วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

นาฏยศัพท์

 


นาฏยศัพท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่าง ๆ[1] "นาฏย" หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร "ศัพท์" หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา

การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโขน ละคร หรือระบำเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ก็ดี ท่าทางที่ผู้แสดงแสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ ยิ่งหากได้ศึกษาอย่างดีแล้ว อาจทำให้เข้าใจในเรื่องการแสดงมากยิ่งขึ้นทั้งในตัวผู้แสดงเอง และผู้ที่ชมการแสดงนั้น ๆ สิ่งที่เข้ามาประกอบเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยนั้นก็คือ เรื่องของนาฏยศัพท์ ซึ่งแยกออกได้เป็นคำว่า "นาฏย" กับคำว่า "ศัพท์" ดังนี้

นาฏยภาษา

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. นามศัพท์
หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลับมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กะเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่
2. กิริยาศัพท์
หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็น
  • ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น
  • ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัวและแก้ไขท่าทีของตนให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ
3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด
หมายถึง ศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์นอกเหนือไปจากนามศัพท์และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ - พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง

นาฏยภาษา

นาฏยภาษาหรือภาษาท่าทาง เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งที่ทั้งผู้ถ่ายทอดสาร (ผู้รำ) และผู้รับสาร (ผู้ชม) จำเป็นจะต้องเข้าใจตรงกัน จึงจะสามารถเข้าใจในความหมายของการแสดงออกนั้นได้อย่างถูกต้อง

การถ่ายทอดภาษาด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้ ชาวสยามเรารู้จักใช้และเข้าใจกันมานานแล้ว จึงทำให้ภาษาการฟ้อนรำนี้พัฒนาด้วยกระบวนการทางอารยธรรมจนกลายเป็น "วิจิตรศิลป์" ดังนั้น อารยชนผู้ที่จะสามารถเข้าใจในภาษาท่าทางเหล่านี้ก็จะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกับผู้รำเสียก่อน จึงจะสามารถดูละครรำของไทย



https://www.youtube.com/watch?v=r9DWjkOBASo  นาฏยศัพท์


นาฎยศัพท์หมวดมือ



จีบหงาย




จีบคว่ำ


จีบส่งหลัง



จีบปรกข้าง




จีบปรกหน้า



วงล่าง




วงกลาง



วงบน


นาฏยศัพท์หมวดเท้า





ประเท้า

ประเท้า เป็นการย่อเข่าข้างที่เท้ายืนรับน้ำหนัก ส่วนเท้าอีกข้างหนึ่งวางเหลื่อมข้างที่ยืน โดยวางส้นเท้าติดพื้น และใช้จมูกเท้าแตะพื้นเบาๆแล้วยกขึ้น



ยกเท้า

กิริยาของเท้าที่ยกขึ้นไว้ข้างหน้า สืบเนื่องมาจากการประเท้าการยกเท้าต้องเชิดปลายนิ้วเท้าให้ตึง หักข้อเท้าเข้าหาหน้าแข้ง ตัวพระต้องกันเข่าออกด้านข้าง ตัวนางยกเท้าไว้ด้านหน้า



ก้าวหน้า

กิริยาของเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ที่ก้าวออกมาด้านหน้า โดยวางส้นเท้าลงก่อนถ่ายน้ำหนักตัวลงเต็มฝ่าเท้าข้างที่ก้าว   ย่อตัวลงพร้อมเปิดส้นเท้าหลัง




ก้าวข้าง

กิริยาของเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ที่ก้าวออกมาด้านข้าง  
ตัวนางหลบเข่าเปิดส้นเท้าหลัง เบี่ยงลำตัวตามทิศทางของเท้าข้างที่ก้าว
ตัวพระ ย่อตัวกันเข่าพร้อมเปิดส้นเท้าหลัง



กระทุ้งเท้า


กิริยาสืบเนื่องการเปิดส้นเท้าหลัง ใช้จมูกเท้ายกขึ้นพร้อมกระแทกจมูกเท้าลงกับพื้นเบาๆ




กระดกเท้า

กิริยาสืบเนื่องจากการกระทุ้งเท้า ย่อเข่าทั้งสองข้างลงพร้อมกระดกเท้าขึ้นด้านหลังให้น่องชิดใกล้หลังต้นขา
 หักข้อเท้าเข้าหาหน้าแข้งกระดกปลายนิ้วเท้าเหยียดตึงเข้าหาหลังเท้า ลำตัวตรง


แบบทดสอบสำหรับแก้ผลการเรียน

4 ความคิดเห็น: