วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ศิลปะกับมนุษย์

ความหมายของศิลปะ

 ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายทั้งกว้างและจำเพาะเจาะจง ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ทัศนะของแต่ละคน
 แต่ละสมัยที่จะกำหนดแนวความคิดของศิลปะให้แตกกต่างกันออกไป   หรือแล้วแต่ว่าจะมีใคร
 นำคำว่า "ศิลปะ" นี้ไปใช้ในแวดวงที่กว้างหรือจำกัดอย่างไร
  ศิลปะ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น


          ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ได้ให้ความหมายของศิลปะ (Art) ไว้ว่า ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
 ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ   เพราะฉะนั้น   ต้นไม้ ภูเขา ทะเล น้ำตก  ความงดงามต่าง  ๆ
 ตามธรรมชาติจึงไม่เป็นศิลปะ  ดอกไม้ที่เห็นว่าสวยสดงดงามนักหนา   ก็ไม่ได้เป็นศิลปะเลย    ถ้า
 หากเรายึดถือตามความหมายนี้แล้ว      สิ่งที่มนุษย์สร้างสร้างขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะ
 ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น   ภาพวาด  ภาพพิมพ์  งานปั้น  งานแกะสลัก    เสื้อผ้าอาภรณ์    เครื่องประดับ
 ที่อยู่อาศัย  ยานพาหนะ  เครื่องใช้สอย  ตลอดจนถึงอาวุธที่ใช้รบราฆ่าฟันกัน ก็ล้วนแต่เป็นศิลปะ
 ทั้งสิ้นไม่ว่ามนุษย์สร้างสิ่งที่ดีงาม เลิศหรูอลังการ   หรือน่าเกลียดน่าชังอย่างไรก็ตาม ล้วนแต่เป็น
 งานศิลปะอย่างนั้นหรือไม่ ?
 
  ศิลปะเป็นผลงานการสร้างสรรค์
    ในสมัยต่อมา มีผู้ให้ความหมายของศิลปะว่า ศิลปะเป็นผลงานการสร้างสรรค์  ซึ่งในความหมาย
  นี้ เราต้องมาตีความหมายของคำว่า   "การสร้างสรรค์"   กันเสียก่อน   การสร้างสรรค์ หรือที่ภาษา
 อังกฤษเรียกว่า "Cerative" นั้น คือ    การทำให้เกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา    ซึ่งบางสิ่งบางอย่างนั้น

 ไม่เคยมีอยู่มาก่อน ทั้งที่เป็นผลิตผล หรือกระบวนการ  หรือความคิด  ดังนั้น สิ่งที่จะเป็นงานสร้าง
 สรรค์ได้จะต้องเป็นประดิษฐ์กรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก   หรือเป็นกระบวนการใหม่ ๆ ที่
 สร้างขึ้นมาเพื่อกระทำการบางสิ่งบางอย่างให้ประสบผลสำเร็จ      หรือเป็นการสร้างแนวคิดใหม่
 ที่จะนำไปสู่วิธีการใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ ๆ  นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ เพราะแนวคิด
 ใหม่ จะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการ หรือวิธีการใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่ผลผลิตหรือประดิษฐ์กรรม
 ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นมาในโลก และตอบสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ได้  เพื่อแทนที่
 ผลผลิต หรือประดิษฐ์กรรมเดิม ที่ตอบสนองได้ไม่พอเพียง หรือไม่เป็นที่พอใจ  การสร้างสรรค์ใน
 อีกความหมายหนึ่งจึงเกิดขึ้น คือ เป็นการทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีหลาย ๆ วิธี โดยอาจเป็นการปรับ
 ปรุงกระบวนการใหม่ ให้ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม หรือเป็นการปรับปรุงรูปแบบผลผลิตใหม่ โดยใช้
 วิธีการเดิม แต่ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ๆ ก็ตาม เป็นการกระทำให้เกิดขึ้น
 จากการใช้แนวคิดแบบใหม่ ๆ ทั้งสิ้น และเป็นผลของวิธีการคิดที่เรียกว่า "ความคิดสร้างสรรค์"
ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่อยู่ในมนุษย์ทุกคน และสามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยสภาพ
 แวดล้อมที่เหมาะสมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวย  ความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับงาน
 ศิลปะอย่างแยกกันไม่ออก หรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปะเป็นผลงานจากความคิดสร้างสรรค์
    ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า   ศิลปะเป็นผลจากความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น  สิ่งใดก็ตามที่มีความคิดสร้าง
 สรรค์ ก็สามารถสร้างงานศิลปะได้    จากตอนต้นที่กล่าวว่า    ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น แสดงว่า
 มนุษย์เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์  และสามารถสร้างงานศิลปะได้ แต่นอกเหนือจากมนุษย์แล้วจะยัง
 มีสิ่งอื่น ๆ อีกหรือไม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์    จากประวัติศาสตร์ของมนุษย์    และการศึกษา ค้นคว้า
 ทางวิทยาศาสตร์ เราจะพบว่าสัตว์โลกหลาย ๆ ชนิดมีความคิด รู้จักความรักและมีสัญชาตญาณ แต่สิ่ง
 เหล่านั้นจะจัดเป็นความคิดสร้างสรรค์หรือไม่  สัตว์ทั้งหลายสามารถสร้างหรือกระทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อ
 ตอบสนองความต้องการได้ดีกว่าเดิมหรือไม่  รู้จักพัฒนาแนวคิด   กระบวนการ 
และผลผลิตให้ดีกว่าเดิมหรือไม่ ?
  หากเราจะเปรียบเทียบย้อนหลังไปเมื่อหลายหมื่น- แสนปีก่อนหน้านี้ เมื่อมนุษย์ยังอยู่

