โปสเตอร์ (poster) คือภาพขนาดใหญ่พิมพ์บนกระดาษ ออกแบบเพื่อใช้ติดหรือแขวนบนผนังหรือกำแพง โปสเตอร์อาจจะเป็นภาพพิมพ์และ/หรือภาพเขียน หรืออาจจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ จุดประสงค์ก็เพื่อทำให้เตะตาผู้ดูและสื่อสารข้อมูล โปสเตอร์อาจจะใช้สอยได้หลายประการ แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ในการเผยแพร่เพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการโฆษณางานแสดงศิลปะ, งานดนตรี หรือภาพยนตร์, การโฆษณาชวนเชื่อ, หรือในการสื่อสารที่ต้องการสื่อสารความเชื่อต่อคนกลุ่มใหญ่
ประโยชน์ของโปสเตอร์อาจมีหลายจุดประสงค์ โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องมือในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นงานต่างๆ งานดนตรี ภาพยนตร์ และในบางครั้งก็ผลิตมาเพื่อใช้ในการศึกษา หรือเป็นสื่อการสอน
นอกจากนั้นโปสเตอร์ก็ยังใช้ในการพิมพ์ภาพจิตรกรรมของศิลปินคนสำคัญๆหรือภาพถ่าย เพื่อใช้ในการตกแต่ง ซึ่งกลายมาเป็นศิลปะการค้าที่ทำรายได้ดีให้ทั้งพิพิธภัณฑ์และบริษัทการค้าหรือร้านทางอินเทอร์เน็ต เช่นภาพเขียนของ โคลด โมเนท์ หรือ เลโอนาร์โด ดา วินชี หรืองานของช่างภาพอเมริกัน โรเบิร์ต เมเปิลธอร์พ (Robert Mapplethorpe)
งานศิลปะการสร้างโปสเตอร์เริ่มเมื่อราวคริสต์ศตวรรษ 1890 โดยจิตรกรชาวฝรั่งเศสและเผยแพร่ไปทั่วยุโรป ศิลปินคนสำคัญที่สุดที่ริเริ่มความนิยมในการสร้างโปสเตอร์ก็คือ อองรี เดอ ทูลูส-โลเทรค และ จูลส์ เชเรท์ (Jules Chéret) เชเรท์ถือกันว่าเป็นบิดาแห่งการโฆษณาด้วยป้าย
คนส่วนใหญ่ที่สะสมโปสเตอร์ และโปสเตอร์ที่มีชื่อเสียง นักสะสมโปสเตอร์จะเก็บโปสเตอร์เก่าโดยมักจะใส่กรอบรูปและมีแผ่นรองหลังด้วย ขนาดโปสเตอร์ที่นิยมกันโดยทั่วไปอยู่ที่ 24x35 นิ้ว แต่โปสเตอร์ก็มีหลายขนาดหลากหลาย และโปสเตอร์ขนาดเล็กที่มีไว้โฆษณาจะเรียกว่า แฮนด์บิลล์ หรือ "ใบปลิว" (flyer)
ข้อมูลในการผลิตงานพิมพ์โปสเตอร์.............
