วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564

เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงโขน-ละคร


เพลงหน้าพาทย์สำหรับแสดงโขน,ละคร


เพลงที่เกี่ยวกับการแสดงอิทธิฤทธิ์[แก้]

  • ตระนิมิตร - ใช้สำหรับแปลงกาย
  • รัว - ใช้สำหรับการแสดงอิทธิฤทธิ์หรือแปลงกายในเวลาสั้นๆ
  • รัวมอญ - ใช้เหมือนรัวแต่ใช้กับตัวละครที่เป็นมอญ
  • รัวพม่า - ใช้เหมือนรัวแต่ใช้กับตัวละครที่เป็นพม่า

เพลงที่เกี่ยวกับการแผลงฤทธิ์เดช[แก้]

  • คุกพาทย์ - ใช้สำหรับตัวแสดงสำคัญ และการเชิญพระพิฆเนศ
  • รัวสามลา - ใช้สำหรับตัวละครทั่วไปในการแผลงฤทธิ์เดชที่สำคัญ

เพลงที่เกี่ยวกับการจัดทัพและยกทัพ[แก้]

  • ปฐม (ใช้ในการรำตรวจพลเดี่ยวของแม่ทัพ ตัวละครที่รำเพลงนี้มีสุครีพและมโหทร)
  • กราวนอก (ใช้บรรเลงประกอบการตรวจพลของฝ่ายลิงและฝ่ายมนุษย์)
  • กราวใน (ใช้บรรเลงประกอบการตรวจพลและยกทัพของฝ่ายยักษ์ หรือการเดินทางเดี่ยวๆของยักษ์สำคัญๆ)
  • กราวกลาง (ใช้บรรเลงประกอบการตรวจพลของฝ่ายมนุษย์ ส่วนมากใช้ในการใส่เนื้อร้อง)

เพลงที่เกี่ยวกับการไปมาหรือเดินทาง[แก้]

  • เพลงโคมเวียน (ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางในอากาศของเทวดาและนางฟ้า)
  • เพลงเหาะ (เป็นเพลงหน้าพาทย์ใช้บรรเลงขณะ ตัวละครกำลังทำกิริยาเกี่ยวกับการเหาะ ส่วนมากใช้ในละครใน)

เพลงเสมอ[แก้]

ใช้ในการเดินทางใกล้ๆ เพลงเสมอมีดังนี้

  • เสมอธรรมดา (ใช้กับตัวละครทั่วไป)
  • เสมอเถร (ใช้กับฤๅษี นักพรต)
  • เสมอมาร (ใช้กับยักษ์)
  • เสมอเข้าที่ (ใช้กับครูบาอาจารย์)
  • บาทสกุณี (ใช้กับตัวละครฝ่ายพระ นาง ที่สำคัญ เช่นพระราม พระลักษมณ์ )
  • เสมอมอญ (ใช้กับตัวละครที่เป็นมอญ)
  • เสมอลาว (ใช้กับตัวละครที่เป็นลาว)
  • เสมอพม่า (ใช้กับตัวละครที่เป็นพม่า)
  • เพลงเข้าม่าน (ใช้ประกอบการเดินเข้าที่พำนัก หรือเข้าห้องต่างๆ )


เพลงเชิด[แก้]

ใช้ในการเดินทางไกล การไล่ล่า การรบ แบ่งเป็น

  • เชิดธรรมดา (ใช้กับมนุษย์ทั่วไป)
  • เชิดนอก (ใช้กับการไล่ล่า จับตัวของอมนุษย์กับอมนุษย์ ส่วนมากในการเดี่ยวระนาดเอกหรือปี่ใน ประกอบแสดงจับนาง)
  • เชิดฉาน (ใช้กับการไล่ล่า จับตัวของมนุษย์กับสัตว์ เช่น พระรามตามกวาง )
  • เชิดฉิ่ง (ใช้ประกอบการแสดงถึงที่ลึกลับ หรือการเหาะของตัวละคร หรือใช้ประกอบการรำก่อนที่จะใช้อาวุธสำคัญหรือก่อนกระทำกิจสำคัญ