 ในถ้ำ ยังไม่สรวมเสื้อผ้า เก็บผลไม้กินหรือไล่จับสัตว์กินเป็นอาหารซึ่งมีชีวิตไม่ต่างจากสัตว์ทั้งหลาย
 ในทุกวันนี้ แต่ปัจจุบัน มนุษย์มีบ้านอยู่สบาย  มีเครื่องแต่งกายสวยงาม  มีสิ่งอำนวยความสะดวก มาก
 มาย สามารถไปได้ทั้งบนน้ำ ในน้ำ ในอากาศและอวกาศ  มีเมือง  มีระบบสังคม  มีระเบียบปฏิบัติร่วม
 กัน มีกระบวนการพัฒนามนุษย์ที่จะสืบทอดดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป  มีจริยศาสตร์  มีศาสนาและพิธีกรรม
 มีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันอย่างหลาหลาย กระจายไปทั่วโลก  ขณะที่สัตว์โลกอื่น ๆ   ยังคง
 ดำรงชีวิตอยู่เดิม ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก  ข้อแตกต่างนี้ บางทีอาจเป็นสิ่งพิสูจน์ได้ว่า  มนุษย์
 เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ เพียงหนึ่งเดียวบนโลกนี้  ดังนั้น  ศิลปะจึงเป็นเรื่องของมนุษย์   สร้างขึ้น
 โดยมนุษย์ และเพื่อมนุษย์เท่านั้น
 
     จากข้อความข้างต้นที่กล่าวมา เราอาจสรุปได้ว่า  ศิลปะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์

 ซึ่งในความหมายเช่นนี้ แสดงว่า สิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์คิดค้นกระทำขึ้นมา  ทั้งที่เป็นการกระทำใหม่ ๆ
 หรือเป็นการกระทำสิ่งต่าง ๆให้ดีขึ้นกว่าเดิมล้วนแต่เป็นงานศิลปะทั้งสิ้น อย่างนั้นหรือไม่ ? ถ้าเป็น
 อย่างนั้น แนวคิดใหม่ ๆ วิธีการใหม่ ๆ ประดิษฐ์กรรมใหม่ ๆ ความเชื่อใหม่ ๆ  ศาสนาใหม่ ๆ  ตลอด
 จนถึงการดำรงชีวิตแบบใหม่ อาวุธใหม่ ๆ การสร้างความหายนะให้กับผู้อื่นด้วยวิธีการใหม่ ๆ  ก็เป็น
 ศิลปะอย่างนั้นหรือ ? การทำลายล้างด้วยอาวุธใหม่ ๆ รวดเร็ว รุนแรง  สร้างความเสียหายใหญ่หลวง
 จะถูกยกย่องว่าเป็นผลงานศิลปะชั้นเยี่ยมหรือไม่  ?
   