· รูปแบบและรายละเอียดของงานพิมพ์โปสเตอร์
งานพิมพ์โปสเตอร์จะมีรูปร่างเป็นกระดาษแผ่นเดียว กระดาษที่ใช้ไม่หนามาก การพิมพ์บนโปสเตอร์จะมีที่พิมพ์เพียงด้านเดียว
· ขนาดของงานพิมพ์โปสเตอร์
ขนาด 15”x 21”, 10.25”x 15”
17”x 23.5”(A2), 11.75”x 17”(A3), 8.25”x 11.75”(A4)
สำหรับขนาดอื่นที่มิได้กล่าวไว้ อาจทำให้มีการเสียเศษแผ่นพิมพ์
· กระดาษที่ใช้สำหรับงานพิมพ์โปสเตอร์
กระดาษปอนด์ 100 แกรมขึ้นไป
กระดาษอาร์ตมัน/ด้าน 120 แกรมขึ้นไป
· การพิมพ์และตกแต่งผิวบนของงานพิมพ์โปสเตอร์
มีการพิมพ์โปสเตอร์แบบ 1 สี 2 สี 3 สี 4 สี หรือมากกว่า จะใช้แม่สี 4 สี (CMYK) หรือสีพิเศษก็ได้ มักพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท ระบบอิ้งค์เจ็ทหรือระบบดิจิตอลพิมพ์หน้าเดียว
สามารถพิมพ์โปสเตอร์เคลือบ UV เคลือบพลาสติกเงา หรือเคลือบพลาสติกด้าน เคลือบ Spot UV ปั๊มนูน (Embossing) ปั๊มทองหรือฟิล์ม/ฟอยล์สีต่าง ๆ (Hot Stamping)
การแบ่งประเภทของโปสเตอร์
โปสเตอร์สามารถแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
1. โปสเตอร์นอกสถานที่
ได้แก่โปสเตอร์ขนาดใหญ่เรียกว่าบิลบอร์ด (billboard)
2. โปสเตอร์ประเภทเคลื่อนที่
ได้แก่โปสเตอร์ติดตามข้างรถเมล์(bus-side),
3. โปสเตอร์ติดภายใน
ได้แก่โปสเตอร์ติดตามสำนักงานหรือห้างสรรพสินค้า
4. โปสเตอร์ประเภท 3 มิติ
เป็นลักษณะสื่อผสม อาจนำคนเข้ามาผสม เน้นสื่อเพื่อสาธารณะโดยตรง หรือบิลบอร์ดที่มีส่วนยื่นออกมา
จุดประสงค์ของโปสเตอร์
จุดประสงค์ของโปสเตอร์โดยทั่วไปแล้วจะต้องแสดงหน้าที่และบทบาทต่อไปนี้คือ
1.นำสิ่งที่ผู้ต้องการโฆษณาออกมาเผยแพร่ให้สะดุดตาคน
2.ต้องสามารถสื่อสารเข้าสู่การรับรู้และการปลุกเร้าความสนใจของผู้พบเห็นให้ได้
3.ต้องสามารถเล่าเรื่องราวจากภาพให้ได้
เพื่อช่วยให้ผู้พบเห็นสามารถที่จะเข้าใจได้ในทันที
แล้วเกิดการรับรู้และปลุกเร้าความสนใจต่อไป
4.ภาพในโปสเตอร์จะต้องมีลักษณะปลอดโปร่ง เน้นเฉพาะเรื่องที่จะโฆษณา
ช่วยให้แลเห็นง่าย และที่สำคัญที่สุดก็คือ รายละเอียดและส่วนประกอบต่างๆ
จะประสานกลมกลืนกันตามคุณค่าของศิลปะประยุกต์ (applied art) ด้วยเหตุนี้ ภาพโปสเตอร์จึงมิได้เป็นศิลปะในตัวของมันเอง
5.ต้องสามารถสะท้อนเรื่องราวที่จะโฆษณาออกมาให้ได้ทั้งทางสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม เป็นต้น
องค์ประกอบของภาพโปสเตอร์โฆษณา
1. รูปภาพ(Picture)
2. พาดหัว (Headline)
3. พาดหัวรอง (Sub Headline)
4. ประโยชน์หรือรายละเอียด (Body text)
5. ข้อความพิสูจน์กล่าวอ้าง (Proof)
6. ข้อความปิดท้าย (Closing)
7. ผู้รับผิดชอบ หรือ เจ้าของโปสเตอร์
1. รูปภาพ(Picture)
รูปภาพมีบทบาทและความสำคัญของการสื่อความหมายด้วยภาพมาก ซึ่งสามารถจำแนกข้อเด่นได้ดังนี้
- สะดุดตา
- น่าสนใจ
- สื่อความหมาย
- ประทับใจ
2. พาดหัว (Headline)
ในการเขียนข้อความโฆษณา
จำเป็นจะต้องมีพาดหัวเสมอเพราะพาดหัวเป็นส่วนที่เด่นที่สุดในประเภทของข้อ
ความโฆษณา มีไว้เพื่อให้สะดุดตาสะดุดใจชวนให้ติดตามอ่านเรื่องราวต่อไป
ลักษณะของพาดหัวที่ดี ควรจะมีขนาดตัวอักษรโตหรือเด่น เป็นข้อความที่สั้น กะทัดรัด
ชวนให้น่าคดหรือน่าติดตามอ่านต่อไป
3. พาดหัวรอง (Sub
Headline)
คือ ข้อความที่มีขนาดและความสำคัญรองลงมาจากพาดหัว
หรือในกรณีที่พาดหัวเป็นประโยคยาว ๆ ทำให้ไม่เด่นไม่สะดุดตา
อาจจะตัดทอนตอนใดตอนหนึ่งลงมาให้เป็นพาดหัวรองก็ได้
โดยลดให้ตัวอักษรมีขนาดรองลงมาจากพาดหัว ถ้าเป็นพาดหัวประเภทอยากรู้อยากเห็นหรือแบบฉงน
ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านสนเท่ห์หรือประหลาดใจ
อาจจะต้องใช้พาดหัวรองทำหน้าที่ขยายความจากพาดหัวให้เข้าใจเพิ่มขึ้น
4.
