วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

นาฏยศัพท์

 


นาฏยศัพท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่าง ๆ[1] "นาฏย" หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร "ศัพท์" หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา

การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโขน ละคร หรือระบำเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ก็ดี ท่าทางที่ผู้แสดงแสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ ยิ่งหากได้ศึกษาอย่างดีแล้ว อาจทำให้เข้าใจในเรื่องการแสดงมากยิ่งขึ้นทั้งในตัวผู้แสดงเอง และผู้ที่ชมการแสดงนั้น ๆ สิ่งที่เข้ามาประกอบเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยนั้นก็คือ เรื่องของนาฏยศัพท์ ซึ่งแยกออกได้เป็นคำว่า "นาฏย" กับคำว่า "ศัพท์" ดังนี้

นาฏยภาษา

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. นามศัพท์
หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลับมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กะเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่
2. กิริยาศัพท์
หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็น
  • ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น
  • ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัวและแก้ไขท่าทีของตนให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ
3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด
หมายถึง ศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์นอกเหนือไปจากนามศัพท์และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ - พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง

นาฏยภาษา

นาฏยภาษาหรือภาษาท่าทาง เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งที่ทั้งผู้ถ่ายทอดสาร (ผู้รำ) และผู้รับสาร (ผู้ชม) จำเป็นจะต้องเข้าใจตรงกัน จึงจะสามารถเข้าใจในความหมายของการแสดงออกนั้นได้อย่างถูกต้อง

การถ่ายทอดภาษาด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้ ชาวสยามเรารู้จักใช้และเข้าใจกันมานานแล้ว จึงทำให้ภาษาการฟ้อนรำนี้พัฒนาด้วยกระบวนการทางอารยธรรมจนกลายเป็น "วิจิตรศิลป์" ดังนั้น อารยชนผู้ที่จะสามารถเข้าใจในภาษาท่าทางเหล่านี้ก็จะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกับผู้รำเสียก่อน จึงจะสามารถดูละครรำของไทย



https://www.youtube.com/watch?v=r9DWjkOBASo  นาฏยศัพท์


นาฎยศัพท์หมวดมือ



จีบหงาย




จีบคว่ำ


จีบส่งหลัง



จีบปรกข้าง




จีบปรกหน้า



วงล่าง




วงกลาง



วงบน


นาฏยศัพท์หมวดเท้า





ประเท้า

ประเท้า เป็นการย่อเข่าข้างที่เท้ายืนรับน้ำหนัก ส่วนเท้าอีกข้างหนึ่งวางเหลื่อมข้างที่ยืน โดยวางส้นเท้าติดพื้น และใช้จมูกเท้าแตะพื้นเบาๆแล้วยกขึ้น



ยกเท้า

กิริยาของเท้าที่ยกขึ้นไว้ข้างหน้า สืบเนื่องมาจากการประเท้าการยกเท้าต้องเชิดปลายนิ้วเท้าให้ตึง หักข้อเท้าเข้าหาหน้าแข้ง ตัวพระต้องกันเข่าออกด้านข้าง ตัวนางยกเท้าไว้ด้านหน้า



ก้าวหน้า

กิริยาของเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ที่ก้าวออกมาด้านหน้า โดยวางส้นเท้าลงก่อนถ่ายน้ำหนักตัวลงเต็มฝ่าเท้าข้างที่ก้าว   ย่อตัวลงพร้อมเปิดส้นเท้าหลัง




ก้าวข้าง

กิริยาของเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ที่ก้าวออกมาด้านข้าง  
ตัวนางหลบเข่าเปิดส้นเท้าหลัง เบี่ยงลำตัวตามทิศทางของเท้าข้างที่ก้าว
ตัวพระ ย่อตัวกันเข่าพร้อมเปิดส้นเท้าหลัง



กระทุ้งเท้า


กิริยาสืบเนื่องการเปิดส้นเท้าหลัง ใช้จมูกเท้ายกขึ้นพร้อมกระแทกจมูกเท้าลงกับพื้นเบาๆ




