นาฏยศัพท์และภาษาท่า
นาฏยศัพท์หมายถึง
ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่าง ๆ
ประเภทของนาฏยศัพท์
แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. นามศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่เรืยกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ ม้วนมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กระเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่
๒. กิริยาศัพท์ หมายถึงศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา แบ่งออกเป็น
๒.๑ ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ตึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า เปิดส้น ชักส้น
๒.๒ ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัวและแก้ไขท่าทีของตนให้ดี เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ
๓. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด หมายถึง ศัพท์ต่างๆ ที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อน เหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ท่า ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่-พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง ศัพท์แทน
ลักษณะต่างๆ ของนาฏยศัพท์ แบ่งตามการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่
๑. ส่วนศีรษะ
เอียง คือ การเอียงศีรษะ ต้องกลมกลืนกับไหล่และลำตัวให้เป็นเส้นโค้ง ถ้าเอียงซ้ายให้หน้าเบือนทางขวาเล็กน้อย ถ้าเอียงขวาให้หน้าเบือนทางซ้ายเล็กน้อย
ลักคอ คือ การเอียงคนละข้างกับไหล่ที่กดลง ถ้าเอียงซ้ายให้กดไหล่ขวา ถ้าเอียงขวา ให้กดไหล่ซ้าย
เปิดคาง คือ ไม่ก้มหน้า เปิดปลายคางและทอดสายตาตรงสูงเท่าระดับตาตนเอง
กดคาง คือ ไม่เชิดหน้าหรือเงยหน้ามากเกินไป
๒. ส่วนแขน
วง คือ การเหยียดมือให้ตึงทั้งห้านิ้ว แต่นิ้วหัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อย การตั้งวงที่สวยงาม ต้องหักข้อมือเข้าหาลำแขนบนให้มาก ทอดลำแขนให้ส่วนโค้งพองาม และงอศอกเล็กน้อย วงแบ่งออกเป็น
วงบน คือ ยกแขนไปข้างลำตัว ทอดศอกโค้ง มือแบตั้งปลายนิ้วขึ้นวงพระปลายนิ้วอยู่ระดับศีรษะ
ส่วนวงนางปลายนิ้วจะอยู่ระดับหางคิ้วและวงแคบกว่า
วงกลาง คือ การยกส่วนโค้งของลำแขนให้ปลายนิ้วสูงระดับไหล่ ลำแขนส่วนบนลาดกว่าวงบน