)

  • เชิดกลอง (สำหรับการต่อสู้ การรุกไล่ฆ่าฟันกันโดยทั่วไปใช้บรรเลงต่อจากเชิดฉิ่ง)

เพลงอื่นๆ[แก้]

  • กลม (ใช้กับเทพเจ้าระดับสูง)
  • โคมเวียน (ใช้กับเทวดาระดับทั่วไป)
  • พญาเดิน (ใช้กับพระมหากษัตริย์จนพญาต่างๆ เช่น พญาวานร พญายักษ์)
  • กลองโยน (ใช้ในกระบวนพยุหยาตรา)
  • เพลงฉิ่ง (ใช้ในการชมสวน ดอกไม้)
  • เพลงโล้ (ใช้ในการเดินทาง ทางน้ำ)
  • เพลงแผละ (ใช้กับการบินของสัตว์ที่มีปีกเช่น พญาครุฑ นกสดายุ หรือยุงในตอน หนุมานหักด่านเมืองบาดาล)
  • เพลงชุบ (ใช้ประกอบการเดินของนางกำนัล)

เพลงหน้าพาทย์เบ็ดเตล็ด[แก้]

  • ตระนอน (ใช้ในการนอน)
  • ตระบรรทมไพร (ใช้ในการนอนในป่าของพระราม)
  • ลงสรง (ใช้ในการอาบน้ำของตัวละครเอก และยังใช้ในการสรงน้ำเทวรูปต่างๆ)
  • ลงสรงโทน (ใช้ในการแต่งตัว)
  • นั่งกิน (สำหรับอัญเชิญครูบาอาจารย์ เพื่อถวายกระยาหารสังเวย)
  • เซ่นเหล้า (ใช้ตอนดื่มสุรา หรือใช้ตอนภูต ผี ปีศาจออกแสดง)

เพลงที่เกี่ยวกับแสดงความภาคภูมิใจ[แก้]

  • ฉุยฉาย
  • แม่ศรี
  • เพลงที่เกี่ยวกับการอัญเชิญเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์[แก้]

    • สาธุการ (ใช้เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดให้มาชุมนุมในพิธี ถือว่าเป็นเพลงศักดิ์สิทธิ์ และใช้เป็นเพลงบูชาพระรัตนตรัย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ)
    • ตระเชิญ (ใช้เชิญเทวดาผู้ใหญ่)

    เพลงประกอบการแสดงอารมณ์ทั่วไป[แก้]

    • เพลงโลม (ใช้เกี้ยวพาราสีของตัวละครเอก มักจะใช้คู่กับเพลงตระนอน)
    • เพลงกล่อม (สำหรับการขับกล่อมเพื่อการนอนหลับ
    • ทยอย (ใช้ในตอนเดินเศร้าโศกเสียใจร้องไห้)
    • โอดสองชั้น (ใช้ในการเศร้าโศกเสียใจของตัวละครที่มีศักดิ์สูง)
    • โอดชั้นเดียว (ใช้ในการเศร้าโศกเสียใจตัวละครทั่วไป และใช้ในการตายของตัวละครต่างๆ)
    • โอดมอญ (ใช้ในการเศร้าโศกเสียใจของตัวละครที่เป็นมอญ)
    • โอดลาว (ใในการเศร้าโศกเสียใจของตัวละครที่เป็นลาว)
    • ทยอยเขมร (ประกอบกิริยาครุ่น­คิดหรือความโศกเศร้าเสียใจ)

    เพลงสำหรับกิริยาเยาะเย้ย[แก้]

    • กราวรำ

    เพลงสำหรับแสดงความรื่นเริง[แก้]