กระดกเท้า

กิริยาสืบเนื่องจากการกระทุ้งเท้า ย่อเข่าทั้งสองข้างลงพร้อมกระดกเท้าขึ้นด้านหลังให้น่องชิดใกล้หลังต้นขา
 หักข้อเท้าเข้าหาหน้าแข้งกระดกปลายนิ้วเท้าเหยียดตึงเข้าหาหลังเท้า ลำตัวตรง


แบบทดสอบสำหรับแก้ผลการเรียน

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564

มหรสพไทย




แบบทดสอบก่อนเรียน

https://docs.google.com/forms/d/1E7ut5zsIZUQJLulQYw0fjv9sQ3bAEp3nNqNihv27XBM/edit?usp=forms_home&ths=true


 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา
หนังใหญ่

หนังใหญ่ คือมหรสพที่แพร่หลายของคนไทยอีกอย่างหนึ่ง ตัวหนังจะใช้แผ่นหนังวัวฉลุเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ และมีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้าง เพื่อให้ตัวหนังตั้งตรงไม่งอ และทำให้มีคันยื่นลงมาใต้ตัวหนังเป็นสองข้างสำหรับจับถือและยกได้ถนัด สถานที่เล่นจะปลูกโรงผ้าใช้ผ้าขาวคาดเป็นจอ ส่วนด้านหลังจอจะจุดไต้และก่อไฟไว้ เพื่อให้แสงทำให้เห็นเงาตัวหนังซึ่งมีลวดลายวิจิตรมาติดอยู่ที่จอผ้าขาว และการเชิดนั้นคนเชิดต้องเต้นไปตามจังหวะดนตรีและบทพากย์บทเจรจาด้วย การแสดงโขนก็ประกอบไปด้วยการพากย์ เจรจา ขับร้อง และการเต้นทำท่าตามบทพากย์ จึงกล่าวได้ว่าโขนนำเอาการพากย์ เจรจา และท่าทางการเต้นการแสดงมาจากหนังใหญ่

ปัจจุบันเหลือคณะหนังใหญ่อยู่ทั้งหมด 3 คณะได้แก่

  1. หนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี
  2. หนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง
  3. หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี












ประวัติหุ่นกระบอกไทย



  การแสดงอย่างหนึ่งของไทย ซึ่งมีมาแต่โบราณ คือ การแสดงหุ่น เป็นมหรสพอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ

 โดยหุ่นไทย จะมีด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้

หุ่นหลวง 

        หุ่น รุ่นเก่าเรียกกันตามขนาดว่า "หุ่นใหญ่" ซึ่งเป็นชื่อภายหลังที่เกิดหุ่นขนาดเล็ก ที่เรียกว่า

 "หุ่นหลวง" เพราะเป็นของเจ้านายหรือในวังหลวง หุ่นหลวงมีขนาดสูงราว ๑ เมตร มีลำตัว แขน ขา

 และแต่งตัวเช่นเดียวกับละคร  ภายในตัวหุ่นทำสายโยงติดกับอวัยวะของตัวหุ่น และปล่อยเชือกลงมา

รวมกันที่แกนไม้ส่วนล่าง เพื่อใช้ดึงบังคับให้เคลื่อนไหวได้แม้กระทั่งลูกตา  หุ่นรุ่นเก่าสุดมีปรากฏ

 หลักฐานว่า อยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นอกจากนั้นยังเล่ากันสืบต่อมา

ว่า ทรงฝากฝีพระหัตถ์การทำหน้าหุ่นหลวงไว้คู่หนึ่ง เรียกกันว่า "พระยารักน้อย พระยารักใหญ่"

หุ่นหลวงนั้นแสดงเรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับละครในที่ให้นางในเป็นผู้แสดงทั้งตัวพระตัวนาง

 มีเรื่องรามเกียรติ์ เรื่องอุณรุทธ เป็นต้น ลีลาการแสดงก็ไม่แตกต่างจากละคร  ในการเล่นหุ่นมีการขับร้อง

และการบรรเลง ดนตรีประกอบ คือ มีวงปี่พาทย์อันประกอบด้วยระนาด ฆ้องวง เปิงมาง กลองใหญ่

 กลองกลาง กลองเล็ก ฉิ่ง ฉาบ ตะโพน บางแห่งมีวงปี่พาทย์ถึง ๒ วง คนเจรจา ๔ คน หรือ ๕ คน