วงล่าง คือ การตั้งวงระดับต่ำที่สุด โดยทอดส่วนโค้งของลำแขนลงข้างล่างอยู่ระดับเอว โดยตั้งมือตรงหัวเข็มขัด ตัวพระกันศอกให้ห่างตัว
วงหน้า คือ ส่วนโค้งของลำแขนที่ทอดโค้งอยู่ข้างหน้า วงพระผายกว้างกว่านาง ปลายนิ้วอยู่ระดับแก้ม วงนางปลายนิ้วอยู่ระดับปาก
วงบัวบาน คือ ยกแขนขึ้นข้างลำตัว ให้ศอกสูงระดับไหล่
หักศอกให้แขนท่อนล่างพับเข้าหาตัว ตั้งฉากกับแขนท่อนบน
มือแบหงายปลายนิ้วชี้ไปข้างๆ ตัววงนางจะแคบกว่าวงพระ
๓. ส่วนมือ
มือแบ คือ นิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย ติดกัน ตึงนิ้ว หัวแม่มือ กาง หลบไปทางฝ่ามือ หักข้อมือไปทางหลังมือ แต่มีบางท่าที่ หักข้อมือไปทางฝ่ามือ เช่น ท่าป้องหน้า
มือจีบ คือ การกรีดนิ้ว โดยเอานิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจรดกัน ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดข้อแรกของปลายนิ้วชี้ ให้ตึงนิ้ว นิ้วกลาง นาง ก้อย กรีดห่างกัน หักข้อมือไปทางฝ่ามือ
จีบแบ่งเป็น ๕ ลักษณะ ได้แก่
จีบหงาย คือ การหงายฝ่ามือให้ปลายนิ้วชี้ขึ้น ถ้าอยู่ระดับหน้าท้องเรียกว่า จีบหงายชายพก
จีบคว่ำ คือ การคว่ำฝ่ามือให้ปลายนิ้วชี้ลง หักข้อมือเข้าหาลำแขน
จีบส่งหลัง คือ การส่งแขนไปข้างหลัง ตึงแขน พลิกข้อมือให้ปลายนิ้วชี้ขึ้น แขนตึงและส่งแขนให้สูงไปด้านหลัง
จีบปรกหน้า คือ การจีบที่คล้ายกับจีบหงาย แต่หันจีบเข้าหาลำตัวด้านหน้า
ทั้งแขนและมือชูอยู่ด้านหน้า ตั้งลำแขนขึ้น ทำมุมที่ข้อพับตรงศอก
หันจีบเข้าหาหน้าผาก
จีบปรกข้าง คือ การจีบที่คล้ายกับจีบปรกหน้า แต่หันจีบเข้าหาแง่ศีรษะ ลำแขนอยู่ข้าง ๆ ระดับเดียวกับวงบน
จีบล่อแก้ว คือ ลักษณะกิริยาท่าทางคล้ายจีบ ใช้นิ้วกลางกดข้อที่ ๑
ของนิ้วหัวแม่มือ หักปลายนิ้วหัวแม่มือคล้ายวงแหวน นิ้วที่เหลือเหยียดตึง
หักข้อมือเข้าหาลำแขน
๔. ส่วนลำตัว
ทรงตัว | คือ การยืนให้นิ่ง เป็นการใช้ลำตัวตั้งแต่ศีรษะ ตลอดถึงปลายเท้าในท่าที่สวยงาม ไม่เอนไปทางใดทางหนึ่งขณะที่ยืน |
เผ่นตัว | คือ กิริยาอาการทรงตัวชนิดหนึ่ง มาจากท่าก้าวเท้า แล้วส่งตัวขึ้น โดยการยกเข่าตึงเท้าหนึ่ง ยืนรับน้ำหนักอีกเท้าหนึ่งอยู่ข้างๆ |
ดึงไหล่ | คือ การรำหลังตึง หรือดันหลังขึ้น ไม่ปล่อยให้ไหล่ค่อม |
กดไหล่ | คือ กิริยากดไหล่โน้มตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง ทำพร้อมกับการเอียงศีรษะ กดลงเฉพาะไหล่ ไม่ให้สะโพกเอียงไปด้วย |
