วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

ละครสังคีต

 ละครสังคีต



 ละครสังคีตเป็นละครอีกแบบหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการมาจากละครพูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูด และบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆกัน จะตัดอย่างหนึ่งอย่างใดออกมิได้เพราะจะทำให้เสียเรื่อง


ผู้แสดง ใช้ผู้ชาย และผู้หญิงแสดงจริงตามท้องเรื่อง

การแต่งกาย แต่งแบบสมัยนิยม คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของฐานะตัวละครตามท้องเรื่อง และความงดงามของเครื่องแต่งกาย

เรื่องที่แสดง นิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่ ๔ เรื่อง คือ หนามยอกเอาหนามบ่ง วิวาหพระสมุทร มิกาโด วั่งตี่ มีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ ทรงใช้ชื่อเรียกละครทั้ง ๔ นี้แตกต่างกัน กล่าวคือ ในเรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ทรงเรียกว่า "ละครสลับลำ" เรื่องวิวาหพระสมุทร ทรงเรียก "ละครพูดสลับลำ" เรื่องมิกาโด และวั่งตี่ ทรงเรียก " ละครสังคีต" การที่ทรงเรียกชื่อบทละครทั้ง ๔ เรื่องแตกต่างกันนั้น นายมนตรี ตราโมท และนายประจวบ บุรานนท์ ข้าราชสำนักใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีโอกาสร่วมในการแสดงละครของพระองค์ท่านให้ความเห็นตรงกันว่า เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง และเรื่องวิวาหพระสมุทร น่าจะเป็นเรื่องที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นก่อน ซึ่งขณะนั้นคงทรงยังไม่ได้คิดเรียกชื่อละครประเภทนี้ว่า "ละครสังคีต" ต่อมาในระยะหลัง เมื่อทรงพระราชนิพนธ์เรื่องมิกาโด และเรื่องวั่งตี่ ทรงใช้คำว่า "ละครสังคีต" สำหรับเรียกชื่อละครประเภทหนึ่ง

การแสดง มุ่งหมายที่ความไพเราะของเพลง ตัวละครจะต้องร้องเองคล้ายกับละครร้อง แต่ต่างกันที่ละครร้องดำเนินเรื่องด้วยบทร้อง การพดเป็นการเจรจาทวนบท ส่วนละครสังคีตมุ่งบทร้อง และบทพูดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงหมู่ที่งดงาม ในการแสดงแต่ละเรื่องจะต้องมีบทของตัวตลกประกอบเสมอ และมุ่งไปในทางสนุกสนาน

ดนตรี บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวม

เพลงร้อง ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง ๒ ชั้น มีลำนำที่ไพเราะ

สถานที่แสดง แสดงบนเวที มีการจัดฉากเปลี่ยนตามท้องเรื่อง

https://www.youtube.com/watch?v=rrHTrMaPAgQ ละครสังคีต เรื่อง วิวาห์พระสุมทร


ละครหลวงวิจิตรวาทการ

 