 ต่างคนต่างฟังต่างดูกัน จึงเข้าใจเรื่องราวและชักหุ่นออกท่าทางพร้อมการเจรจาไปด้วยกันได้ดี



หุ่นเล็ก 

        เป็นหุ่นซึ่งประดิษฐ์ใหม่โดย กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุล

จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้น ๒ ชนิด คือ หุ่นไทย กับ หุ่นจีน ขนาดของตัวหุ่นสูง ๑ ฟุต 

ซึ่งเล็กกว่าหุ่นหลวงมาก แต่มีความประณีตงดงามเช่นกัน


หุ่นจีน  เป็นตัวละครของเรื่องซวยงัก และเคยเล่นเรื่องหลวงจีนเจ้าชู้ มีลักษณะเป็นหุ่นมือ โดยมีลำคอ

ใหญ่ เพื่อให้สามารถสอดนิ้วชี้เข้าไปภายในได้ หน้าหุ่นเขียนสีต่างๆ ตามลักษณะของหน้างิ้ว

 ครั้งที่สร้างหุ่นจีนนี้ขึ้น คงจะมีจำนวนมาก เพราะจะต้องใช้เป็นตัวละครต่างๆ พร้อมทั้งพวกพลทหารด้วย

 แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น คือ ๑๓๗ ตัว  ยังรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 

และคงเคยเล่นมาหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องสามก๊กด้วย  สำหรับเรื่องหลวงจีนเจ้าชู้นี้ กรมพระราชวัง

บวรวิไชยชาญทรงพระราชนิพนธ์บทด้วยพระองค์เองเป็นภาษาไทย

หุ่นไทย  มีขนาดเท่าหุ่นจีน แต่แต่งเครื่องแบบไทย โดยมากเป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ทั้งหมด 

 ลักษณะของหุ่น เป็นสายใยชักได้ จีงมีทั้งศีรษะ แขน ขา สมบูรณ์ทุกอย่าง  สายใยจะโยงไปตาม

อวัยวะต่างๆ และมีก้านไม้อยู่ตรงกันของตัวหุ่นเพื่อใช้มือถือเชิด และยังมีถุงคลุมก้านไม้นั้นไว้

พร้อมทั้งสายใยด้วย  หุ่นไทยเท่าที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเพียง ๕๓ ตัว 

 โรงหุ่นก็จะคล้ายโรงหุ่นใหญ่

 มีวงปี่พาทย์ประกอบ



หุ่นกระบอก 

        มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยหม่อมราชวงศ์เถาะพยัคฆเสนา มีประวัติกล่าวไว้ว่า ได้แนวความคิด

มาจากหุ่นของช่างแกะชื่อ เหน่ง ซึ่งทำเล่นอยู่ก่อนที่เมืองอุตรดิตถ์ และนายเหน่งก็ลอกแบบมาจากหุ่น

ไหหลำ แต่ประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นแบบไทย กระบวนร้องในการเชิดหุ่นใช้ทำนอง สังขารา

การเล่นหุ่นกระบอก ก็คล้ายละคร แต่ใช้หุ่นแทนคนจริง  ผู้เชิดหุ่นจะต้องรู้วิธีบังคับตัวหุ่น โดยมือหนึ่ง

จับกระบอกไม้ไผ่ อีกมือหนึ่งจับไม้ที่ตรึงไว้กับข้อมือหุ่น เรียกว่า "ไม้ตะเกียบ" เวลาเชิด

 ผู้เชิดมักจะขยับตัวตามจังหวะดนตรีไปด้วย พร้อมกันนั้นก็บังคับหุ่นให้อ่อนไหวกล่อมตัวตามไปด้วย  

การทำท่าอ่อนช้อย เลียนแบบละครรำอย่างแนบเนียน ย่อมเกิดจากความสามารถของคนเชิดหุ่น 

ไม่ว่าจะกล่อมตัว กระทบตัว เชิดย้อนมือ โยกตัว และรำเพลง  หุ่นกระบอกจะมีผ้าคลุมตัวลงมา

จากช่วงไหล่ ยาวเลยปลายไม้กระบอกด้านล่าง ผู้เชิหุ่นจึงสามารถซ่อนมือไว้ภายในได้

 การร้องและเจรจา ผู้เชิดหุ่นที่เป็นสตรีมักจะร้องและเจรจาด้วย นอกจากตัวตลกหรือตัวอื่นๆ

