วงมโหรี
วงมโหรีวงเล็กมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับจากวงมโหรีเครื่องสี่ในสมัยสุโขทัยเป็นมโหรีเครื่องหกในสมัยอยุธยาและสันนิษฐานว่า วงมโหรีวงเล็กน่าจะได้รับการพัฒนาขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยการนำวงปี่พาทย์เครื่องห้ามาประสมกับวงเครื่องสายวงเล็กแล้วนำซอสามสายจากวงมโหรีเครื่องหก ในสมัยอยุธยาเพิ่มเข้าไป จึงกลายเป็นวงมโหรีวงเล็กอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้เครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงมโหรีวงเล็ก ประกอบด้วย
1. ซอสามสาย 1 คัน ทำหน้าที่คลอเสียงผู้ขับร้อง และบรรเลงดำเนินทำนองร่วมในวง
2. ซอด้วง 1 คัน ดำเนินทำนองโดยเก็บบ้าง หวานบ้าง
3. ซออู้ 1 คัน ดำเนินทำนองเป็นเชิงหยอกล้อยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง
4. จะเข้ 1 ตัว ดำเนินทำนองโดยเก็บบ้าง รัวบ้าง และเว้นห่างบ้าง
5. ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา ดำเนินทำนองเก็บบ้าง โหยหวนบ้าง
6. ระนาดเอก 1 ราง ดำเนินทำนองเก็บบ้าง กรอบ้าง ทำหน้าที่เป็นผู้นำวง
7. ฆ้องวง (เรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี) 1 วง ดำเนินทำนองเนื้อเพลงเป็นหลักของวง
8. โทน 1 ลูก รำมะนา 1 ลูก ตีสอดสลับกัน ควบคุมจังหวะหน้าทับ
9. ฉิ่ง 1 คู่ ควบคุมจังหวะย่อย แบ่งให้รู้จังหวะหนักเบา
วงมโหรีเครื่องคู่ เกิดจากการนำวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มาบรรเลงรวมกับวงเครื่องสายเครื่องคู่ ซึ่งตามประวัติวงปี่พาทย์เครื่องคู่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ดังนั้นวงมโหรีเครื่องคู่จึงน่าจะเกิดขึ้นในสมัยนี้เช่นเดียวกัน เครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงมโหรีเครื่องคู่ ประกอบด้วย
- ซอสามสาย 1 คัน หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
- ซอสามสายหลีบ 1 คัน บรรเลงร่วมกับเครื่องดำเนินทำนองอื่น ๆ
- ซอด้วง 2 คัน หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
- ซออู้ 2 คัน หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
- จะเข้ 2 ตัว หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
- ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
- ขลุ่ยหลีบ 1 เลา ดำเนินทำนองเก็บบ้าง โหยหวนบ้าง สอดแทรกทำนองเล่นล้อไปทางเสียงสูง
- ระนาดเอก 1 ราง หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
- ระนาดทุ้ม 1 ราง ดำเนินทำนองเป็นเชิงหยอกล้อยั่วเย้าให้เกิดอารมณ์ครึกครื้น
- ฆ้องวง 1 วง หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
- ฆ้องวงเล็ก 1 วง ดำเนินทำนองเก็บถี่ ๆ บ้าง สะบัดบ้าง สอดแทรกทำนองไปทางเสียงสูง
- โทน 1 ลูก รำมะนา 1 ลูก หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
- ฉิ่ง 1 คู่ หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
- ฉาบเล็ก 1 คู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น