การวาดภาพล้อเลียนหรือภาพการ์ตูน
การ์ตูน(CARTOON)ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า "ภาพล้อ ภาพตลก บางทีก็เขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจล้อเลียน จะให้ดูรู้สึกขบขัน บางทีก็เขียนติดต่อกันเป็นเรื่องยืดยาว"
ลักษณะของภาพวาดการ์ตูน1. แบบธรรมชาติ เป็นแบบที่อิงลักษณะความเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งต่างๆ ทั้งในลักษณะที่มีสัดส่วนเหมือนหรือคล้ายธรรมชาติ ในลักษณะแบบยืดสัดส่วนและหดสัดส่วน ดังตัวอย่างภาพ เป็นต้น
การ์ตูนนิสต์การเมืองคนแรกของไทย คือ ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) ซึ่งมีโอกาสเดินทางไปศึกษาวิชาศิลปะการวาดที่ประเทศยุโรป ได้นำเทคนิคจากต่างประเทศวาดภาพการ์ตูนเป็นลายเส้น ได้รับรางวัลการประกวดภาพล้อจากรัชกาลที่ 6 โดยการเขียนการ์ตูนล้อเลียนนักการเมืองสำคัญๆ ในยุคนั้น
ภาพเขียนประยูร จรรยาวงศ์
3. การ์ตูนขำขัน (GAG CARTOONS) เป็นการ์ตูนที่เขียนขึ้นเพื่อเน้นความตลกขบขันเป็นหลัก นิยมเขียนเป็นช่องอาจมีช่องเดียวหรือหลายช่องก็ได้ จะมีคำบรรยายหรือไม่มีก็ได้ มุกตลกควรคิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ปัจจุบันในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในสังคม ปฏิกิริยาการตอบสนองทางอารมณ์ขันจึงจะได้ผลดี ตัวอย่างการ์ตูนขำขันของไทยที่ได้รับความนิยมมากคือ การ์ตูนขายหัวเราะ เป็นต้นการ์ตูนขำขันแสดงเหตุการณ์ปัจจุบันในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในสังคม
แบบยืดสัดส่วนผลงานของวัฒนา เพชรสุวรรณ แบบหดสัดส่วน
(นักเขียนการ์ตูนในหนังสือขายหัวเราะ)
2. แบบเหนือธรรมชาติ เป็นแบบที่สร้างสรรค์ขึ้นตามจินตนาการเหนือรูปแบบที่พบเห็นในธรรมชาติทั่วไป แต่อาจได้แรงใจมาจากสิ่งที่มีอยู่จริงหรือคิดขึ้นใหม่ก็ได้ เช่น โดราเอมอน
และโดนัลดั๊ก เป็นต้น
ประเภทของภาพวาดการ์ตูน
ประเภทของการ์ตูน แบ่งออกได้ 6 ประเภท ดังนี้
คือภาพการ์ตูนที่วาดขึ้นและตีพิมพ์ลงสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร โดยมีเนื้อหาล้อเลียน เสียดสี ประชดประชันนักการเมือง หรือเหตุการณ์ทางการเมือง ในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์ จุดประสงค์เพื่อความสนุกสนานและความขบขัน ในบางครั้งอาจสอดแทรกถึงวิธีการแก้ปัญหานั้นๆ การ์ตูนชนิดนี้อาจมีคำบรรยายหรือไม่มีก็ได้ โดยนักวาดการ์ตูนล้อการเมืองนั้น ถือว่าเป็นคอลัมนิสต์หรือบรรณาธิการคนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ เรียกว่า การ์ตูนนิสต์ ( CARTOONNIST )
การ์ตูนล้อการเมือง เกิดขึ้นครั้งแรกในโลกที่ประเทศอังกฤษ โดยชาวอังกฤษชื่อ เจมส์ กิลล์เรย์ (ค.ศ. 1757- ค.ศ.1815) ได้เขียนภาพล้อเลียนพระบรมวงศานุวงศ์ของประเทศอังกฤษ ที่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ศีลธรรมของชนชั้นสูง และการทำงานของรัฐบาล ทำให้ประชาชนคลายความเครียดจากภาวะสงครามในขณะนั้น
