง ๆ โดยมีความเชื่อว่า

  • ใช้ประกาศ หรือประโคมให้รู้ว่ากำลังจะเริ่มแสดง หรือ เริ่มพิธี
  • เพื่ออัญเชิญเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาประชุมพร้อมกันในบริเวณงาน

เพลงโหมโรงจะใช้เพลงสาธุการบรรเลงนำทุกครั้ง มี 3 ประเภท คือ

  1. โหมโรงพิธีกรรม บรรเลงก่อนพิธีกรรมต่าง ๆ มี 3 ชุด คือ
    - เพลงโหมโรงเย็น
    - เพลงโหมโรงเช้า
    - เพลงโหมโรงเทศน์
  2. เพลงโหมโรงการแสดง บรรเลงก่อนการแสดงต่าง ๆ
  3. เพลงโหมโรงเสภา บรรเลงก่อนการขับเสภา

         2. เพลงหน้าพาทย์

               ใช้บรรเลงประกอบอิริยบท อารมณ์ และการเปลี่ยนแปลงของตัวละคร หรืออัญเชิญฤาษีเทวดาและครูอาจารย์ให้มาร่วมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่างๆ มี 2 ชนิด

       2.1 เพลงหน้าพาทย์ธรรมดา ประกอบอริยบทตัวละครธรรมดา เช่น ร้องให้ ใช้ เพลงโอด , ต่อสู้ ใช้เพลงเชิด
       2.2 เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ประกอบอิริยบทของเทพต่างๆ ได้แก่ พระอินทร์ พระพรหม เทวดา เช่น การเดินทางไปมา ใช้เพลงกลม

        3. เพลงเรื่อง

           คือเพลงชุดที่นำเอาเพลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมารวมกันบรรเลงติดต่อกันเป็นชุด ดังนี้

  • เพลงเรื่องประเภทเพลงช้า เช่นเรื่องเต่ากินผักบุ้ง เรื่องจีนแส
  • เพลงเรื่องประเภทเพลงเร็ว เช่น เรื่องแขกมัดตีนหมู เรื่องแขกบรเทศ
  • เพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง เช่น เรื่องมุล่ง เรื่องช้างประสานงา
  • เพลงเรื่องประเภทเพลงสองไม้ เช่น เรื่องสีนวล เรื่องทยอย
  • เพลงเรื่องประเภทเพลงที่เกี่ยวกับพิธีกรรม เช่น เรื่องทำขวัญ

       4. เพลงหางเครื่อง

              เป็นเพลงบรรเลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงเถา เป็นบทเพลงสั้นๆ ในอัตราจังหวะชั้นเดียว เพื่อให้สนุกสนาน ครึกครื้น

       5. เพลงออกภาษา

          เป็นเพลงที่นำเพลงสำเนียงภาษาต่าง ๆมารวมเป็นชุดเดียวกัน การบรรเลงจะต้องออก 4 ภาษาก่อนคือ จีน เขมร ตะลุง พม่า

      6. เพลงเดี่ยว

           เป็นเพลงพิเศษ ใช้สำหรับ บรรเลงเดี่ยว อวดฝีมือนักดนตรี

    เพลงขับร้อง

              หมายถึงเพลงที่นิยมนำมาร้องประกอบดนตรีตามแบบของไทย มีดังนี้

         1. เพลงเถา เป็นเพลงที่มี อัตราจังหวะ 3ชั้น 2ชั้น และชั้นเดียว ในเพลงเดียวกัน เช่น เพลงแขกบรเทศ เพลงแสนคำนึงหา

         2. เพลงตับ เป็นเพลงชุดที่นำเอาเพลงหลายเพลงมาบรรเลงติดต่อกัน มีอยู่ 2 แบบ คือ

              2.1    ตับเรื่อง ( เอาเนื้อร้องเป็นเกณฑ์ )

             2.2     ตับเพลง (เอาแบบแผนการบรรเลงเป็นเกณฑ์ )


    เพลงเกร็ด 

            เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงและขับร้องทั่วไป  เพื่อความสนุกสนาน  จะชมความงามของหญิงสาว  ชมธรรมชาติ  บรรยายความรู้สึก  ความรัก เช่น

 เพลง ลาวดวงเดือน