ตีไหล่ | คือ การกดไหล่ แล้วบิดไหล่ข้างที่กดไปข้างหลัง |
กล่อมไหล่ |
คือ กดไหล่ แล้วบิดไหล่ข้างที่กดมาข้างหน้า
|
ยักตัว
ดึงเอว | คือ กิริยาของลำตัวส่วนเกลียวหน้า ยักขึ้นลง ไหล่จะขึ้นลงตามไปด้วย แต่สะโพกอยู่คงที่ และลักคอด้วย |
| คือ กิริยาของเอวด้านหลังตั้งขึ้นตรง ไม่หย่อนตัว
๕. ส่วนเข่าและขา
เหลี่ยม | คือ ลักษณะของเข่าที่แบะห่างกัน เมื่อก้าวเท้า พระต้องกันเข่าให้เหลี่ยมกว้าง ส่วนนางก้าวข้าง ต้องหลบเข่า ไม่ให้มีเหลี่ยม | จรดเท้า | คือ อาการของเท้าข้างใดข้างหนึ่งที่วางอยู่ข้างหน้า น้ำหนักตัวจะอยู่ที่เท้าหลัง เท้าหน้าจะใช้เพียงปลายจมูกเท้า แตะเบาๆไว้กับพื้น (จมูกเท้า คือ บริเวณเนื้อโคนนิ้วเท้า) | แตะเท้า | คือ การใช้ส่วนของจมูกเท้าแตะพื้น แล้ววิ่งหรือก้าว ขณะที่ก้าว ส่วนอื่นๆ ของเท้าถึงพื้นด้วย | ซอยเท้า | คือ กิริยาที่ใช้จมูกเท้าวางกับพื้น ยกส้นเท้าน้อยๆ ทั้ง ๒ ข้าง แล้วย่ำซ้ายขวาถี่ๆ จะอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ก็ได้ | ขยั่นเท้า | คือ เหมือนซอยเท้า ต่างกันที่ขยั่นเท้าต้องไขว้เท้า แล้วทำกิริยาเหมือนซอยเท้า ถ้าขยั่นเคลื่อนที่ไปทางขวาก็ให้เท้าซ้ายอยู่หน้า ถ้าขยั่นเคลื่อนที่ไปทางซ้ายก็ให้เท้าขวาอยู่หน้า | ฉายเท้า | คือ กิริยาที่ก้าวหน้า แล้วต้องการลากเท้าที่ก้าวมาพักไว้ข้างๆ ให้ใช้จมูกเท้าจรดพื้นไว้ เผยอส้นนิดหน่อย แล้วลากมาพักไว้ในลักษณะเหลื่อมเท้า โดยหันปลายเท้าที่ฉายมาให้อยู่ด้านข้าง | ประเท้า | คือ อาการที่สืบเนื่องจากการจรดเท้า โดยยกจมูกเท้าขึ้น ใช้สันเท้าวางกับพื้น ย่อเข่าลงพร้อมทั้งแตะจมูกเท้าลงกับพื้น แล้วยกเท้าขึ้น | ตบเท้า | คือ กิริยาของการใช้เท้าคล้ายกับประเท้า แต่ไม่ต้องยกเท้าขึ้น ห่มเข่าตามจังหวะที่ตบเท้าอยู่ตลอดเวลา | ยกเท้า | คือ การยกเท้าขึ้นไว้ข้างหน้า เชิดปลายเท้าให้ตึง หักข้อเท้าเข้าหาลำขา ตัวพระกันเข่าออกไปข้างๆ ส่วนสูงระดับเข่าข้างที่ยืน ตัวนางไม่ต้องกันเข่า ส่วนสูงอยู่ต่ำกว่าเข่าข้างที่ยืน ชักส้นเท้าและเชิดปลายนิ้ว | ก้าวเท้า | | | ก้าวหน้า คือ การวางฝ่าเท้าลงบนพื้นข้างหน้า โดยวางส้นเท้าลงก่อน ตัวพระจะก้าวเฉียงไปข้างๆตัวเล็กน้อยเฉียงปลายเท้าไปทางนิ้วก้อย กันเข่าแบะให้ได้เหลี่ยม ส่วนตัวนางวางเท้าลงข้างหน้า ไม่ต้องกันเข่า ปลายเท้าเฉียงไปทางนิ้วก้อยเล็กน้อย | | ก้าวข้าง คือ การวางเท้าไปข้างๆตัว ปลายเท้าเฉียงไปทางนิ้วก้อยมาก