สำหรับประเทศไทย การ์ตูนล้อการเมืองเริ่มมีขึ้นมาพร้อมๆ กับวิวัฒนาการการ์ตูนในประเทศไทย โดยเฉพาะในยุครัชกาลที่ 6 ที่สื่อสิ่งพิมพ์และประชาธิปไตยเฟื่องฟู ในยุคนี้มีการ์ตูนล้อการเมืองเริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
การ์ตูนล้อการเมือง เกิดขึ้นครั้งแรกในโลกที่ประเทศอังกฤษ โดยชาวอังกฤษชื่อ เจมส์ กิลล์เรย์ (ค.ศ. 1757- ค.ศ.1815) ได้เขียนภาพล้อเลียนพระบรมวงศานุวงศ์ของประเทศอังกฤษ ที่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ศีลธรรมของชนชั้นสูง และการทำงานของรัฐบาล ทำให้ประชาชนคลายความเครียดจากภาวะสงครามในขณะนั้น
สำหรับประเทศไทย การ์ตูนล้อการเมืองเริ่มมีขึ้นมาพร้อมๆ กับวิวัฒนาการการ์ตูนในประเทศไทย โดยเฉพาะในยุครัชกาลที่ 6 ที่สื่อสิ่งพิมพ์และประชาธิปไตยเฟื่องฟู ในยุคนี้มีการ์ตูนล้อการเมืองเริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
ภาพการ์ตูนล้อการเมืองภาพแรกของไทย (ฝีพระหัตถ์โดยรัชกาลที่ 6)
เป็นภาพการ์ตูนล้อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ขณะเป็นกรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนล้อการเมืองภาพแรกของไทย
ภาพการ์ตูนล้อการเมือง ฝีพระหัตถ์โดยรัชกาลที่ 6
ภาพล้อการเมือง ของเปล่ง ไตรปิ่น
นอกจากนี้แล้ว ชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ ไอ เคียว คาวา ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองไทย สนับสนุนให้นักเขียนการ์ตูนวาดภาพการ์ตูนลงในหนังสือพิมพ์ยาโมโต จวบจนสมัยรัชกาลที่ 7 การ์ตูนเริ่มซบเซา เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดปัญหาการขาดแคลนกระดาษพิมพ์
จนกระทั่งยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 วงการการ์ตูนเริ่มฟื้นฟูขึ้นพร้อมกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การ์ตูนนิสต์วาดภาพล้อเลียนจนเกินขอบเขต ทำให้มีกฏหมายของคณะราษฎรออกมาควบคุม
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประยูร จรรยาวงศ์ ได้วาดภาพการ์ตูนที่มีตัวแสดงชื่อ "ศุขเล็ก" ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำตัว เขียนการ์ตูนขำขัน และการ์ตูนล้อการเมือง ได้รับรางวัลจากการประกวดการ์ตูนสันติภาพโลก เมื่อปี พ.ศ. 2503 ที่นิวยอร์ก ชื่อภาพ การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย (THE LAST NUCLEAR TEST ) และได้รับรางวัลแมกไซไซ ที่ประเทศฟิลิปปินส์
จนกระทั่งยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 วงการการ์ตูนเริ่มฟื้นฟูขึ้นพร้อมกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การ์ตูนนิสต์วาดภาพล้อเลียนจนเกินขอบเขต ทำให้มีกฏหมายของคณะราษฎรออกมาควบคุม