ประโยชน์หรือรายละเอียด
(Body text)
สำหรับสินค้าใหม่ที่ประชาชนยังไม่รู้ยังไม่เข้าใจประโยชน์ว่าใช้ทำอะไร
ใช้อย่างไร หรือรู้จักแล้วแต่การโฆษณาต้องการเน้นให้ถึงประโยชน์เพื่อการจูงใจซื้อ จึงควรชี้ให้เห็นว่าสินค้านี้ให้ประโยชน์คุ้มค่าอย่างไร
แต่ถ้าเป็นสินค้าที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป อาจจะไม่จำเป็นต้องเน้นประโยชน์ก็ได้ เพื่อให้พื้นที่โฆษณาดูโปร่งตา
ไม่รกไปด้วยข้อความ ซึ่งจะดูดีกว่าโฆษณาที่แน่นไปทั้งภาพด้วยเรื่องราวต่างๆ เต็มพื้นที่
ประโยชน์อื่น ๆ หรือรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า
ถ้าสินค้ามีคุณสมบัติพิเศษ
หรือมีประโยชน์เหนือกว่าสินค้าธรรมดาโดยทั่วไป การเขียนข้อความโฆษณาจึงควรมีรายละเอียดส่วนนี้ไว้ด้วย
เพื่อช่วยสร้างความสนใจเป็นพิเศษแก่ผู้อ่าน เช่น เครื่องดูดฝุ่น
นอกจากใช้ดูดฝุ่นแล้วยังสามารถใช้เป่าลมได้อีกด้วย
5.
ข้อความพิสูจน์กล่าวอ้าง
(Proof)
ข้อความส่วนนี้มีไว้เพื่อสร้างความเชื่อถือหรือช่วยให้เกิดความมั่นใจ
ในสินค้า โดยมักจะอ้างอิงบุคคลที่สามารถอ้างอิงได้ตั้งแต่บุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไปที่ใช้สินค้าหรือบริการ
แต่ถ้าเป็นดาราหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันดีในสังคม ก็จะได้รับความสนใจและได้รับความเชื่อถือเป็นพิเศษโดยเฉพาะคนเด่นคนดังใน
สาขาอาชีพนั้นๆ เช่น นักกีฬาที่มีชื่อเสียงระดับชาติ หรือระดับโลก โฆษณาสินค้าที่เกี่ยวกับกีฬาประเภทนั้นๆ
ผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับอาหารการกิน แนะนำเรื่องอาหารหรือเกี่ยวกับอาหาร
6. ข้อความปิดท้าย (Closing)
ข้อความเป็นการจบโฆษณา โดยสรุปให้ทราบว่าผู้อ่านควรจะทำอย่างไร
เช่นให้ตัดสินใจซื้อ ซื้อได้ที่ไหน ซื้อโดยวิธีใด ใคนเป็นผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย
และคำขวัญ ก็เป็นที่นิยมในส่วนข้อความปิดท้าย เป็นต้น
7. ผู้รับผิดชอบหรือเจ้าของโปสเตอร์
โดย อ. มนูญ ไชยสมบูรณ์
ใน การออกแบบสิ่งพิมพ์
เก็บมาจาก : http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538763136
บทความประกอบการเรียนรู้
การวิเคราะห์สื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้รับรางวัล
โปสเตอร์ของภาพยนตร์เรื่อง “ความสุขของกะทิ” จาก บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นโปสเตอร์ที่ได้รับรางวัล Gold Award หรือรางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 1 จากการประกวดโปสเตอร์ภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม ในงาน “สวนดุสิต : ไทยมูฟวี่ โปสเตอร์ อวอร์ดส์ 2009” โดยเป็นผลงานการออกแบบของ คุณฤกษ์ชัย ลิ้มทองคำ