    ศิลปะคือความงาม

     เมื่อเราพูดถึง ศิลปะ เรามักจะหมายถึง ความงาม แต่ความงามในที่นี้เป็นเรื่องของคุณค่า (Value) ที่
 เป็นคุณค่าทางสุนทรียะ  แตกต่างจากคุณค่าทางเศรษฐกิจ ที่เป็นราคาของวัตถุ  แต่เป็นคุณค่าต่อจิตใจ
 ความงามเกิดขึ้นด้วยอารมณ์ มิใช่ด้วยเหตุผล   ความคิด หรือข้อเท็จจริง  คนที่เคร่งครัดต่อเหตุผลหรือ
 เพ่งเล็งไปที่คุณค่าทางวัตถุจะไม่เห็นความงาม  คนที่มีอารมณ์ละเอียดอ่อนไหว จะสัมผัสความงามได้
 ง่ายและรับได้มาก   ความงามให้ความยินดี ให้ความพอใจได้ทันทีโดยไม่ต้องมีเหตุผล  ความยินดีนั้น
 เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ  ความงามนั้นเกี่ยวข้องกับวัตถุก็จริง  แต่มิได้เริ่มที่วัตถุ  มันเริ่มที่อารมณ์
 ของคน ดังนั้น ความงามจึงเป็นอารมณ์  เป็นสุขารมณ์หรือเป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความสุน  เป็น1 ใน
 3  สิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขกับมนุษย์ ซึ่งได้แก่  ความดี  ความงาม  และความจริง ผู้ที่ยอมรับและเห็นใน
 คุณค่าของทั้งสามสิ่งนี้ จะเป็นผู้มีความสุข   เนื่องจากความงามเป็นอารมณ์   เป็นสิ่งที่อยู่ในความรู้สึก
 นึกคิด ความงามจึงเป็นนามธรรม  ดังนั้น  การสร้างสรรค์งานศิลปะ  ก็เป็นการถ่ายทอดความงามผ่าน
 สื่อวัสดุต่าง ๆ ออกมา เพื่อให้ผู้อื่นได้สัมผัส ได้พบเห็น  ได้รับรู้    สื่อต่าง ๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ชม
 เกิดอารมณ์ทางความงามที่แตกต่างกันตามค่านิยมของแต่ละบุคคล   ความงามไม่ใช่ศิลปะ เนื่องจากว่า
 ความงามไม่จำเป็นต้องเกิดจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ในธรรมชาติก็มีความงามเช่นกัน เช่น  บรรยากาศ
 ขณะที่พระอาทิตย์ขึ้น หรือตกดิน  ความสวยงามสดชื่นของดอกไม้  ทิวทัศน์ธรรมชาติต่าง ๆ   เป็นต้น
 งานศิลปะที่ดีจะให้ความพึงพอใจในความงามแก่ผู้ชมในขั้นแรก      และจะให้ความสะเทือนใจที่คลี่
 คลายกว้างขวางยิ่งขึ้นด้วยอารมณ์ทางสุนทรียะของผลงานศิลปะนั้นในขั้นต่อไป     ความงามในงาน
 ศิลปะออกเป็น 2 ประเภท คือ
 1 ความงามทางกาย (Physical Beauty) เป็นความงามของรูปทรง
     ที่กำหนดเรื่องราว หรือเกิดจากการ
 ประสานกลมกลืนกัน
     ของทัศนธาตุ เป็นผลจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ

   2  ความงามทางใจ (Moral  Beauty) ได้แก่ ความรู้สึก หรืออารมณ์
      ที่แสดงออกมาจากงานศิลปะหรือ
ที่ผู้ชมสัมผัสได้จาก
      งานศิลปะนั้น ๆ

     ในงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ๆ มีความงามทั้ง 2 ประเภทอยู่ร่วมกัน   
แต่อาจแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง
 มากน้อยขึ้นอยู่กับประเภท
  ของงาน  เจตนาของผู้สร้างและการรับรู้ของผู้ชมด้วย  
 ความงามในศิลปะเป็นการสร้างสรรค์ล้วน ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความงามวัตถุในธรรมชาติ  เป็นความงามที่
แสดงออกได้ แม้ในสิ่งที่น่าเกลียด  หัวข้อ  เรื่องราว   หรือเนื้อหาที่ใช้สร้างงานนั้นอาจน่าเกลียด 
  แต่เมื่อเสร็จแล้ว ก็ยังปรากฎความงาม ที่เกิดจากอารมณ์ที่ศิลปินแสดงออก   ดังนั้น
 ความงามจึงเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง ที่ว่าด้วยความงามที่ศิลปินแสดงออกในงาน
  ศิลปะ ซึ่งเรียกว่า  "สุนทรียศาสตร์"  มีข้อความที่ใช้กัน
 มาตั้งแต่สมัยเรอเนซองค์จนถึงทุกวันนี้ว่า
  "ศิลปะมิได้จำลองความงาม  แต่สร้างความงามขึ้น"
 ดังนั้น  จึงอาจสรุปได้ว่า "ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงาม
 และความพึงพอใจ"ที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์สืบเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงปัจจุบันแล
 จะสร้างสรรค์สืบต่อไปในอนาคตให้อยู่คู่กับเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปตราบนานเท่านาน 
   โดยมีการ สร้างสรรค์ พัฒนารูปแบบต่าง ๆ ออกไปอย่างมากมายไม่มีที่สิ้นสุด

 ศิลปะในความหมายต่าง ๆ
  ศิลปะ แต่เดิมหมายถึง งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วย ความประณีต
วิจิตรบรรจงฉะนั้น    งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น ผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา
ความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
 
         คำว่า Art  ตามแนวสากลนั้น มาจากคำ  Arti  และ  Arte  ซึ่งเริ่มใช้ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา 
  ความหมายของคำ Arti นั้น หมายถึงกลุ่มช่างฝีมือในศตวรรษที่ 14 , 15 และ 16 
คำ Arte  มี
ความหมายถึงฝีมือ ซึ่งรวมถึงความรู้ของการใช้วัสดุของศิลปิน ด้วย เช่นการ การผสมสี 
ลงพื้นสำ
หรับการเขียนภาพสีน้ำมัน  หรือการเตรียมและการใช้วัสดุอื่นอีก  
การจำกัดความให้แน่นอนลงไปว่าศิลปะคืออะไรนั้น เป็นเรื่องยาก เพราะว่า ศิลปะเป็นงานสร้างสรรค์  
ศิลปินมีหน้าที่
 สร้างงานที่มีแนวคิดและรูปแบบแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา   ทฤษฎีศิลปะในสมัยหนึ่งอาจ 
 ขัดแย้งกับของอีกสมัยหนึ่งอย่างตรงกันข้าม และทฤษฎีเหล่านั้นก็ล้วนเกิดขึ้นภายหลังผลงานสร้างสรรค์
ที่เปลี่ยนแปลงและก้าวล้ำหน้าไปก่อนแล้วทั้งสิ้น  อย่างไรก็ตาม ทัศนะเกี่ยวกับ
  ความหมายของศิลปะ
ได้ถูกกำหนดตามการรับรู้ และตามแนวคิดต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง  โดย
 บุคคลต่าง ๆ ซึ่งพอยกตัวอย่างได้
ดังนี้
….ศิลปะ คือ ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏซึ่ง 
 สุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ความอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ 
 รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ  ความรื่นรมย์  ขนบธรรมเนียม  จารีตประเพณีหรือ 
 ความเชื่อทางศาสนา  ( พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2530 )
….ศิลปะ คือ ผลงานการสร้างสรรค์รูปลักษณ์แห่งความพึงพอใจขึ้นมา และรูปลักษณ์ก่อให้เกิดอารมณ์ 
 รู้สึกในความงาม  อารมณ์รู้สึกในความงามนั้นจะเป็นที่พึงพอใจได้ก็ต่อเมื่อ ประสาทสัมผัสของเรา 
 ชื่นชมในเอกภาพ หรือความประสมกลมกลืนกันในความสัมพันธ์อันมีระเบียบแบบแผน 
 ( Herbert Read, 1959)
….ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์  ความรู้สึก  สติปัญญา 
 ความคิด และ/ หรือความงาม  ( ชลูด  นิ่มเสมอ, 2534 )
….ศิลปะ เป็นผลงานที่เกิดจากการแสดงออกของอารมณ์ ปัญญา และทัศนคติ  รวมทั้งทักษะความชำนิ ชำนาญของมนุษย์
  การสร้างสรรค์งานศิลปะในปัจจุบันมีแนวโน้มไปในทางการสร้างสรรค์ และการ
แสดงออกของอารมณ์และความคิด  
ดังนั้น งานศิลปะนั้นอย่างน้อยที่สุดควรก่อให้เกิดอารมณ์ และ
 ความคิดสร้างสรรค์ 
กล่าวคือ เป็นงานที่สื่อให้ผู้ชมเกิดจินตนาการ นอกจากนั้น งานศิลปะที่ดีควรจะมี
คุณค่าทางความงาม
ซึ่งเกิดจากการใช้องค์ประกอบของสุนทรียภาพ 
( วิรัตน์  พิชญ์ไพบูลย, 2524)