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประยูร จรรยาวงศ์ ได้วาดภาพการ์ตูนที่มีตัวแสดงชื่อ "ศุขเล็ก" ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำตัว เขียนการ์ตูนขำขัน และการ์ตูนล้อการเมือง ได้รับรางวัลจากการประกวดการ์ตูนสันติภาพโลก เมื่อปี พ.ศ. 2503 ที่นิวยอร์ก ชื่อภาพ การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย (THE LAST NUCLEAR TEST ) และได้รับรางวัลแมกไซไซ ที่ประเทศฟิลิปปินส์
ยุคทองของการ์ตูนล้อการเมืองไทย เริ่มต้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เมื่อมีหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้นใหม่อีกหลายฉบับ ทำให้มีการ์ตูนนิสต์การเมืองที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นอีกหลายคน เช่น ชัย ราชวัตร กับคอลัมน์ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หมื่น (ชูชาติ หมื่นอินกุล) ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ อรุณ วัชระสวัสดิ์ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และ THE NATION เซีย ไทยรัฐ ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ขวด เดลินิวส์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ แอ๊ด ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ หมอ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และอูดด้า เป็นต้น
ผลงานของชัย ราชวัตร ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ผลงานการ์ตูน ของเซีย ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ผลงานการ์ตูน ของเซีย ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ผลงานการ์ตูนของอรุณ วัชระสวัสดิ์ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ผลงานการ์ตูนของ ขวด เดลินิวส์ ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ภาพการ์ตูนล้อการเมือง ของนักเขียนการ์ตูนเมืองไทย
2. การ์ตูนล้อบุคคล (CARICATURE) เป็นการ์ตูนที่เขียนขึ้นเพื่อล้อเลียนบุคคลดังในสาขาอาชีพต่างๆ ของสังคม หรือาจจะเป็นภาพล้อเพื่อนๆ และตัวเราเองก็ได้
ในการเขียนภาพล้อบุคคลนี้ สิ่งสำคัญคือจะต้องหาจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์บนใบหน้าและลักษณะรูปร่างของคนนั้นๆ ให้ได้ เช่น คิ้วดก ตากลมโต จมูกใหญ่ ปากหนา หูกาง รูปร่างสูงเก้งก้าง หรืออ้วนเตี้ย เป็นต้น จากนั้นจึงนำมาออกแบบตัวละครการ์ตูนด้วยการยืดหดสัดส่วนให้เพี้ยนไปจากความจริงให้ดูมีอารมณ์ขัน แต่ยังมีเค้าของบุคคลนั้นอยู่ภาพการ์ตูนล้อบุคคลดาราไทย รูปคุณบิลลี่ และคุณสิเรียม
ภาพล้อบุคคลนักเขียนการ์ตูนชื่อ ชูชาติ หมื่นอินกุล หรือพี่หมื่น
วาดโดย อรรณพ กิตติชัยวรรณ หรือ แอ๊ด
วาดโดย อรรณพ กิตติชัยวรรณ หรือ แอ๊ด
ขั้นตอนการวาดภาพล้อบุคคล