 มักใช้ผู้ชาย แต่การขับร้องดำเนินเรื่องแล้วจะใช้เสียงผู้หญิงทั้งหมด พร้อมกันนั้นลูกคู่ก็จะรับกัน

ให้เสียงแน่นและเป็นช่วงๆ



หุ่นละครเล็ก 

        หรือเรียกว่า ละครเล็ก มีขนาดเล็กกว่าหุ่นหลวง เดิมเป็นของนายแกร ศัพทวานิช คณะหนึ่ง 

กับของนายเปียก ประเสริฐกุล อีกคณะหนึ่ง ละครเล็กของนายแกร  มีมาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. ๒๔๖๕

 นิยมเล่นเรื่องพระอภัยมณีและเรื่องอื่นๆ บ้าง  ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง ๓๐ กว่าตัว และได้รับการรักษาไว้

ที่เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ใช้คนเชิด ๓ คน เพราะใช้ส่วนขาเคลื่อนไหวด้วย

 โดยเฉพาะตัวยักษ์ พระ ลิง แต่ตัวนางใช้คนเชิด ๒ คน แสดงทั้งตัว โดยใช้ขาประกอบการร่ายรำด้วย

 จึงต้องมีกลไกสายใยมาก ทำให้สามารถขยับคอ นิ้วมือ และยกขาได้ แต่ก็ไม่แนบเนียนและซับซ้อน

เท่าหุ่นหลวง ละครเล็กของนายเปียก  เริ่มเล่นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ เดิมนายเปียกมีโรงหุ่นกระบอกก่อน 

ต่อมาอีก ๑๕ ปี จึงได้คิดสร้างหุ่นละครเล็กขึ้น โดยอาศัยแบบอย่างของหุ่นกระบอก แต่ว่าตัวใหญ่กว่า

หุ่นกระบอก จะมีแต่ลำตัว ศีรษะ แขน มือเท่านั้น ไม่มีขา ใช้คนเชิดคนเดียวและมีวิธีการเชิดเช่นเดียวกับหุ่นกระบอก

https://sites.google.com/site/otop112/prawati-hun-krabxk-thiy


หุ่นละครเล็ก







                                                             หุ่นกระบอก





                                                               โขนฉาก



หุ่นหลวง

หุ่นละครเล็กคณะโจหลุยส์






https://www.youtube.com/watch?v=oFwUrnjceMY  หุ่นเล็กหรือหุ่นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

แบบทดสอบหลังเรียน

 https://docs.google.com/forms/d/1BTi5JeCyUMElxnGZqeWm9xPDp4lj1yUFHWbqw3zc1rE/edit