วิเคราะห์การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ (โปสเตอร์ "นาคปรก")
- นาคปรก หนังสะท้อนสังคมที่กล้าตีแผ่มุมมืดของศาสนา เป็นเรื่องของโจรใจบาป 3 คน คิดชั่วโดยการปล้นผ้าเหลือง เพื่อปลอมตัวเป็นพระในการค้นหาเงินก้อนโตที่หายไป ทำให้เกิดความแปดเปื้อนในศาสนา แต่ศาสนาก็สามารถขัดเกลาคนชั่วให้เป็นคนดีได้บ้าง เนื้อหามีฉากดราม่าจนต้องเสียน้ำตาในเรื่องของพระคุณของแม่อีกด้วย นาคปรก ด้วยส่วนที่เป็นเนื้อหาของหนังที่มีความรุนแรง เกรงว่าเมื่อเข้าฉายแล้วอาจไม่เหมาะสมต่อประชาชน แต่ในมุมมองของผม ไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ สื่อภาพยนตร์ สื่ออินเตอร์เน็ต มันเป็นแค่สื่อที่ถ่ายทอดให้คนได้รับรู้เท่านั้น แต่ในเรื่องของการปฏิบัติตัวย่อมขึ้นอยู่ในจิตใต้สำนึกของคนเรามากกว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงรอคอยการเข้าสู่โรงภาพยนตร์อย่างเต็มตัวถึง 3 ปีเต็ม และเมื่อได้เข้าฉายอย่างเป็นทางการภาพยนต์เรื่องนี้ไม่มีการตัดออกแม้แต่ฉากเดียว กระแสตอบรับของภาพยนตร์ดีมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าการตัวอย่างหนังและโปสเตอร์ภาพยนตร์จะดูรุนแรงเพียงใดก็ตามหากถามว่าทำไมถึงชอบโปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง นาคปรก คงตอบได้ว่าเมื่อเห็นแล้วรู้สึกว่ามันเกิดความน่าสนใจ เกิดความคิดที่ว่า เราต้องไปดูหนังเรื่องนี้ ห้ามพลาดโดยเด็ดขาด โปสเตอร์สื่อให้ผมสนใจว่า พระถึงใส่กุญแจมือ ทำไมถึงถือปืน ซึ่งเราเห็นและชินกับพระตั้งแต่เกิดว่าต้องอยู่ในวัด เดินบิณฑบาต ฟังเทศน์ ฟังธรรม สอนคนให้เป็นคนดี แล้วทำไมในโปสเตอร์ถึงขัดแย้งกับสิ่งที่เราเห็นมาตั้งแต่เกิด เมื่อเห็นโปสเตอร์แล้วผมคิดว่ามันต้องเป็นเรื่องราวที่แปลกใหม่ของวงการภาพยนตร์ไทยแน่ๆ โปสเตอร์นี้สามารถตอบสนองจุดประสงค์ที่จะสื่อความหมายได้เป็นอย่างดี มีความชัดเจนในภาพลักษณ์ที่ภาพยนตร์ต้องการจะสื่อ ชวนให้น่าติดตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องของหลักการในการออกแบบโปสเตอร์เบื้องต้นครับ นี่แหละครับคือสาเหตุที่ผมชอบโปสเตอร์นี้ในเรื่องของรูปภาพบนโปสเตอร์ มีการจัดวางรูปภาพได้เป็นอย่างดี เน้นแค่สีของจีวรพระเพียงจุดเดียว เพื่อจะสื่อให้เห็นชัดว่าเป็นเรื่องของศาสนา แต่การที่พระ ใส่กญแจมือ มีปืน และหน้าตาของนักแสดง มันทำให้เราคิดว่าเป็นการปล้นผ้าเหลือง เอาศาสนามาทำอ่ะไรในเรื่องไม่ดีหรือป่าว เป็นการใช้พร๊อบได้ดี