วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เรียนรู้เรื่องศิลปะ Arts

             

นักเรียนจงทำแบบทดสอบก่อนเรียน

https://docs.google.com/forms/d/1qW78kwPXV0afQGILUmlDlBxszUUycIPAll6NEeimNmA/edit         



ศิลปะ 

   หมายถึง ผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้น จากประสบการณ์และจินตนาการ ด้วยความชำนาญหรือทักษะเฉพาะตัว สร้างสรรค์เพื่อความพึงพอใจ (สุนทรียภาพ)

ผลงานทางด้านศิลปะจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 

1.วิจิตรศิลป์ (Fine Arts)  คือ งานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อชื่นชมความงดงาม

2.ประยุกต์ศิลป์ (Applied arts ) คือ งานที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก


วิจิตรศิลป์ได้แก่


1.งานจิตรกรรม ( Paintings ) คื งานวาดภาพ ระบายสี




2.ประติมากรรม (Sculpture) คือ งานศิลปกรรมที่ได้จากการปั้น การหล่อ และการแกะสลัก




3.สถาปัตยกรรม ( Architecture) คือ งานออกแบบ สิ่งก่อสร้าง อาคาร บ้านเรือน




4.วรรณกรรม ( Literature ) คือ งานทางด้านการใช้ภาษา บทประพันธ์ งานเขียน บทความ ต่างๆ



5.ดนตรีและนาฏกรรม ( Music and Dramatic คือ งานด้านดนตรี การแสดง




ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art)
            ประยุกตศิลป์ เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากความชื่นชมในคุณค่าของศิลปะโดยตรง เช่น ภาพหรือลดลายที่ใช้ตกแต่งอาคาร หรือเครื่องเรือน รูปทรง สีสัน ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ออกแบบให้เป็นที่พอใจของผู้ บริโภค หรือเครื่องใช้ไม่สอยที่ทำขึ้นด้วยฝีมือประณีต ศิลปะที่ประยุกต์เข้าไปในสิ่งที่ใช้ประโยชน์เหล่านี้ จะให้ความพอใจอัน เกิดจากความประณีตสวยงาม ความกลมกลืน แก่ประสาทสัมผัสควบคู่ไปกับประโยชน์ใช้สอย

งานประยุกต์ศิลป์
            ส่วนใหญ่คืองานศิลปะที่สนองประโยชน์ใช้สอย ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะงานประณีตศิลป์ และ หัตถกรรม เท่านั้น เพราะทั้ง สองประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นส่งของเครื่องใช้ นับตั้งแต่สิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันขึ้นไปจนถึงสิ่งฟุ่มเฟือยซึ่งสนองตอบในทาง ตกแต่งประดับประดามากกว่าจะมีความจำเป็นจริงๆ ในเรื่องนี้ถ้าเราหันกลับไปดูในยุคโบราณก็จะเห็นได้ว่ามนุษย์ดึกดำบรรพ์มี ทั้งเครื่องมือหิน หนังสัตว์ และเครื่องประดับประดาที่เป็นลูกปัดร้อยเป็นพวงแขวนคอ ดังนั้น เครื่องประดับอาจใช้แทน เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ก็ได้
ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) แบ่งออกเป็น 4  แขนง คือ
            1. พาณิชย์ศิลป์ (Commercial Art) เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อสนับสนุนกิจการค้า และการบริการ เพื่อ ให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายได้แก่ การออกแบบเครื่องหมายการค้า การออกแบบสิ่งพิมพ์ การออกแบบโฆษณา การออก แบบฉลากสินค้า การออกแบบจัดแสดงสินค้า ฯลฯ ผู้สร้างสรรค์งานพาณิชย์ศิลป์ เรียกว่า นักออกแบบ (Designer)


           2. มัณฑนศิลป์ (Decorative Art) เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อการตกแต่ง สิ่งต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงาม และเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น ได้แก่ การจัดตกแต่งภายในบ้าน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ การตกแต่งภายนอก การจัด สวน การจัดนิทรรศการ การจัดบอร์ด ป้ายนิเทศ การจัดแสดงสินค้า การแต่งกาย การแต่งหน้า การตกแต่งร้านค้า เป็นต้น ผู้สร้าง สรรค์งานมัณฑนศิลป์ เรียกว่า มัณฑนากร (Decorator)




      3. อุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial Art)
         เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ (Product) สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น ด้วยวิธีการในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีการทำงานเป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีมาตรฐาน มีการใช้เครื่องจักรกลเข้าช่วย ทำให้ต้นทุนต่ำ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเลคโทรนิค เฟอร์นิเจอร์ สุขภัณฑ์ ครุภัณฑ์ เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย เครื่องอุปโภค บริโภคต่าง ๆ ตลอดจนถึงภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้วย    
ผู้สร้างสรรค์งาน เรียกว่า นักออกแบบ (Designer)

              



๔) หัตถศิลป์ (crafts)  หมายถึง งานทัศนศิลป์ที่ผลิตด้วยมือเป็นหลัก  สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อการใช้สอยและประกอบพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี  ผลงานแสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะในท้องถิ่นที่มีลักษณะประณีตงดงาม  ผลงานทัศนศิลป์ประเภทนี้อาจเรียกอีกอย่างว่า  ทัศนศิลป์พื้นบ้าน (folk art) ได้แก่  เครื่องปั้นดินเผา  เครื่องเบญจรงค์  เครื่องลงรักปิดทอง  เครื่องทอง  เครื่องเงิน  เครื่องจักรสาน  เป็นต้น  ผลงานหัตถศิลป์เหล่านี้ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้  เพราะเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาติ

 ศัพท์ทางทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์   เช่น วิจิตรศิลป์ (fine art)  ศิลปะประยุกต์ (appiled art)  จิตรกรรม (painting)     วาดเส้น (drawing)    ระบายสี (painting)  

 ภาพคนเหมือน (portrait)  ภาพคน (human figure)    ภาพสัตว์ (animal)   ภาพทิวทัศน์ (landscape)  
 ภาพทิวทัศน์บก (landscape)  ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง  (architectural  landscape)   ภาพทิวทัศน์ทะเล (seescape)       ภาพหุ่นนิ่ง (still  like)      ประติมากรรม (sculpture)     รูปแบบนูนต่ำ (bas  relief)   
รูปแบบนูนสูง (high  relief)     รูปแบบลอยตัว (freestanding  sculpture)     สถาปัตยกรรม (architeecture)    มัณฑนศิลป์ (decorative  art)      อุตสาหกรรมศิลป์ (industrial  art)      พาณิชยศิลป์ (commercial  art)     และหัตถกรรมศิลป์ (crafts)


    https://www.youtube.com/watch?v=mW4K1m2_xPE  ความหมายศิลปะ

https://www.youtube.com/watch?v=3Ucz2i1Xf90  วิจิตรศิลป์

 https://www.youtube.com/watch?v=jG96ISvkOCY  ประยุกต์ศิลป์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น