ประเภทของวงดนตรีไทย
วงดนตรีไทยที่ถือเป็นวงมาตรฐาน พบเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้1. วงปี่พาทย์
2. วงเครื่องสาย
3. วงมโหรี
วงปี่พาทย์
หมายถึง วงดนตรีประเภทหนึ่งที่ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่ทำหน้าที่หลักในการบรรเลงบทเพลง เครื่องดนตรีเหล่านี้ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวง มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่มีหน้าที่เป่าประสานบทเพลง มี่เครื่องดนตรีประเภท เครื่องหนัง ได้แก่ ตะโพน กลองทัด มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ มีฉิ่งเป็นเครื่องกำกับ จังหวะย่อย(หนัก-เบา) มีฉาบ กรับ โหม่ง เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ประสมเป็นวงลักษณะต่างๆ ใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรม และมหรสพมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน
ประเภทของวงปี่พาทย์
๑ วงปี่พาทย์ชาตรี (งานมงคล)
๒. งปี่พาทย์เครื่องห้า (งานมงคล)
๓. วงปี่พาทย์เครื่องคู่ (งานมงคล)
๔. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ (งานมงคล)
๕. วงปี่พาทย์เสภา (งานมงคล)
๖. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ (งานมงคล)
๗. วงปี่พาทย์นางหงส์ (งานอวมงคล)
๘. วงปี่พาทย์มอญ (งานอวมงคล)
วงปี่พาทย์ที่ใช้ในงานมงคล
- วงปี่พาทย์เครื่องเบา(วงปี่พาทย์ชาตรี)
สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายเรื่องวงปี่พาทย์ไว้ในหนังสือตำนานมโหรี ปี่พาทย์ ว่า "เดิมปี่พาทย์มี ๒ ชนิด คือวงปี่พาทย์เครื่องเบา กับวงปี่พาทย์เครื่องหนัก" ปี่พาทย์เครื่องเบา ก็คือปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบละครชาตรีของภาคใต้ เรียกอีกอย่างว่า "ปี่พาทย์ชาตรี" ลักษณะของวงปี่พาทย์ชาตรีเหมือนกับวงดนตรีประกอบการแสดง มโนราห์ของภาคใต้ ประกอบด้วย ๑. ปี่ ๒. กลองชาตรี ๓.โทนชาตรี ๔. ฆ้องคู่ ๕. ฉิ่ง
วงปี่พาทย์ชาตรี
ที่มาภาพ : http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Templates/Peepart.html
*ลักษณะเครื่องดนตรีปี่พาทย์เครื่องเบา มักมีขนาดเล็กเคลื่อนย้ายง่าย*
- วงปี่พาทย์เครื่องห้า ( วงปี่พาทย์ไม้แข็ง)
หมายถึง เครื่องดนตรี ที่มีน้ำหนักของเครื่องดนตรีหนักกว่าวงปี่พาทย์เครื่องเบา ปี่พาทย์เครื่องหนัก เริ่มสืบค้นประวัติได้ในสมัยสุโขทัย ตามหลักฐานจดหมายเหตุของ นาย ลาลูแบ ราชทูตของชาวฝรั่งเศษสมัยแผ่นดิน พระนารายน์มหาราช วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า อาจารย์มนตรี ตราโมท(ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยของกรมศิลปากร) ได้อธิบายปี่พาทย์ที่เกิด ขึ้น ในสมัยสุโขทัยไว้ว่า เป็นวงปี่พาทย์ไม้แข็งที่มีลักษณะวงเป็นเครื่องห้า มีเครื่องดนตรีประกอบไปด้วย
๑. ปี่ มีหน้าที่เป่าบรรเลงทำนอง
๒. ฆ้องวงมีหน้าที่ ดำเนินทำนองหลัก
๓. ตะโพนมีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ
๔. กลองทัด (ใบเดียว) มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ
๕. ฉิ่ง มีหน้าที่กำกับจังหวะย่อย (จังหวะหนักเบา)
* สรุปวงปี่พาทย์เครื่องห้าเป็นวงปี่พาทย์มีวิวัฒนาการ ๓ สมัยด้วยกันคือ
สมัยที่หนึ่ง สมัยสุโขทัย พบว่ามีเครื่องดนตรีดังนี้
๑. ปี่ใน
๒. ฆ้องวงใหญ่
๓. ตะโพน
๔. กลองทัด (ลูกเดียว)
๕..ฉิ่ง
สมัยที่สอง สมัยอยุธยาตอนปลาย พบว่ามี “ ระนาดเอก “ เข้าร่วมด้วย” ดังนี้
๑.ปี่ใน
๒.ระนาดเอก
๓.ฆ้องวงใหญ่
๔. ตะโพ
๕.กลองทัด(ลูกเดียว)
๖. ฉิ่ง