    • สีนวล
    • เพลงช้า
    • เพลงเร็ว

    เพลงหน้าพาทย์สำหรับพิธีไหว้ครู[แก้]

    การประกอบพิธีไหว้ครูโดยส่วนใหญ่จะเรียกเพลงคล้ายๆกัน จะแตกต่างที่ลำดับการเรียก

    เพลงที่จะเรียก คือ

    1.สาธุการ - ใช้ในการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

    2.สาธุการกลอง - ใช้ในการบูชาครูและเทพเทวดา

    3.ตระสันนิบาต - ใช้ในการเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประชุมพร้อมกัน ณ ปะรำพิธี

    4.ตระเชิญ - ใช้ในการเชิญเทพยดาต่างๆ

    5.โหมโรง - ใช้ในการเชิญเทพยดา ความหมายเทียบเท่าโหมโรงเย็น

    6.พราหม์เข้า,ดำเนินพราหมณ์ - ใช้ในการเชิญพระภรตมุณี(พ่อแก่) และ ฤๅษีต่างๆ

    7.เสมอเถร - ใช้ในการรำของผู้ประกอบพิธีที่จะสมมุติเป็นพระภรตมุณี(พ่อแก่)

    8.ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ - ใช้ในการเชิญพระนารายณ์

    9.ตระพระพิฆเนศ - ใช้ในการเชิญพระพิฆเนศ เทพแห่งความสำเร็จ

    10.ตระพระปรโคนธรรพ - ใช้ในการเชิญพระปรโคนธรรพ เทพแห่งดนตรีปี่พาทย์

    11.บาทสกุนี(เสมอตีนนก) - ใช้ในการเชิญพระวิศนุกรรม เทพแห่งการช่าง

    12.องค์พระพิราพเต็มองค์ - ใช้ในการเชิญพระพิราพ เทพแห่งการรำ ถือเป็นเพลงหน้าพาทย์สูงสุดของวงการนาฏดุริยางคศิลป์ การที่จะต่อเพลงนี้ได้นั้นมีกฎเกณท์อยู่หลายประการ

    13.รำดาบเฉือนหมู - ใช้ในการตัดแบ่งเครื่องสังเวยต่างๆไปให้แก่สัมภเวสีที่ไม่สามารถเข้ามาในปะรำพิธีได้

    14.นั่งกิน,เซ่นเหล้า - จะเรียกเพลงคู่กัน ใช้ในการถวายเครื่องสังเวยแก่ครูบาอาจารย์ ตลอดจนเทพยดาทั้งหลาย เปรียบเสมือนการรับประทานอาหารและการดื่มสุรา

    15.มหาชัย - ใช้ในตอนที่ทำพิธีครอบ ถือเป็นการประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่ลูกศิษย์

    16.โปรยข้าวตอก - ใช้ในการโปรยข้าวตอกดอกไม้

    17.พราหมณ์ออก,เสมอเข้าที่ - ใช้ในการเชิญพระภรตมุณีกลับ

    18.เชิด,กราวรำ - ใช้ในการบรรเลงเพื่อเป็นการส่งครูและเทพยดากลับ

    นอกจากนี้ ยังมีเพลงหน้าพาทย์เฉพาะของแต่ละสำนักบ้านดนตรีอื่น เช่น

    - ตระกริ่ง

    - ตระพระวิศณุกรรม

    - ตระพระปัญจสีขร

    - ตระพระสุรัสวดี

    - ตระพระอิศวร

    - ตระศิวะนาฏราช หรือ ตระนาฏราช

    - ตระนาง

    - ตระพระเจ้าเปิดโลก

    - ตระพระฤๅษีกไลยโกฏ

    - ตระเชิญเหนือเชิญใต้

    https://www.youtube.com/watch?v=hdpIfM3QX9o&t=244s  บรรยายเพลงหน้าพาทย์

https://www.wikiwand.com/th/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C#


https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น