3. การ์ตูนขำขัน (GAG CARTOONS) เป็นการ์ตูนที่เขียนขึ้นเพื่อเน้นความตลกขบขันเป็นหลัก นิยมเขียนเป็นช่องอาจมีช่องเดียวหรือหลายช่องก็ได้ จะมีคำบรรยายหรือไม่มีก็ได้ มุกตลกควรคิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ปัจจุบันในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในสังคม ปฏิกิริยาการตอบสนองทางอารมณ์ขันจึงจะได้ผลดี ตัวอย่างการ์ตูนขำขันของไทยที่ได้รับความนิยมมากคือ การ์ตูนขายหัวเราะ เป็นต้นการ์ตูนขำขันแสดงเหตุการณ์ปัจจุบันในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในสังคม
4. การ์ตูนเรื่องยาว (COMICS OR SERIAL CARTOONS)เป็นการ์ตูนที่เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวหลายกรอบภาพต่อเนื่องกันจนจบ เนื้อหาที่นำเสนอมีหลายแนว เช่น ผจญภัย วิทยาศาสตร์ สยองขวัญ รัก และตลกเบาสมอง เป็นต้น การ์ตูนประเภทนี้จะพิมพ์เป็นเล่ม เช่น หนังสือการ์ตูนฝรั่งเรื่องเกี่ยวกับยอดมนุษย์ทั้งหลาย การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องโดราเอม่อน เป็นต้น
การ์ตูนเรื่องยาวนี้นักเขียนการ์ตูนไทยชื่อดังในอดีตผู้ล่วงลับชื่อ จุลศักดิ์ อมรเวช หรือ จุก เบี้ยวสกล ท่านเรียกว่า "นิยายภาพ" ผลงานเด่นของท่านได้แก่ เจ้าชายผมทอง การ์ตูนเพื่อนหนู
5. การ์ตูนประกอบเรื่อง (ILLUSTRATED CARTOONS)เป็นการ์ตูนที่วาดขึ้นเพื่อประกอบเนื้อหาของข้อเขียนต่างๆ เช่น ประกอบสื่อทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และประกอบสื่อการโฆษณา เป็นต้น
2. ออกแบบร่างภาพ หลังจากศึกษาบุคลิกของตัวละครตามเนื้อหาที่เขียนกำหนดไว้จนเข้าใจแล้ว จึงใช้จินตนาการเป็นภาพขึ้นในสมองก่อน จากนั้นจึงถ่ายทอดออกมาเป็นภาพร่างคร่าวๆ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวแบบวาดภาพบุคลิกของตัวละครนั้นต่อไป
3. ลงมือวาดตามแบบ และใช้กลวิธีสร้างสรรค์ผลงานตามที่ตนกำหนดไว้ เมื่อได้แบบที่พอใจแล้วจึงลงมือวาดตัวละครการ์ตูนในแต่ละตัวตามบุคลิกที่ได้ออกแบบไว้
แหล่งข้อมูลวิดีโอเพิ่มเติม
การ์ตูนประกอบสื่อทางการศึกษาเรื่องประเพณีการบวชนาค
6. การ์ตูนมีชีวิต (ANIMATED CARTOONS)หรือภาพยนตร์การ์ตูน เป็นภาพการ์ตูนที่เขียนแสดงอิริยาบถในท่านิ่งหลายภาพ ซึ่งค่อยๆ เปลี่ยนท่าทางไปทีละนิด แล้วนำไปถ่ายทำด้วยเทคนิคการถ่ายภาพยนตร์ หรือใช้คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ทำให้ภาพนั้นเคลื่อนไหวได้คล้ายมีชีวิต เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนไทยเรื่องสุดสาคร และก้านกล้วย ภาพยนตร์ การ์ตูนฝรั่งเรื่องสโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด เป็นต้น
อุปกรณ์เครื่องมือในการวาดการ์ตูน
อุปกรณ์เครื่องมือในการวาดการ์ตูน ที่สำคัญขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
1. กระดาษ ให้มีเนื้อหนาพอควรและไม่ซึมเปื้อนหมึกหรือสีง่าย ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกลวิธีการสร้างสรรค์ เช่น กระดาษอาร์ต กระดาษการ์ด เหมาะสำหรับวาดด้วยปากกาจุ่มหมึก พู่กันจุ่มหมึก และปากกาหมึกสำเร็จรูป เป็นต้น กระดาษวาดเขียนร้อยปอนด์ด้านผิวเรียบเหมาะสำหรับการวาดด้วยดินสอดำ ดินสอสี ปากกา เป็นต้น ด้านผิวหยาบเหมาะสำหรับการวาดด้วยกลวิธีการระบายสีน้ำ สีโปสเตอร์ เป็นต้น