ละครปลุกใจรักชาติของหลวงวิจิตรวาทการ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนาม "ละครหลวงวิจิตร" คือ ละครที่มีเนื้อหาปลุกใจให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกรักชาติบ้านเมือง สร้างสามัคคีระหว่างคนในชาติ และยอมเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประเทศชาติ "ละครหลวงวิจิตร" เกิดจากที่หลวงวิจิตรวาทการได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ในรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ท่านได้ใช้บทละครและเพลงแนวปลุกใจรักชาติเป็นสื่อ ในการปลูกฝังลัทธิชาตินิยมให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ซึ่งนอกจากจะเป็นการสนุนกระแสทางการเมือง ที่แพร่หลายในขณะนั้นแล้ว หลวงวิจิตรวาทการยังเห็นว่า ความรักชาติจะสามารถช่วยสร้างสรรค์บ้านเมืองได้อีกทางหนึ่ง ละครหลวงวิจิตร เป็นละครที่เกิดจากบูรณาการความรู้ และประสบการณ์ของหลวงวิจิตรวาทการ ให้ปรากฏเป็นละครรูปแบบใหม่ในละครนาฏยศิลป์ไทย มีลักษณะพอสรุปได้คือ ในการเคลื่อนไหวของตัวละคร นอกจากจะเป็นไปตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการผสมผสานระหว่างท่ารำทางนาฎยศิลป์ กับท่ารำธรรมชาติ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ท่า "กำแบ" ใช้ทั้งรำประกอบเพลงตามเนื้อเรื่องและรำสลับฉากเพื่อคั่นเวลาในการเปลี่ยนฉาก ซึ่งการจัดฉากก็เป็นไปตามความสมจริงตามเนื้อเรื่อง สำหรับการแต่งกายของตัวละคร ยืนเครื่องแบบละครไทย ผสมผสานกันการแต่งกายตามเชื้อชาติและแต่งแบบสามัญชน อนึ่งในการแสดงละครจะมีทั้งบทเจรจาและบทร้อง ซึ่งผู้แสดงจะต้องเป็นผู้ร้องเพลงเองในฉาก และมีการร้องเพลงสลับฉาก (ร้องหน้าม่าน) ด้วย ส่วนดนตรีนั้น ใช้ทั้งวงดนตรีไทยและวงดุริยางค์สากลประกอบการแสดง จากการศึกษา "ละครหลวงวิจิตร" พบว่า ละครเรื่อง "เจ้าหญิงแสนหวี" เป็นตัวแทนละครของหลวงวิจิตรได้อย่างดียิ่ง เนื่องจากเป็นละครที่มีความสมบูรณ์ในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นเนื้อเรื่อง ตลอดจนบทเพลงทั้งในเรื่อง และระบำสลับฉาก ที่มีทั้งความสนุกสนานรื่นเริง และเพลงที่บ่งบอกถึงความเสียสละในความรักระหว่าง เจ้าหญิงแสนหวีและเจ้าชายเขมรัฐ ที่ต้องสำนึกถึงความรับผิดชอบต่อชาติบ้านเมือง มากกว่าที่จะคำนึงถึงความสุขส่วนตัว และยังได้สอดแทรกการประลองดาบระหว่างเจ้าหญิงแสนหวีและเจ้าชายเขมรัฐ เพื่อให้เกิดความหลากหลายอีกทั้งละครเรื่องเจ้าหญิงแสนหวีเป็นละครที่มีบทเพลงที่ไพเราะมากกว่าละครเรื่องอื่นๆจำต้องใช้ผู้แสดงเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความยิ่งใหญ่ตระการตามากกว่าที่สุดในบรรดาละครหลวงวิจิตร เนื่องจากหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งเป็นทั้งผู้ประพันธ์ ผู้กำกับการแสดง ผู้ฝึกซ้อม ตลอดจนอำนวยการผลิตละครตั้งแต่ต้นจนจบ และได้เขียนกำกับไว้ในบทละครตั้งแต่ต้นจนจบและได้เขียนกำกับไว้ในบทละครอย่างละเอียด การจัดการแสดงละครเรื่องเจ้าหญิงแสนหวีในระยะต่อมา จึงควรที่จะรักษารูปแบบเดิมไว้ให้มากที่สุดเพราะนอกจากจะเป็นการสืบทอดอัจฉริยะภาพของหลวงวิจิตรวาทการให้ปรากฎแล้ว ยังเป็นการรักษาเอกลักษณืของ"หลวงวิจิตร"ให้คงอยู่ในวงการนาฎศิลป์สืบไป

https://www.youtube.com/watch?v=ZVjUTO7rHQs ละครหลวงวิจิตรวาทการ เรื่องอานุภาพพ่อขุนรามคำแหง
:

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564

ภาษาท่า ม.1






ความหมายของภาษาท่า

            ภาษาท่า  หมายถึง  ภาษาทางนาฏศิลป์เสมือนเป็นภาษากายแทนคำพูดโดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมา

แต่อาศัยส่วนประกอบอวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง  เพื่อสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจ

และถ้าหากผู้ชมมีความรู้พื้นฐานเรื่องภาษาท่าแล้ววยิ่งจะทำให้ชมการแสดงโขน-ละครได้อย่างมีอรรถรส

เพิ่มความสนุกสนานมากขึ้นพื้นฐานของการใช้ภาษาท่านี้ส่วนมากจะนำมาจากท่าธรรมชาติแต่นำมาประดิษฐ์

ดัดแปลงให้มีความอ่อนช้อยและสวยงาม  กิริยาท่าทางที่แสดงออกมาเป็นภาษาท่านี้จำแนกได้เป็น  3  ประเภทคือ

1.             กิริยาที่ใช้แทนคำพูด  เช่น  การรับ  ปฏิเสธ   สั่ง  เรียกเข้ามา ฯลฯ

2.             เป็นกิริยาอาการหรืออิริยาบถ  เช่น  ยืน  เดิน  นั่ง  นอน  เคารพ   คลาน  ฯลฯ

3.             กิริยาที่แสดงถึงอารมณ์ภายใน  เช่น  เสียใจ  ดีใจ  โศกเศร้า  รัก  โกรธ  ฯลฯ

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9

10.
11.