ศ 21201 ศิลปะเพิ่มเติม เรื่องการเป่าขลุ่ย รีคอร์เดอร์เบื้องต้น

 การเป่าขลุ่ย รีคอร์เดอร์เบื้องต้น

ขลุ่ยรีคอร์เดอร์

รีคอร์เดอร์ (Recorder ) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ นิยมเล่นมากในศตวรรษที่ 16 และ 17 และได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ รีคอร์เดอร์มีรูสำหรับใช้นิ้วเปิด ปิด รู ลำตัวจะเป็นทรงกรวย เดิมทำด้วยไม้ ในยุคหลังมีการใช้วัสดุอื่นมาผลิตแทนไม้ เช่น
พลาสติก หรือเรซิน มีปากเป่าลักษณะเหมือนกับนกหวีด คุณภาพของเสียงของรีคอร์เดอร์ จะนุ่มนวลบางเบา สดใสจัดอยู่ในตระกูล
ขลุ่ยรีอคร์เดอร์ มีทั้งหมด 10 ระดับเสียง แต่มีเพียง 6 ระดับเสียงที่นำมาใช้กันมาก (ดังภาพที่ 2 และ 3) ได้แก่
1. Sopranino มีความยาว 9 นิ้ว เป็นขลุ่ยที่เล็กที่สุด และมีระดับเสียงที่สูงที่สุด
2. Soprano หรือ Descant มีความยาว 12 นิ้ว ใช้ในการเล่นทำนอง
3. Alto บางครั้งเรียกว่า The Treble มีความยาว 18 นิ้วครึ่ง
4. Tenor มีความยาวประมาณ 25 นิ้วครึ่ง
5. Bass มีความยาว 3.6 นิ้ว
6. Contra Bass มีความยาว 49 นิ้ว
และขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่นิยมเป่ากันทั่วไป คือ โซปราโน รีคอร์เดอร์ (Soprano Recorder)
ส่วนขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ไม่ค่อยนิยมใช้ในการบรรเลง คือ recorder Big Bass และRecorder Sopranino
การจับขลุ่ยรีคอร์เดอร์
เวลาบรรเลงให้ใช้มือซ้ายจับลำตัวขลุ่ยรีคอรเดอร์ส่วนบน โดยนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง แทนด้วยตัวเลข 1 2 และ 3 ตามลำดับ นิ้วหัวแม่มือปิดที่รูด้านหลัง ส่วนมือขวาจับลำตัว ส่วนล่างของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยจะใช้ 4 นิ้ว คือนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยแทนด้วยตัวเลข 1 2 3 และ 4 ตามลำดับนิ้วหัวแม่มือขวาใช้ประคองขลุ่ยไว้
การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์
เม้มริมฝีปากเบา ๆ อมปากขลุ่ยรีคอร์เดอร์เล็กน้อย เป่าลมเข้าเบา ๆ ก็จะเกิดเสียงตามต้องการ เมื่อจะเป่าเสียงสูงต้องเม้มริมฝีปากให้เน้นขึ้นแล้วเป่าลมแรง ส่วนการเป่าเสียงต่ำจะค่อย ๆ ผ่อนริมฝีปากออกแล้วเป่าลมเบา ๆ การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์มีวิธีเป่าหลายวิธี เช่น การเป่าโดยใช้ลิ้นเพื่อให้เสียงหนักแน่นและเสียงขาดจากกันเป็นตัว ๆ หรือการเป่าโดยใช้ลมเพื่อให้เลื่อนไหลติดต่อกัน เป็นต้น ผู้ฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ควรฝึกการควบคุมลม ให้ลมที่เป่ามีความสม่ำเสมอโดยการเป่าออกเสียงให้ตำแหน่งลิ้นเหมือนพูดคำว่า ทู “Too” และใช้ลมเป่า พอประมาณ ไม่เป่าด้วยลมที่แรงหรือลมที่เบาเกินไป ซึ่งพอจะสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1. วางตำแหน่งนิ้วให้ถูกต้อง ประคองขลุ่ยให้ทำมุมกับลำตัวเป็นมุม 45 องศา
2.ใช้มือซ้ายวางนิ้วอยู่ส่วนบนของขลุ่ย และมือขวาวางนิ้วอยู่ส่วนล่างของขลุ่ย
3.วางปากขลุ่ยระหว่างริมฝีปากบนและล่าง เม้มริมฝีปากอมปากขลุ่ยเล็กน้อย
4.ขณะที่เป่าโน้ตพยายามปิด “ รู ” ให้สนิท ยกนิ้วขึ้นลงอย่างรวดเร็ว
ตามการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียง
5.อย่ากัดปากขลุ่ย ( Mouth piece ) ขณะที่เป่า
6.ควบคุมลมหายใจ อย่าเป่าลมแรงเกินไปเพราะจะทำให้เสียงเพี้ยน (ผิด) จงจำไว้ว่า เสียงที่ถูกต้องจะต้องเกิดจากการเป่า และพยายามสังเกตด้วยว่าเวลาเป่าเสียงต่ำ ควรจะเป่าลมเบา ๆ เสียงสูงควรจะเป่าลมแรง ๆ ตามระดับตัวโน้ต
7.ควรสังเกตในการวางท่าในการเป่า ทั้งยืนและนั่ง ให้สง่างาม หลังตรง เพราะจะช่วยในการควบคุมลมที่เป่าได้ด้วย
8.ควรฝึกเป่าขลุ่ยเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์เดอร์
หลังจากการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์แล้ว ผู้เป่าควรปฏิบัติดังนี้
1.นำขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำอุ่นที่ผสมสบู่อ่อน ๆ ทุกครั้งหลังการใช้งาน
2.การประกอบหรือถอดขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ควรถอดข้อต่อด้วยการค่อย ๆ หมุนออกตามแนวเข็มนาฬิกา ท่อนส่วนหัว(Head Joint) ที่ล้างสะอาดแล้ว ควรเช็ดด้วยผ้านุ่ม ๆ ที่สะอาด
ห้ามใช้การสะบัดให้แห้ง เพราะขลุ่ยรีคอร์เดอร์อาจแยกหลุดออกจากกัน หรือหล่นแตกได้ง่าย
3. การทำความสะอาดส่วนกลาง (Middle Joint) และส่วนท้าย (Foot Joint) โดยวิธีใช้
ผ้านุ่มที่สะอาดเช็ด และการถอดข้อต่อออกจากกัน อาจใช้ไม้หรือแท่งพลาสติกทำความสะอาด โดยสอดผ้าเข้าไปเช็ดข้างในตัวขลุ่ยให้สะอาด
4.เมื่อเห็นว่าแห้งที่แล้ว ควรทาวาสลินที่บริเวณข้อต่อต่าง ๆ เพื่อง่ายต่อการประกอบเข้าด้วยกัน และไม่แน่นเกินไปเมื่อจะถอดออกมาทำความสะอาดในครั้งต่อไป
5.ควรเก็บใส่ซองเก็บ หรือกล่องที่ติดมากับตัวเครื่อง เพื่อความเป็นระเบียบ ฝุ่นไม่เกาะ เล้วนำไปเก็บในตู้ หรือบริเวณที่เก็บเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย
ประโยชน์ของการดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์เดอร์
เครื่องดนตรีสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อผู้เป่า
เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องดนตรี
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การปฏิบัติขุล่ยรีคอร์เดอร์ตอนที่ 1

ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) เป็นเครื่องดนตรีสากลจัดอยู่ในประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ปัจจุบันนิยมทำด้วยพลาสติกสีขาว ทำให้เกิดเสียงได้โดยการเป่าลมเข้าไปยังปากที่รูของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่ว ๆ ไป ราคาไม่แพงมากนัก จะอยู่ประมาณ 25 - 100 บาท แล้วแต่ยี่ห้อและประเภท แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปราคาไม่แพงคือ ยี่ห้อ King

รูปร่างลักษณะของขลุ่ยรีคอร์เดอร์

ลักษณะทั่วไปแบ่งเป็น ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้าย ลักษณะทั่วไปด้านหน้ามี รู รูที่ และ แบ่งเป็น รูเล็กๆ ด้านหลังมี รู (ดูรูปภาพประกอบ)



วิธีการดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์เดอร์

การดูแลรักษาและทำความสะอาดขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ถูกต้อง จะช่วยให้อายุการใช้งานขลุ่ยรีคอร์เดอร์ได้นานขึ้น ผู้เล่นควรดูแลรักษาดังนี้ คือ

1. หลังจากเลิกปฏิบัติแล้วให้ถอดข้อต่อของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ออกจากกันเป็น ท่อน (ห้ามสะบัดเพื่อเอาน้ำลายออกเพราะอาจทำให้ส่วนประกอบทั้ง ส่วนหลุดออกจากกันและหล่นแตกได้) จากนั้นให้นำแต่ละส่วนไปล้างด้วยน้ำอุ่นผสมด้วยสบู่อ่อน ๆ หรือล้างด้วยน้ำสะอาด

2. ใช้ผ้านุ่มเช็ดทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ อาจใช้ผ้าคลุมไม้สอดเข้าไป ในขลุ่ยรีคอร์เดอร์เพื่อทำความสะอาดขลุ่ยรีคอร์เดอร์

3. เมื่อเช็ดจนแห้งดีแล้ว ควรใช้วาสลินทาตรงบริเวณข้อต่อ เพื่อให้ง่ายต่อการประกอบเข้าและถอดออก

4. ควรเก็บใส่ซองหรือกล่องที่ติดมากับตัวเครื่องให้เป็นระเบียบ และจัดเก็บวางไว้ในบริเวณที่ไม่ตกหล่น