ด้านซ้ายมือล่างเป็นวัดยิ่งชัดเจนเข้าไปใหญ่ว่าเป็นเรื่องของศาสนาแน่นอน ในเรื่องความสมดุลของภาพ มองแล้วเกิดความสบายตา ไม่รกรุงรัง แต่ในความรู้สึกของผมแล้วอยากให้แบล็คกราวด้านหลังของนักแสดงควรเป็นสีดำ เพราะสีดำอาจสื่อของคำว่าความชั่วได้มากกว่าสีขาว หรือด้านล่างก็ควรเป็นสีดำ อาจเปลี่ยนจากควันสีขาวเป็นควันสีดำน่าจะดีกว่าครับ อาจสรุปในหัวข้อรูปภาพได้ว่ามีความชัดเจนเล่นสีของสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้ชัดเจน การวางรูปแบบวางได้ดี มีความสมดุล เกิดความสบายตาในการมองครับในเรื่องตัวอักษร พร้อนคำว่า นาคปรก หามาได้เป็นอย่างดี ควรเป็นพร้อนไทย ซึ่งมีลักษณะแบบนี้ดีแล้ว เพราะหากเป็นพร้อนการ์ตูนคงดูแล้วขัดต่อภาพมากครับ ด้วยขนาดของโปสเตอร์แล้วคำว่า นาคปรก เน้นชัดเจนได้เป็นอย่างดี และสีก็ยังเข้ากับภาพรวมในโปสเตอร์อีกด้วย “ปล้นผ้าเหลืองอำพรางตัว ซ่อนความชั่วใต้ความดี” บทความที่ติดไว้บนโปสเตอร์เป็นบทความที่อ่านแล้วผมรู้สึกว่า มันดีอ่ะครับ มันเจ๋ง มันกินใจ ขนาดของตัวอักษร และการจัดวางในตำแหน่งของบทความก็สามารถทำได้ดีครับ รายชื่อของนักแสดงมุมบนขวา บอกไว้ 3 คน วันที่ฉาย ด้านล่างคำว่า นาคปรก ขนาดของตัวอักษรดีครับ เพราะเมื่อเมื่อคนมองผ่านไปมาต้องเห็นชื่อภาพยนตร์มาก่อนชื่อนักแสดง วันที่ฉาย หรือสปอนเซอร์ด้านล่างอยู่แล้วครับ ภาพรวมของตัวอักษรทั้งหมดในโปสเตอร์ภาพยนตร์นาคปรกนี้ มีการจัดวางตัวอักษร รูปแบบตัวอักษร ระยะห่างของตัวอักษร การใช้คำ การเน้นความชัดเจน อ่านสบายตา ได้เป็นอย่างดีครับภาพรวมของโปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่องนาคปรก เป็นการออกแบบโปสเตอร์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาพ การเน้นสีภาพเพื่อเกิดความโดดเด่น สีหน้านักแสดง การวางพร๊อบ รูปแบบตัวอักษร การเน้นสีตัวอักษร เป็นการออกแบบที่วางภาพ ตัวอักษร ได้อย่างสมดุล เมื่อมองเห็นแล้วเกิดความสบายตา หากมองลึกลงไปในตัวของเนื้อหา แน่นอนว่าโปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องกระตุ้นให้ผู้พบเห็นเกิดความตัดสินใจไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างแน่นอน เพราะทุกคนคงเห็น สงสัย และงงไปพร้อมๆกันว่า ทำไมพระถึงใส่กุญจมือ และมีปืน พร้อมกับประโยคที่ชวนคิดที่ว่า “ปล้นผ้าเหลืองอำพรางตัว ซ่อนความชั่วใต้ความดี” นี่แหละครับเป็นโปสเตอร์ที่ผมชอบ และแน่นอนว่าผมก็ไม่พลาดที่ไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้เหมือนกัน
ขอขอบคุณรูปภาพจาพ http://movie.kapook.com/view8875.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น