การแสดงอย่างหนึ่งของไทย ซึ่งมีมาแต่โบราณ คือ การแสดงหุ่น เป็นมหรสพอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ
โดยหุ่นไทย จะมีด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้
หุ่นหลวง
หุ่น รุ่นเก่าเรียกกันตามขนาดว่า "หุ่นใหญ่" ซึ่งเป็นชื่อภายหลังที่เกิดหุ่นขนาดเล็ก ที่เรียกว่า
"หุ่นหลวง" เพราะเป็นของเจ้านายหรือในวังหลวง หุ่นหลวงมีขนาดสูงราว ๑ เมตร มีลำตัว แขน ขา
และแต่งตัวเช่นเดียวกับละคร ภายในตัวหุ่นทำสายโยงติดกับอวัยวะของตัวหุ่น และปล่อยเชือกลงมา
รวมกันที่แกนไม้ส่วนล่าง เพื่อใช้ดึงบังคับให้เคลื่อนไหวได้แม้กระทั่งลูกตา หุ่นรุ่นเก่าสุดมีปรากฏ
หลักฐานว่า อยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นอกจากนั้นยังเล่ากันสืบต่อมา
ว่า ทรงฝากฝีพระหัตถ์การทำหน้าหุ่นหลวงไว้คู่หนึ่ง เรียกกันว่า "พระยารักน้อย พระยารักใหญ่"
หุ่นหลวงนั้นแสดงเรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับละครในที่ให้นางในเป็นผู้แสดงทั้งตัวพระตัวนาง
มีเรื่องรามเกียรติ์ เรื่องอุณรุทธ เป็นต้น ลีลาการแสดงก็ไม่แตกต่างจากละคร ในการเล่นหุ่นมีการขับร้อง
และการบรรเลง ดนตรีประกอบ คือ มีวงปี่พาทย์อันประกอบด้วยระนาด ฆ้องวง เปิงมาง กลองใหญ่
กลองกลาง กลองเล็ก ฉิ่ง ฉาบ ตะโพน บางแห่งมีวงปี่พาทย์ถึง ๒ วง คนเจรจา ๔ คน หรือ ๕ คน
ต่างคนต่างฟังต่างดูกัน จึงเข้าใจเรื่องราวและชักหุ่นออกท่าทางพร้อมการเจรจาไปด้วยกันได้ดี
หุ่นเล็ก
เป็นหุ่นซึ่งประดิษฐ์ใหม่โดย กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุล
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้น ๒ ชนิด คือ หุ่นไทย กับ หุ่นจีน ขนาดของตัวหุ่นสูง ๑ ฟุต
ซึ่งเล็กกว่าหุ่นหลวงมาก แต่มีความประณีตงดงามเช่นกัน
หุ่นจีน เป็นตัวละครของเรื่องซวยงัก และเคยเล่นเรื่องหลวงจีนเจ้าชู้ มีลักษณะเป็นหุ่นมือ โดยมีลำคอ
ใหญ่ เพื่อให้สามารถสอดนิ้วชี้เข้าไปภายในได้ หน้าหุ่นเขียนสีต่างๆ ตามลักษณะของหน้างิ้ว
ครั้งที่สร้างหุ่นจีนนี้ขึ้น คงจะมีจำนวนมาก เพราะจะต้องใช้เป็นตัวละครต่างๆ พร้อมทั้งพวกพลทหารด้วย
แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น คือ ๑๓๗ ตัว ยังรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
และคงเคยเล่นมาหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องสามก๊กด้วย สำหรับเรื่องหลวงจีนเจ้าชู้นี้ กรมพระราชวัง
บวรวิไชยชาญทรงพระราชนิพนธ์บทด้วยพระองค์เองเป็นภาษาไทย
หุ่นไทย มีขนาดเท่าหุ่นจีน แต่แต่งเครื่องแบบไทย โดยมากเป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ทั้งหมด
ลักษณะของหุ่น เป็นสายใยชักได้ จีงมีทั้งศีรษะ แขน ขา สมบูรณ์ทุกอย่าง สายใยจะโยงไปตาม
อวัยวะต่างๆ และมีก้านไม้อยู่ตรงกันของตัวหุ่นเพื่อใช้มือถือเชิด และยังมีถุงคลุมก้านไม้นั้นไว้