5. ไม่ควรใช้ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ร่วมกับผู้อื่น

ตำแหน่งนิ้วและตำแหน่งเสียงของขลุ่ยรีคอร์เดอร์

1. การจับขลุ่ยรีคอร์เดอร์

1.1 มือขวาอยู่ด้านล่าง โดยให้นิ้วก้อยอยู่ตำแหน่งรูปิดหมายเลข นิ้วนางรูปิดหมายเลข นิ้วกลางรูปิดหมายเลข และนิ้วชี้รูปิดหมายเลข ส่วนนิ้วหัวแม่มือให้จับอยู่ด้านล่างเพื่อประคองขลุ่ยรีคอร์เดอร์ไว้ไม่ให้ตกหล่น

1.2 มือซ้ายอยู่ด้านบนของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ด้านปากเป่า โดยให้นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือปิดที่รูปิดหมายเลข 5, 6, 7 และ ตามลำดับ (ดูภาพประกอบ)






การเปิดปิดนิ้ว สีดำปิดนิ้ว สีขาวเปิดนิ้ว




คลิปการฝึกปฎิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ขั้นเบื้องต้น 

(ครูผู้บรรยาย ครูเพลิน   ประธรรมสาร)




 คลิปการฝึกเป่าเพลง Twingel littel star


                                       https://www.youtube.com/watch?v=ySyPR4A4UlE







นาฎศิลป์ไทยประเภทต่างๆ ม.๑



ประเภทของการแสดงนาฏศิลป์

ประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดง เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้   ๔  ประเภท คือ  โขน  ละคร  รำ  ระบำ  และนาฏศิลป์พื้นเมือง  ดังนี้




            ๑. โขน  หมายถึง  เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่าโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งกายเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่า การแต่งกายแบบ “ยืนเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะงานพิธีสำคัญ ได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ


        


    ๒. ละคร  หมายถึง  เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่าทาง เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอกและละครใน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา   อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งกายแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์



            ๓. รำและระบำ  หมายถึง   เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดย ไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขปดังนี้

                  ๓.๑  รำ  หมายถึง    ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ ๑-๒ คน  เช่นการรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งกายตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบท    ขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ  เช่น  รำเพลงช้า – เพลงเร็ว  รำแม่บท  รำเมขลา – รามสูร  เป็นต้น

                  ๓.๒  ระบำ  หมายถึง  ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งกายคล้ายคลึงกัน กระบวนท่าร่ายรำคล้ายคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งกายนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระ – นางหรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่ง



            ๔. การแสดงพื้นเมือง  หมายถึง  เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ  ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ในเริ่มแรกนั้นเข้าใจว่าคงปรากฏในรูปแบบ  การละเล่น หมายถึง  การเล่นดนตรี การเล่นเพลง  การเล่นรำ ส่วนการเล่นที่ต้องร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เรียกว่า มหรสพหรือศิลปะการแสดงพื้นเมือง ซึ่งหมายถึง สิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ 

            ต่อมามีวิวัฒนาการเป็นการละเล่นพื้นเมือง หมายถึง การแสดงใด ๆ อันเป็นประเพณีนิยมในท้องถิ่นและเล่นกันใน ระหว่างประชาชน เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงตามฤดูกาล การแสดงต้องเป็นไปอย่างมีวัฒนธรรม มีความเรียบร้อย ใช้ถ้อยคำสุภาพ แต่งกายสุภาพถูกต้องตามความนิยมและวัฒนธรรม เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น สถานที่ก็ต้องจัดให้เหมาะสมกับโอกาสที่จะแสดง ซึ่งการละเล่นพื้นเมือง จะไม่เป็นอาชีพหรือเพื่อหารายได้ จะมีดนตรีหรือการขับร้อง หรือการฟ้อนรำประกอบก็ได้  การละเล่นพื้นเมือง   แบ่งเป็น ๒ ประเภท  คือ  เพลงพื้นเมือง  และการแสดงพื้นเมือง  ดังนี้

                  ๔.๑  เพลงพื้นเมือง  หมายถึง  เพลงที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ ประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลง ไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดในท้องถิ่นของตน นิยมร้องเล่นกันในเทศกาลหรืองานที่มีการชุมนุมรื่นเริง   เช่น   ตรุษสงกรานต์   ขึ้นปีใหม่   ทอดกฐิน   ทอดผ้าป่า   และในการลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เป็นการเล่นที่สืบต่อกันมาเนื้อความของเพลงพื้นเมืองที่นิยมร้องกัน มักจะเป็นการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง ปะทะคารมกัน ในด้านสำนวนโวหาร สิ่งสำคัญของการร้องคือ การด้นกลอนสด ร้องแก้กันด้วยปฏิภาณไหวพริบ ทำให้เกิดความสนุกสนานทั้งสองฝ่าย