12.

13.

14.



รัก


ตัวเรา (แนะนำตัว)




ชี้,ที่โน่น




เดิน



ยิ้ม



ร้องไห้





                                  https://www.youtube.com/watch?v=pozltt9hrH4  คลิปสาธิต ภาษาท่า



วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564

เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงโขน-ละคร


เพลงหน้าพาทย์สำหรับแสดงโขน,ละคร


เพลงที่เกี่ยวกับการแสดงอิทธิฤทธิ์[แก้]

  • ตระนิมิตร - ใช้สำหรับแปลงกาย
  • รัว - ใช้สำหรับการแสดงอิทธิฤทธิ์หรือแปลงกายในเวลาสั้นๆ
  • รัวมอญ - ใช้เหมือนรัวแต่ใช้กับตัวละครที่เป็นมอญ
  • รัวพม่า - ใช้เหมือนรัวแต่ใช้กับตัวละครที่เป็นพม่า

เพลงที่เกี่ยวกับการแผลงฤทธิ์เดช[แก้]

  • คุกพาทย์ - ใช้สำหรับตัวแสดงสำคัญ และการเชิญพระพิฆเนศ
  • รัวสามลา - ใช้สำหรับตัวละครทั่วไปในการแผลงฤทธิ์เดชที่สำคัญ

เพลงที่เกี่ยวกับการจัดทัพและยกทัพ[แก้]

  • ปฐม (ใช้ในการรำตรวจพลเดี่ยวของแม่ทัพ ตัวละครที่รำเพลงนี้มีสุครีพและมโหทร)
  • กราวนอก (ใช้บรรเลงประกอบการตรวจพลของฝ่ายลิงและฝ่ายมนุษย์)
  • กราวใน (ใช้บรรเลงประกอบการตรวจพลและยกทัพของฝ่ายยักษ์ หรือการเดินทางเดี่ยวๆของยักษ์สำคัญๆ)
  • กราวกลาง (ใช้บรรเลงประกอบการตรวจพลของฝ่ายมนุษย์ ส่วนมากใช้ในการใส่เนื้อร้อง)

เพลงที่เกี่ยวกับการไปมาหรือเดินทาง[แก้]

  • เพลงโคมเวียน (ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางในอากาศของเทวดาและนางฟ้า)
  • เพลงเหาะ (เป็นเพลงหน้าพาทย์ใช้บรรเลงขณะ ตัวละครกำลังทำกิริยาเกี่ยวกับการเหาะ ส่วนมากใช้ในละครใน)

เพลงเสมอ[แก้]

ใช้ในการเดินทางใกล้ๆ เพลงเสมอมีดังนี้

  • เสมอธรรมดา (ใช้กับตัวละครทั่วไป)
  • เสมอเถร (ใช้กับฤๅษี นักพรต)
  • เสมอมาร (ใช้กับยักษ์)
  • เสมอเข้าที่ (ใช้กับครูบาอาจารย์)
  • บาทสกุณี (ใช้กับตัวละครฝ่ายพระ นาง ที่สำคัญ เช่นพระราม พระลักษมณ์ )
  • เสมอมอญ (ใช้กับตัวละครที่เป็นมอญ)
  • เสมอลาว (ใช้กับตัวละครที่เป็นลาว)
  • เสมอพม่า (ใช้กับตัวละครที่เป็นพม่า)
  • เพลงเข้าม่าน (ใช้ประกอบการเดินเข้าที่พำนัก หรือเข้าห้องต่างๆ )


เพลงเชิด[แก้]