สมัยที่สาม สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ เพิ่มกลองทัดเป็น ๒ ลูก เป็นคู่กัน ลูกหนึ่งมีเสียงต่ำ เรียกว่า “ตัวเมีย” อีกลูกหนึ่งมีเสียงสูง เรียกว่า “ ตัวผู้” ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
๑. ปี่ใน
๒. ระนาดเอก
๓. ฆ้องวงใหญ่
๔.ตะโพน
๕.กลองทัด (๒ลูก)
๖. ฉิ่ง
วงปี่พาทย์เครื่องห้า สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ที่มาภาพ : http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Templates/Peepart.html
เป็นวงปี่พาทย์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเพิ่มเครื่องดนตรีบางชิ้นให้มาเป็นคู่กับ เครื่องดนตรีที่มีอยู่เดิมในวงเครื่องห้า เพิ่มปี่นอกมาเป็นคู่กับปี่ใน เพิ่มระนาดทุ้มมาเป็นคู่กับระนาดเอก เพิ่มฆ้องวงเล็กมาเป็นคู่กับฆ้องวงใหญ่ เพิ่มฉาบ(เล็ก)มาเป็นคู่กับฉิ่ง
*กำหนดให้ระนาดเอกอยู่ขวามือด้านหน้าสุด(กรณีตั้งวงจริง) เครื่องดนตรีชิ้นอื่นจัดตามตำแหน่ง แต่ให้ระนาดเอกเป็นต่ำแหน่งหลัก
- วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่
เป็นวงปี่พาทย์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เครื่องดนตรีทุกชนิดเหมือนวงปี่พาทย์เครื่องคู่ แต่เพิ่มระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง
*กำหนดให้ระนาดเอกอยู่ขวามือด้านหน้าสุด(กรณีตั้งวงจริง) เครื่องดนตรีชิ้นอื่นจัดตามตำแหน่ง แต่ให้ระนาดเอกเป็นตำแหน่งหลัก
วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่
ที่มาภาพ : http://www.patakorn.com/modules.php?name=News&file=article&sid=35
- วงปี่พาทย์เสภา
เป็นวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์สำหรับการเล่นเสภาในอดีตมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับดังนี้
๑. เริ่มแรกผู้ขับจะขับเสภาเป็นเรื่องราว พร้อมกับขยับกรับในไม้ต่างๆให้สอดประสานไปกับบทจนจบเรื่อง
๒. ต่อมาให้มีดนตรีเข้ามาบรรเลงประกอบในการขับเสภา แต่บรรเลงเฉพาะกิริยาอารมณ์ต่างๆ ของตัวละครในบท เช่น ไป มา โกรธ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น
๓ ต่อมานำบทเสภาบางตอนที่ไพเราะมาร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ ซึ่งในชั้นแรกจะเป็นเพลงในอัตราสองชั้น โดยสร้างรูปแบบและวิธีการเล่นปี่พาทย์เสภาที่มีปี่พาทย์ประกอบคือ เริ่มด้วยวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงรัวประลองเสภา ผู้ขับ ขับเสภาในบทไหว้ครู แล้วขับเข้าเรื่อง บทเสภาบทใดไพเราะ ผู้ขับก็จะร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ แล้วขับเสภาเดินเรื่องต่อ กระทำสลับกันจนจบเรื่อง ในระหว่างบทร้องส่งเพลงสุดท้าย เมื่อปี่พาทย์รับแล้วจะลงจบด้วยทำนองเพลงที่เป็นลูกหมด
๔. การขยับกรับขับเสภาเป็นเรื่องราวจึงลดน้อยค่อยๆหายไป คงเหลือแต่การนำบทเสภาในเรื่องต่างๆมาขับร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ พร้อมทั้งสร้างรูปแบบ ลำดับวิธีการบรรเลงปี่พาทย์เสภา ยึดถือเป็นระเบียบดังนี้ ๑. รัวประลองเสภา ๒.โหมโรงเสภา ๓. เพลงพม่า ๕. ท่อน ๔.เพลงจะเข้หางยาว ๕.เพลงสี่บท ๖.เพลงบุหลัน จากนั้นจะร้องและบรรเลงเพลงประเภททยอย เช่น ทยอยเขมร ทยอยนอกทยอยใน โอ้ลาว แขกลพบุรี แขกโอด เป็นต้น หรืออาจต่อด้วยเพลงตับเรื่องต่างๆ เมื่อจะจบการ บรรเลง จะบรรเลงและขับร้อง " เพลงลา" เป็นอันดับสุดท้าย สำหรับเพลงลาเป็นเพลงลักษณะหนึ่งที่ท่วงทำนองตอนหนึ่งให้ปี่ว่า " ดอก " ตามบทร้อง เช่น เพลงเต่ากินผักบุ้ง เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง วงปี่พาทย์เสภามีรูปแบบจัดวง ๓ รูปแบบ