2. ดินสอ ควรเป็นดินสอไส้อ่อน เพราะสามารถลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่าย ดินสอที่เหมาะใช้ร่างภาพการ์ตูน ได้แก่ B, 2B และ HB ไม่ควรใช้ดินสอที่มีไส้แข็งเพราะเวลาวาดจะขูดกระดาษเป็นรอยลึก ทำให้ลบยาก
3. ยางลบ ควรเป็นแบบเนื้ออ่อน เพราะเวลาลบจะได้ไม่มีขุยมาก และสามารถตัดแต่งให้มีปลายแหลมเพื่อไว้ใช้ลบในส่วนพื้นที่แคบๆ ได้
4. ปากกา นิยมใช้อยู่หลายแบบ เช่น ปากกาจุ่มหมึกหัวช้อน (หัวคาบร้า) หัวเขียนแผนที่ (หัวกลม) หัวจีเพ็น (G-PEN) และปากกาหมึกสำเร็จรูป เช่น ปากกาเขียนแบบ ปากกามาร์กเกอร์ ปากกาปลายสักหลาด และปากกาหัวไฟเบอร์ เป็นต้น
5. พู่กัน นิยมใช้พู่กันขนอ่อนนุ่มแบบกลมมากกว่าพู่กันแบบแบน พู่กันกลมปลายแหลมเบอร์เล็กใช้สำหรับตัดเส้น ระบายพื้นที่แคบ และเก็บรายละเอียด เบอร์ใหญ่ใช้สำหรับระบายพื้นที่กว้าง และใช้ตัดเส้นที่มีขนาดใหญ่
6. หมึก มีทั้งหมึกดำและหมึกสี ได้แก่ หมึกดำอินเดียนอิงค์ซึ่งใช้กับปากกาจุ่มหมึกหรือพู่กัน และหมึกสีที่ใช้กับปากกาเขียนแบบหรือพู่กัน 7. สี ที่นิยมใช้กันในระดับเบื้องต้น ได้แก่ สีดินสอ สีน้ำ สีโปสเตอร์ และสีเมจิก
มีดังนี้
1. ศึกษาเนื้อหาเรื่องราวที่จะวาด เพื่อจับประเด็นของจุดประสงค์ที่ต้องการให้ตัวละครนั้นๆ มีลักษณะเด่นอย่างไร เช่น เถ้าแก่อาเซี่ยผู้มีอันจะกิน จะมีลักษณะรูปร่างอ้วนท้วม ดวงตาเล็ก คนชรามีลักษณะหลังงอ ใบหน้าเหี่ยวย่น ผมขาว และโจรผู้ร้ายมีคิ้วหนา ตาดุดันไว้หนวดเครา เป็นต้น
1. ศึกษาเนื้อหาเรื่องราวที่จะวาด เพื่อจับประเด็นของจุดประสงค์ที่ต้องการให้ตัวละครนั้นๆ มีลักษณะเด่นอย่างไร เช่น เถ้าแก่อาเซี่ยผู้มีอันจะกิน จะมีลักษณะรูปร่างอ้วนท้วม ดวงตาเล็ก คนชรามีลักษณะหลังงอ ใบหน้าเหี่ยวย่น ผมขาว และโจรผู้ร้ายมีคิ้วหนา ตาดุดันไว้หนวดเครา เป็นต้น
3. ลงมือวาดตามแบบ และใช้กลวิธีสร้างสรรค์ผลงานตามที่ตนกำหนดไว้ เมื่อได้แบบที่พอใจแล้วจึงลงมือวาดตัวละครการ์ตูนในแต่ละตัวตามบุคลิกที่ได้ออกแบบไว้
การวาดภาพบุคลิกตัวละครในการ์ตูน
บทบาทของการ์ตูนในการโฆษณา
บทบาทของการ์ตูนในการโฆษณา
จากผลการวิจัยของนักจิตวิทยาพบว่าเด็กไม่ชอบภาพที่เหมือนจริงซับซ้อน แต่จะชอบภาพลายเส้นง่ายๆ มากกว่า ดังนั้นเด็กจึงชอบการ์ตูนและรับรู้ภาพการ์ตูนได้ดี เพราะภาพการ์ตูนส่วนใหญ่จะมีลายเส้นน้อยไม่ซับซ้อน นอกจากนี้การ์ตูนยังทำให้ผู้ดูเกิดอารมณ์ขันและภาพตัวละครการ์ตูนมักจะแสดงรอยยิ้ม จึงช่วยลดความเครียดและแรงต้านทานของผู้ดูลง การใช้ภาพโฆษณาด้วยการ์ตูนจึงมีส่วนช่วยให้ผู้ใหญ่และเด็กที่เห็นการโฆษณานั้นไม่เกิดความรู้สึกต่อต้าน
การ์ตูนจึงถูกนำมาใช้เพื่อดึงดูดความสนใจในการโฆษณาต่างๆ เช่น ใบปิดโฆษณา (POSTER) ป้ายโฆษณา โฆษณาข้างรถ แผ่นปลิว โฆษณาในหนังสือพิมพ์ โฆษณาในสมุดหน้าเหลือง และภาพยนตร์โฆษณา เป็นต้น