                   ๔.๒  การแสดงพื้นเมือง  หมายถึง การละเล่นที่มีการแสดงการร่ายรำ  มีเพลงดนตรีประกอบ   ที่ได้วางเป็นแบบแผน และนิยมเล่นหรือถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนแพร่หลายการแสดงพื้นเมือง อาจเกิดจากการบูชาบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์   เช่น   ขอให้สิ่งที่ตนนับถือประทานสิ่งที่ตนปรารถนา หรือขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่ปรารถนา  นอกจากนี้ ก็เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงรื่นเริง  การแสดงพื้นเมืองสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้  ๔ ภาค  ดังนี้

                           ๔.๒.๑  การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ

                           ๔.๒.๒  การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

                           ๔.๒.๓  การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

                           ๔.๒.๔  การแสดงพื้นเมืองภาคใต้


วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ประวัตินาฏศิลป์ไทย ม.๑

 

แบบทดสอบก่อนเรียน

https://docs.google.com/forms/d/1cm4QA_7MT-zkuQCKUp1pDBypIt6D8FswYOT697TNdpw/edit


         นาฏศิลป์ไทย  เกิดมาจากกิริยาท่าทางซึ่งแสดงออกในทางอารมณ์ของมนุษย์ปุถุชน อากัปกิริยาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นมูลเหตุให้ปรมาจารย์ทางศิลปะนำมาปรับปรุงบัญญัติสัดส่วนและกำหนดวิธีการขึ้น จนกลายเป็นท่าฟ้อนรำ โดยวางแบบแผนลีลาท่ารำของมือ เท้า ให้งดงาม รู้จักวิธีเยื้อง ยัก และกล่อมตัว ให้สอดคล้องสัมพันธ์กันจนเกิดเป็นท่ารำขึ้น และมีวิวัฒนาการปรับปรุงมาตามลำดับ จนดูประณีตงดงาม อ่อนช้อยวิจิตรพิสดาร จนถึงขั้นเป็นศิลปะได้

      นอกจากนี้ นาฏศิลป์ไทย ยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้า และตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของ พระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ณ ตำบลจิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้

      ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู นับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนี เรียกว่า คัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสาน และการถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียม มาจนถึงปัจจุบัน   อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฎศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฎราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นท่ารำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไข ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จนนำมาสู่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าทางการร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน

นาฏศิลป์ไทยมีกำเนิดมาจาก
๑. การเลียนแบบธรรมชาติ แบ่งเป็น ๓ ขึ้น คือ ขั้นต้น เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรน ขั้นต่อมา เมื่อคนรู้ความหมายของกิริยาท่าทางมากขึ้น ก็ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็นภาษาสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ เช่น ต้องการแสดงความเสน่หาก็ยิ้มแย้ม กรุ้มกริ่มชม้อยชม้ายชายตา หรือโกรธเคืองก็ทำหน้าตาถมึงทึง กระทืบ กระแทก ต่อมาอีกขั้นหนึ่ง มีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบเรียงสอดคล้อง ติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้เห็นงาม จนเป็นที่ต้องตาติดใจคน
๒. การเซ่นสรวงบูชา มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป การบูชาเซ่นสรวง มักถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพบูชานั้นพอใจ ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงครามปราบข้าศึกศัตรู ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป

๓. การรับอารยธรรมของอินเดีย เมื่อไทยมาอยู่ในสุวรรณภูมิใหม่ๆ นั้น มีชนชาติมอญ และชาติขอมเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทั้งสองนั้นได้รับอารยธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลานาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชนชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ไทยจึงพลอยได้รับอารยธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปะการละคร ได้แก่ ระบำ ละคร

 นาฎศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ ๔ ประเภท คือ

1.โขน

2.ละคร

3.รำและระบำ

4.การแสดงพื้นบ้าน