พร้อมทั้งสายใยด้วย หุ่นไทยเท่าที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเพียง ๕๓ ตัว
โรงหุ่นก็จะคล้ายโรงหุ่นใหญ่
มีวงปี่พาทย์ประกอบ
หุ่นกระบอก
มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยหม่อมราชวงศ์เถาะพยัคฆเสนา มีประวัติกล่าวไว้ว่า ได้แนวความคิด
มาจากหุ่นของช่างแกะชื่อ เหน่ง ซึ่งทำเล่นอยู่ก่อนที่เมืองอุตรดิตถ์ และนายเหน่งก็ลอกแบบมาจากหุ่น
ไหหลำ แต่ประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นแบบไทย กระบวนร้องในการเชิดหุ่นใช้ทำนอง สังขารา
การเล่นหุ่นกระบอก ก็คล้ายละคร แต่ใช้หุ่นแทนคนจริง ผู้เชิดหุ่นจะต้องรู้วิธีบังคับตัวหุ่น โดยมือหนึ่ง
จับกระบอกไม้ไผ่ อีกมือหนึ่งจับไม้ที่ตรึงไว้กับข้อมือหุ่น เรียกว่า "ไม้ตะเกียบ" เวลาเชิด
ผู้เชิดมักจะขยับตัวตามจังหวะดนตรีไปด้วย พร้อมกันนั้นก็บังคับหุ่นให้อ่อนไหวกล่อมตัวตามไปด้วย
การทำท่าอ่อนช้อย เลียนแบบละครรำอย่างแนบเนียน ย่อมเกิดจากความสามารถของคนเชิดหุ่น
ไม่ว่าจะกล่อมตัว กระทบตัว เชิดย้อนมือ โยกตัว และรำเพลง หุ่นกระบอกจะมีผ้าคลุมตัวลงมา
จากช่วงไหล่ ยาวเลยปลายไม้กระบอกด้านล่าง ผู้เชิหุ่นจึงสามารถซ่อนมือไว้ภายในได้
การร้องและเจรจา ผู้เชิดหุ่นที่เป็นสตรีมักจะร้องและเจรจาด้วย นอกจากตัวตลกหรือตัวอื่นๆ
มักใช้ผู้ชาย แต่การขับร้องดำเนินเรื่องแล้วจะใช้เสียงผู้หญิงทั้งหมด พร้อมกันนั้นลูกคู่ก็จะรับกัน
ให้เสียงแน่นและเป็นช่วงๆ
หุ่นละครเล็ก
หรือเรียกว่า ละครเล็ก มีขนาดเล็กกว่าหุ่นหลวง เดิมเป็นของนายแกร ศัพทวานิช คณะหนึ่ง
กับของนายเปียก ประเสริฐกุล อีกคณะหนึ่ง ละครเล็กของนายแกร มีมาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. ๒๔๖๕
นิยมเล่นเรื่องพระอภัยมณีและเรื่องอื่นๆ บ้าง ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง ๓๐ กว่าตัว และได้รับการรักษาไว้
ที่เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ใช้คนเชิด ๓ คน เพราะใช้ส่วนขาเคลื่อนไหวด้วย
โดยเฉพาะตัวยักษ์ พระ ลิง แต่ตัวนางใช้คนเชิด ๒ คน แสดงทั้งตัว โดยใช้ขาประกอบการร่ายรำด้วย
จึงต้องมีกลไกสายใยมาก ทำให้สามารถขยับคอ นิ้วมือ และยกขาได้ แต่ก็ไม่แนบเนียนและซับซ้อน
เท่าหุ่นหลวง ละครเล็กของนายเปียก เริ่มเล่นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ เดิมนายเปียกมีโรงหุ่นกระบอกก่อน
ต่อมาอีก ๑๕ ปี จึงได้คิดสร้างหุ่นละครเล็กขึ้น โดยอาศัยแบบอย่างของหุ่นกระบอก แต่ว่าตัวใหญ่กว่า
หุ่นกระบอก จะมีแต่ลำตัว ศีรษะ แขน มือเท่านั้น ไม่มีขา ใช้คนเชิดคนเดียวและมีวิธีการเชิดเช่นเดียวกับหุ่นกระบอก
https://sites.google.com/site/otop112/prawati-hun-krabxk-thiy
นาย ศุภโชค กัญญมาสา เลขที่10
ตอบลบนายรัฐภูมิ แวงดงบังเลขที่6
ตอบลบนางสาวเจนจิรา เกื้อทาน เลขที่2
ตอบลบ