การ์ตูนจึงถูกนำมาใช้เพื่อดึงดูดความสนใจในการโฆษณาต่างๆ เช่น ใบปิดโฆษณา (POSTER) ป้ายโฆษณา โฆษณาข้างรถ แผ่นปลิว โฆษณาในหนังสือพิมพ์ โฆษณาในสมุดหน้าเหลือง และภาพยนตร์โฆษณา เป็นต้น
การโฆษณาข้างรถด้วยการนำภาพการ์ตูนมาออกแบบช่วยดึงดูดความสนใจมากขึ้น
ขั้นตอนการออกแบบโฆษณาโดยใช้ภาพการ์ตูน
1. ศึกษาเนื้อหาเรื่องราวที่จะโฆษณา เพื่อจะได้ข้อมูลมาเตรียมออกแบบ กำหนดหัวเรื่อง ข้อความ ภาพประกอบ ตัวอักษรได้สอดคล้องกับจุดประสงค์ในการโฆษณา และสื่อสารได้ดี เหมาะสมกับเพศและวัย
2. ศึกษาจิตวิทยาการวาดภาพสร้างอารมณ์ความรู้สึก เพื่อนำไปใช้วาดภาพแสดงอารมณ์ต่างๆ บนใบหน้า เช่น ต้องการแสดงอารมณ์ในเชิงบวก วาดปากเป็นเส้นโค้งหงายให้ดูยิ้ม อารมณ์ในเชิงลบปากเป็นเส้นโค้งคว่ำ เป็นต้น
3. เลือกใช้กลวิธีการสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับวัสดุ เมื่อรู้แนวทางที่จะกำหนดรูปภาพและอารมณ์ของภาพแล้วตัดสินใจเลือกกลวิธีการสร้างสรรค์จะเป็นแบบวาดเส้น แบบระบายสี หรือแบบผสมให้สอดคล้องกับวัสดุที่จะใช้
4. ออกแบบร่างภาพ หลังจากได้ข้อมูลของหัวเรื่อง ข้อความและภาพประกอบที่จะใช้จึงลงมือร่างแบบตัวอักษร ภาพประกอบแล้วนำมาทดลองจัดองค์ประกอบภาพกำหนดสีสัน จนได้แบบที่พึงพอใจ
5. ลงมือวาดตามแบบ เมื่อได้แบบที่ต้องการจึงลงมือวาดตามกลวิธีการสร้างสรรค์ผลงานที่เลือกและกำหนดไว้ หลังจากวาดงานต้นฉบับเสร็จถ้าต้องการเก็บรักษาให้คงทนควรพ่นเคลือบภาพด้วยแลกเกอร์สเปรย์
2. ศึกษาจิตวิทยาการวาดภาพสร้างอารมณ์ความรู้สึก เพื่อนำไปใช้วาดภาพแสดงอารมณ์ต่างๆ บนใบหน้า เช่น ต้องการแสดงอารมณ์ในเชิงบวก วาดปากเป็นเส้นโค้งหงายให้ดูยิ้ม อารมณ์ในเชิงลบปากเป็นเส้นโค้งคว่ำ เป็นต้น
3. เลือกใช้กลวิธีการสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับวัสดุ เมื่อรู้แนวทางที่จะกำหนดรูปภาพและอารมณ์ของภาพแล้วตัดสินใจเลือกกลวิธีการสร้างสรรค์จะเป็นแบบวาดเส้น แบบระบายสี หรือแบบผสมให้สอดคล้องกับวัสดุที่จะใช้
4. ออกแบบร่างภาพ หลังจากได้ข้อมูลของหัวเรื่อง ข้อความและภาพประกอบที่จะใช้จึงลงมือร่างแบบตัวอักษร ภาพประกอบแล้วนำมาทดลองจัดองค์ประกอบภาพกำหนดสีสัน จนได้แบบที่พึงพอใจ
5. ลงมือวาดตามแบบ เมื่อได้แบบที่ต้องการจึงลงมือวาดตามกลวิธีการสร้างสรรค์ผลงานที่เลือกและกำหนดไว้ หลังจากวาดงานต้นฉบับเสร็จถ้าต้องการเก็บรักษาให้คงทนควรพ่นเคลือบภาพด้วยแลกเกอร์สเปรย์
ภาพโฆษณาเรื่องการประหยัดพลังงาน เป็นการออกแบบโดยใช้ภาพการ์ตูนเป็นสื่อสร้างความเข้าใจ
https://www.youtube.com/watch?v=XNyk28lMvaE การวาดภาพล้อเลียน
https://www.youtube.com/watch?v=cLxNtgJQFYs การวาดภาพล้อเลียน
https://www.youtube.com/watch?v=xY0F3_XGOlc วาดภาพการ์ตูนล้อเลียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น