ถ้าเป็นตัวนาวต้องหลบเข่าตามไปด้วย | กระทุ้ง | คือ การวางเท้าไว้ข้างหลังด้วยจมูกเท้า แล้วใช้จมูกเท้ากระทุ้งลงกับพื้น แล้วกระดกขึ้น หรือยกไปข้างหน้า | กระเทาะ | คือ อาการของการใช้เท้าคล้ายกระทุ้ง แต่ไม่ต้องกระดกเท้า ใช้จมูกเท้ากระทุ้งเป็นจังหวะหลายๆ ครั้ง | กระดก | | กระดกหลัง กระทุ้งเท้าแล้วถีบเข่าไปข้างหลังมากๆ ให้เข่าทั้งสองข้างแยกห่างจากกัน ให้ส้นเท้าชิดก้นมากที่สุด หักปลายเท้าลง ย่อเข่าที่ยืน ตัวพระต้องกันเข่าด้วย
กระดกเสี้ยว คล้ายกระดกหลัง แต่เบี่ยงขามาข้างๆและไม่ต้องกระทุ้งเท้า มักทำเนื่องต่อจากการก้าวข้าง หรือท่านั่งกระดกเท้า
ชี้นิ้ว | คือ อาการนิ้วหัวแม่มือแตะปลายนิ้วก้อย นาง กลาง นิ้วชี้ตึง แยกห่างจากนิ้วอื่นๆระดับมืออยู่ในตำแหน่งต่างๆกัน แล้วแต่ความหมาย | ม้วนมือ | คือ การจีบหงายแล้วม้วนข้อมือ คลายจีบเป็นแบ คว่ำข้อมือ ตั้งปลายนิ้วขึ้น | สอดมือ | คือ การจีบคว่ำ แล้วสอดจีบขึ้น แบหงาย ปลายนิ้วลงล่าง แล้วพลิกข้อมือคว่ำ ตั้งปลายนิ้วขึ้น | สะบัดมือ | คือ ลักษณะมือจีบหงาย สะบัดนิ้วทั้งสี่ออกโดยเร็ว เป็นแบหงายให้ปลายนิ้วลงล่าง |
ภาษาท่า หมายถึง การสื่อความหมายหรือสื่อสารให้เข้าใจกัน โดยใช้กิริยาท่าทาง การรำในทางนาฏศิลป์ เรียกว่า รำบท หรือรำตีบท คือ การแสดงท่ารำแทนคำพูด รวมทั้งการแสดงอารมณ์ด้วย การรำบทเป็นการใช้ภาษาที่พัฒนามาจากท่าทางโดยธรรมชาติ ท่ารำที่ใช้ในการรำตีบท เช่น ตัวเรา (ฉัน) | - จีบหงายมือซ้าย กลางอก แนบตัว (จะต้องเป็นมือซ้ายเท่านั้น) | ตัวท่าน | - (ระดับสูงกว่า) แบมือ ปลายนิ้วทั้งสี่ ชี้ไปที่บุคคลที่เราพูดด้วย มือสูงระดับอก | เธอ | - (ระดับเท่ากัน) ชี้นิ้วไปยังบุคคลนั้น | เขา | - ชี้ไปยังทิศที่คาดว่าเขาอยู่ | ท่าน | - แบมือ ตั้งปลายนิ้วขึ้น ยกมือสูงระดับวงบนข้างหน้าหรือซ้ายขวา | พระองค์ | - พนมมือ ตั้งสูงระดับศีรษะข้างซ้ายหรือขวา | พูด, กล่าว | - ชี้ที่ปาก - จีบมือที่ปากแล้วม้วนออกไป | กิน | - ชี้ที่ปาก | ดู, เห็น | - ชี้ที่ตา | ประสบ, พบ, เห็น | - มือหนึ่งแบวงหน้า อีกมือหนึ่งแบคว่ำ ตึงแขนข้างลำตัวระดับเอว ก้าวเท้าชะงัก (เท้าเดียวกับมือวงหน้า) | มองดู, หา, เห็น | - มือหนึ่งจีบหงายที่ชายพก อีกมือหนึ่งจีบหลัง เอียงทางมือจีบหลัง (พระ ก้าวเท้าเดียวกับมือจีบหน้า นาง ก้าวเท้าเดียวกับมือจีบหลัง) | เสาะหา, ค้นหา, มองหา | - มือหนึ่งแบมือกดลง