๕. ต่อมานำบทเสภาบางตอนที่ไพเราะมาร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ ซึ่งในชั้นแรกจะเป็นเพลงในอัตราสองชั้น โดยสร้างรูปแบบและวิธีการเล่นปี่พาทย์เสภาที่มีปี่พาทย์ประกอบคือ เริ่มด้วยวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงรัวประลองเสภา ผู้ขับ ขับเสภาในบทไหว้ครู แล้วขับเข้าเรื่อง บทเสภาบทใดไพเราะ ผู้ขับก็จะร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ แล้วขับเสภาเดินเรื่องต่อ กระทำสลับกันจนจบเรื่อง ในระหว่างบทร้องส่งเพลงสุดท้าย เมื่อปี่พาทย์รับแล้วจะลงจบด้วยทำนองเพลงที่เป็นลูกหมด
๑. วงปี่พาทย์เสภาเครื่องห้า
๒. วงปี่พาทย์เสภาเครื่องคู่
๓. วงปี่พาทย์เสภาเครื่องใหญ่
ลักษณะการจัดวงใช้วิธีการจัดวงเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็ง เปลี่ยนเอากลองทัด และตะโพนออก ใช้กลองสองหน้าควบคุมจังหวะหน้าทับแทน
- วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
ที่มาภาพ : http://thailandclassicalmusic.com/thaimusic/pinprat2.htm
เป็นวงดนตรีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ จากความคิดริเริ่มของเจ้าพระยาเทเวศร์วงวิวัฒน์เมื่อ ครั้งไปยุโรป ทรงเห็นการแสดง " โอเปร่า" ที่ฝรั่งเล่นเกิดชอบใจ กลับมาทูลชวน ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ให้ทรงช่วยร่วมมือกันคิดขยายการ เล่นละครโอเปร่าอย่างไทย จึงทรงสร้างโรงละครขึ้นใหม่ชื่อว่าโรงละครดึกดำบรรพ์ จึงเรียกการแสดงนี้เลียนแบบโรงละครว่า ละครดึกดำบรรพ์ วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนี้ตั้งชื่อวงตามการแสดง ชื่อว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
- วงปี่พาทย์ไม้นวม
เป็นวงปี่พาทย์ที่มีลักษณะและรูปวงคล้ายคลึงกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง มีการปรับเปลี่ยนไม้ที่ใช้ตีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีแต่ละชนิด ให้มีความนุ่มของเสียงมากขึ้น เพราะความต้องการวงดนตรีที่มีเสียงไม่ดังเกินไป เพื่อสำหรับ บรรเลงประกอบการแสดงละครที่พัฒนาขึ้นในสมัยหลัง จึงปรับเปลี่ยน รูปแบบของเครื่องดนตรี และการประสมวงของวง ปี่พาทย์ไม้แข็งเสีย ใหม่ คือ ไม้ที่ใช้สำหรับรรเลงระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก เปลี่ยนมาใช้ไม้นวมแทน เครื่องเป่าก็เปลี่ยนจากปี่มาเป็นขลุ่ยเพียงออไม่แข็งกร้าวเหมือนเดิม จากคำอธิบายที่มาของวงปี่พาทย์ไม้นวมของอาจารย์ มนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ) อธิบายไว้ว่า น่าจะเกิดตามหลังวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่ง ใช้ไม้นวมตีระนาดเอก และนำเอาซออู้ , กลองแขก ที่ใช้บรรเลงในวงปี่ พาทย์ดึกดำบรรพ์เข้ามาบรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้นวมด้วย สำหรับวงปี่พาทย์ไม้นวมในปัจจุบัน นิยมใช้บรรเลงและขับร้องในรูปแบบในการขับกล่อม และประกอบการแสดง โดยเฉพาะการแสดงที่มีลักษณะเป็นโรงละคร หรือแสดงภายในอาคาร
- วงปี่พาทย์ไม้นวม
เป็นวงปี่พาทย์ที่มีลักษณะและรูปวงคล้ายคลึงกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง มีการปรับเปลี่ยนไม้ที่ใช้ตีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีแต่ละชนิด ให้มีความนุ่มของเสียงมากขึ้น เพราะความต้องการวงดนตรีที่มีเสียงไม่ดังเกินไป เพื่อสำหรับ บรรเลงประกอบการแสดงละครที่พัฒนาขึ้นในสมัยหลัง จึงปรับเปลี่ยน รูปแบบของเครื่องดนตรี และการประสมวงของวง ปี่พาทย์ไม้แข็งเสีย ใหม่ คือ ไม้ที่ใช้สำหรับรรเลงระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก เปลี่ยนมาใช้ไม้นวมแทน เครื่องเป่าก็เปลี่ยนจากปี่มาเป็นขลุ่ยเพียงออไม่แข็งกร้าวเหมือนเดิม จากคำอธิบายที่มาของวงปี่พาทย์ไม้นวมของอาจารย์ มนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ) อธิบายไว้ว่า น่าจะเกิดตามหลังวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่ง ใช้ไม้นวมตีระนาดเอก และนำเอาซออู้ , กลองแขก ที่ใช้บรรเลงในวงปี่ พาทย์ดึกดำบรรพ์เข้ามาบรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้นวมด้วย สำหรับวงปี่พาทย์ไม้นวมในปัจจุบัน นิยมใช้บรรเลงและขับร้องในรูปแบบในการขับกล่อม และประกอบการแสดง โดยเฉพาะการแสดงที่มีลักษณะเป็นโรงละคร หรือแสดงภายในอาคาร
วงปี่พากทย์ไม้นวม
ที่มาภาพ : http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2497
* วงปี่พาทย์ไม้นวม กำเนิดของวงนี้มาจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบของวงปี่พาทย์ไม้แข็ง กล่าวคือ เปลี่ยนหัวไม้ที่ใช้สำหรับการบรรเลงระนาดเอก, ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก จากที่เป็นหัวไม้แข็งก็มาใช้ไม้นวม (ใช้พันผ้าแล้วถักด้วยเส้นด้ายสลักจนนุ่ม) แทนทำให้ลดความดังและความเกรี้ยวกราดของเสียงลง เครื่องเป่าแต่เดิมที่ใช้ปี่ใน ซึ่งมีเสียงดังมากจึงเปลี่ยนมาใช้ขลุ่ยเพียงออ ซึ่งมีเสียงเบากว่าแทน และยังเพิ่มซออู้เข้าไปอีก 1 คัน ทำให้วงมีเสียงนุ่มนวลและกลมกล่อมมากขึ้นกว่าเดิม
วงปี่พาทย์ไม้นวมในปัจจุบัน นิยมใช้บรรเลงและขับร้องในรูปแบบในการขับกล่อม และประกอบการแสดงโดยเฉพาะการแสดงที่มีลักษณะเป็นโรงละครหรือแสดงภายในอาคาร แบ่งออกเป็น 3 วง เช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ได้แก่
- วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย ๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ซออู้, ๕.ตะโพน, ๖.กลองแขก, ๗.ฉิ่ง
- วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย ๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้มไม้, ๔.ฆ้องวงใหญ่, ๕.ฆ้องวงเล็ก, ๖.ซออู้, ๗.ตะโพน, ๘.กลองแขก, ๙.ฉิ่ง, ๑๐.ฉาบ, ๑๑.โหม่ง
- วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย ๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้มไม้, ๔ฆ้องวงใหญ่, ๕.ฆ้องวงเล็ก, ๖ระนาดเอกเหล็ก, ๗.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๘.ซออู้, ๙.ตะโพน, ๑๐.กลองแขก, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.ฉาบ, ๑๓.โหม่ง
วงปี่พาทย์ที่ใช้ในงานอวมงคล
- วงปี่พาทย์นางหงส์
เป็นวงปี่พาทย์อีกชนิดหนึ่งที่นำเอาวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับวง ปี่ชวา - กลองมาลายู ( หรือที่เรียกว่า วงบัวลอย ) ซึงประกอบ ๑.ปี่ชวา ๒.กลองมลายู(ตีด้วยไม้งอๆ) ๓.ฆ้องเหม่ง แล้วนำไปประสมกับวงปี่พาทย์ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังนี้
เอาตะโพน – กลองทัดในวงปี่พาทย์ออกใช้กลองมาลายูตีแทน
เอาปี่ใน ในวงปี่พาทย์ออก ใช้ปี่ชวา เป่าแทน
เอาฆ้องเหม่งในวงปี่-กลองออก เพราะมีฉิ่ง เป็นเครื่องควบคุมจังหวะอยู่
วงปี่พาทย์นางหงส์
ที่มาภาพ : http://www.patakorn.com/modules.php?name=News&file=article&sid=42
เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดในการเกิดของวงปี่พาทย์นางหงส์ และยังไม่สามารถหาหลักฐานที่แน่นอนของการประสมวงนางหงส์ ว่าเกิดขึ้นในสมัยใด แต่ในปัจจุบันปรากฏลักษณะรูปวงนางหงส์เป็น ๒ แบบ คือ ๑. ใช้ตีด้วยกลองมาลายู ๒. ใช้ตีด้วยกลองทัด ทั้งสองแบบใช้หน้าทับที่คล้ายคลึงกัน ผิดกันแต่วิธีการตีเท่านั้น
- วงปี่พาทย์มอญ