ประเภทของศิลปะ

ประเภทของศิลปะ

  ปัจจุบัน ศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายหลายประเภท ซึ่งเรา สามารถแบ่ง ประเภทของศิลปะ ออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ   ตามประเภทของความงาม คือ 

  

  1. วิจิตรศิลป์ (Fine Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางใจ ที่ มุ่งเน้นความงดงาม และความพึงพอใจ มากกว่าประโยชน์ใช้สอย   หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เป็นสำคัญ แบ่งออกเป็น 6 แขนง คือ 

  1.1 จิตรกรรม(ภาพเขียน)

  1.2 ประติมากรรม(ภาพปั้น)

  1.3 สถาปัตยกรรม(งานก่อสร้าง)

  1.4 วรรณกรรม(บทประพันธ์)

  1.5 ดนตรี และนาฏศิลป์(การขับร้อง,การบรรเลง)

  1.6 การพิมพ์ภาพ


  2. ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางกายมุ่งเน้นประโยชน์ทางการใช้สอยมากกว่าความงาม   หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางร่างกาย แบ่งออกเป็น 

   5 แขนง คือ

  1.1 พาณิชย์ศิลป์ (ศิลปะเพื่อประโยชน์ทางการค้า)

  1.2 มัณฑนศิลป์ (ศิลปะการตกแต่ง)

  1.3 อุตสาหกรรมศิลป์ (ศิลปะออกแบบผลิตภัณฑ์)

  1.4 หัตถศิลป์ (ศิลปะที่ใช้ฝีมือ)

  1.5 การออกแบบ 

 จากความหมาย ความงาม และประเภทของศิลปะ เราสามารถสรุปได้ว่า ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์ สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อความงามและความพอใจ   สิ่งใดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แม้จะมี ความงดงาม ก็หาใช่ศิลปะไม่ ดังเช่น พระอาทิตย์กำลังจมลงทะเล ดอกไม้หลากสีสวยงาม   ความงามและความพึงพอใจของศิลปะมี 2 ประเภท คือ 

  - ความงามทางกาย 

  - และความงามทางใจ 

  ความงามทางกายเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเรา เราสัมผัส และเห็นคุณค่า ได้อย่าง เป็นรูปธรรม  ส่วนความงามทางใจเป็นศิลปะที่มีคุณค่าทางนามธรรม ทำให้เรามีความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ สามารถ ดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างมีความสุข  เฉกเช่น การปฏิบัติศีลในพระพุทธศาสนา

https://sites.google.com/site/aimaimaimaim2541/home

 

https://www.youtube.com/watch?v=CCm_IaO9_8A  Expo 2020

https://www.youtube.com/watch?v=QCOM5sOOr3k  all comments

https://www.youtube.com/watch?v=qdWFVywRFKU the show

https://www.youtube.com/watch?v=I5wcmz28FQk news

https://www.youtube.com/watch?v=oh5TbR-hhxI  news 

https://www.youtube.com/watch?v=OJjMYPVONDM report

https://www.youtube.com/watch?v=A0-K9iJegCc

https://www.youtube.com/watch?v=O9tCRvBmi38

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น