ยกมือสูงระดับหน้าผาก อีกมือหนึ่งแบหงายงอศอก ระดับเอวข้างตัว (พระ ก้าวเท้ามือสูง นาง ก้าวเท้ามือต่ำ) | ได้ยิน, ได้ฟัง | - ชี้ที่หู - แบมือตั้งป้องหู - ก้าวขวา เอียงขวา มือขวาแบวงล่าง มือซ้ายแบหงาย ตึงแขนข้างตัวระดับเอว - ก้าวซ้าย เอียงซ้าย มือซ้ายแบวงล่าง มือขวาแบหงาย ตึงแขนข้างตัวระดับเอว | อยู่ | - แบสองมือ คว่ำช้อนกันข้างหน้าระดับเอว ห่างตัว | รวม, ร่วม | - แบสองมือ คว่ำข้างตัว แล้วรวมมือเข้าหากันข้างหน้า ขณะเดินมือค่อยๆ กดฝ่ามือลง จีบช้าๆ เมื่อมือรวมกัน | ไป | - จีบหงาย ม้วนจีบคว่ำลง ม้วนมือออกไปปล่อยจีบ แบมือตั้งวงหน้า - จีบหงาย ม้วนจีบคว่ำลง ม้วนมือออกไปปล่อยจีบ แบมือตั้งวงบนข้างตัว | มา | - แบมือตั้งวงพิเศษ กดฝ่ามือ ปาดเข้าหาตัว จีบช้าๆ - แบตั้งสองมือข้างใดก็ได้ แล้วดึงมือไปตรงกันข้าม พร้อมทั้งกดฝ่ามือลง จีบช้าๆ | เรียกเข้ามาหา,กวักเรียก | - แบตั้งวงหน้า กดฝ่ามือลงโดยเร็ว เป็นจีบคว่ำ | คอยหา | - สองมือ เท้าเอว ยืนชะเง้อ | เชยชม, ขอ | - มือแบหงายฝ่ามือ ระดับอก มือเดียวหรือ ๒ มือก็ได้ | คิดถึง, รู้สึก, ชีวิต, จิตใจ | - จีบมือซ้าย กลางอก แนบตัว - แบสองมือ ประทับซ้อนกัน กลางอก แนบตัว | ท่านทั้งหลาย | - มือแบหงาย ผายออกจากข้างหน้า ไปข้างๆ | พร้อมใจ | - แบสองมือ ประทับซ้อนกัน กลางอก แนบตัว | ช่วยเหลือ, ให้, อุทิศ | - สองมือแบตะแคงข้างตัว กอบขึ้นข้างหน้า | สิ่งศักดิ์สิทธิ์, สิ่งที่เคารพ, ชาติ, บ้านเมือง, คุณธรรม | - แบมือ ตั้งปลายนิ้วขึ้นสูงระดับหน้าผาก สับสันมือเบาๆ ไปข้างหน้า | ผ่องใส, ผ่องแผ้ว, เจริญ | - จีบคว่ำ สูงระดับหน้าผาก โบกจีบออกไปข้างๆ พร้อมกับคลายจีบเป็นมือแบหงาย | รัก, เมตตา | - แบมือทั้งสอง ประสานแขนไขว้กลางอก ปลายนิ้วแตะฐานไหล่ | กล้าหาญ, ต่อสู้, ท้าทาย | - มือซ้ายแบ ตั้งวงบน มือขวาแบคว่ำที่หน้าขาขวา ก้าวขวาแล้วเผ่นตัวขึ้น | อดทน, หนักแน่น, เข้มแข็ง | - กำมือขวา ฟาดลงบนมือซ้าย ระดับเอว | เสียสละ, พลีชีพ, พ่ายแพ้, ตาย | - มือทั้งสองแบหงาย ข้างหน้า ระดับเอว แล้วผายออกข้าง | เทิดทูน | - มือทั้งสองแบหงาย ยกสูงระดับหน้าผาก มือห่างกัน ๑ คืบ ระดับต่างกันเล็กน้อย | ปฏิเสธ | - มือแบตั้งปลายนิ้วขึ้น หันฝ่ามือไปข้างหน้า โบกปลายนิ้วเล็กน้อย | ชั่วร้าย, ไม่ดี | - ฟาดนิ้วชี้ ลงข้างหน้า ระดับเอว ห่างตัว | อื่นๆ, ทั่วไป | - ชี้นิ้วกวาดจากข้างหน้าไปข้างๆ |
|