ใช้ในการเดินทางไกล การไล่ล่า การรบ แบ่งเป็น

  • เชิดธรรมดา (ใช้กับมนุษย์ทั่วไป)
  • เชิดนอก (ใช้กับการไล่ล่า จับตัวของอมนุษย์กับอมนุษย์ ส่วนมากในการเดี่ยวระนาดเอกหรือปี่ใน ประกอบแสดงจับนาง)
  • เชิดฉาน (ใช้กับการไล่ล่า จับตัวของมนุษย์กับสัตว์ เช่น พระรามตามกวาง )
  • เชิดฉิ่ง (ใช้ประกอบการแสดงถึงที่ลึกลับ หรือการเหาะของตัวละคร หรือใช้ประกอบการรำก่อนที่จะใช้อาวุธสำคัญหรือก่อนกระทำกิจสำคัญ

)

  • เชิดกลอง (สำหรับการต่อสู้ การรุกไล่ฆ่าฟันกันโดยทั่วไปใช้บรรเลงต่อจากเชิดฉิ่ง)

เพลงอื่นๆ[แก้]

  • กลม (ใช้กับเทพเจ้าระดับสูง)
  • โคมเวียน (ใช้กับเทวดาระดับทั่วไป)
  • พญาเดิน (ใช้กับพระมหากษัตริย์จนพญาต่างๆ เช่น พญาวานร พญายักษ์)
  • กลองโยน (ใช้ในกระบวนพยุหยาตรา)
  • เพลงฉิ่ง (ใช้ในการชมสวน ดอกไม้)
  • เพลงโล้ (ใช้ในการเดินทาง ทางน้ำ)
  • เพลงแผละ (ใช้กับการบินของสัตว์ที่มีปีกเช่น พญาครุฑ นกสดายุ หรือยุงในตอน หนุมานหักด่านเมืองบาดาล)
  • เพลงชุบ (ใช้ประกอบการเดินของนางกำนัล)

เพลงหน้าพาทย์เบ็ดเตล็ด[แก้]

  • ตระนอน (ใช้ในการนอน)
  • ตระบรรทมไพร (ใช้ในการนอนในป่าของพระราม)
  • ลงสรง (ใช้ในการอาบน้ำของตัวละครเอก และยังใช้ในการสรงน้ำเทวรูปต่างๆ)
  • ลงสรงโทน (ใช้ในการแต่งตัว)
  • นั่งกิน (สำหรับอัญเชิญครูบาอาจารย์ เพื่อถวายกระยาหารสังเวย)
  • เซ่นเหล้า (ใช้ตอนดื่มสุรา หรือใช้ตอนภูต ผี ปีศาจออกแสดง)

เพลงที่เกี่ยวกับแสดงความภาคภูมิใจ[แก้]

  • ฉุยฉาย
  • แม่ศรี
  • เพลงที่เกี่ยวกับการอัญเชิญเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์[แก้]

    • สาธุการ (ใช้เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดให้มาชุมนุมในพิธี ถือว่าเป็นเพลงศักดิ์สิทธิ์ และใช้เป็นเพลงบูชาพระรัตนตรัย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ)
    • ตระเชิญ (ใช้เชิญเทวดาผู้ใหญ่)

    เพลงประกอบการแสดงอารมณ์ทั่วไป[แก้]

    • เพลงโลม (ใช้เกี้ยวพาราสีของตัวละครเอก มักจะใช้คู่กับเพลงตระนอน)
    • เพลงกล่อม (สำหรับการขับกล่อมเพื่อการนอนหลับ
    • ทยอย (ใช้ในตอนเดินเศร้าโศกเสียใจร้องไห้)
    • โอดสองชั้น (ใช้ในการเศร้าโศกเสียใจของตัวละครที่มีศักดิ์สูง)
    • โอดชั้นเดียว (ใช้ในการเศร้าโศกเสียใจตัวละครทั่วไป และใช้ในการตายของตัวละครต่างๆ)
    • โอดมอญ (ใช้ในการเศร้าโศกเสียใจของตัวละครที่เป็นมอญ)
    • โอดลาว (ใในการเศร้าโศกเสียใจของตัวละครที่เป็นลาว)
    • ทยอยเขมร (ประกอบกิริยาครุ่น­คิดหรือความโศกเศร้าเสียใจ)

    เพลงสำหรับกิริยาเยาะเย้ย[แก้]

    • กราวรำ

    เพลงสำหรับแสดงความรื่นเริง[แก้]

    • สีนวล
    • เพลงช้า
    • เพลงเร็ว

    เพลงหน้าพาทย์สำหรับพิธีไหว้ครู[แก้]

    การประกอบพิธีไหว้ครูโดยส่วนใหญ่จะเรียกเพลงคล้ายๆกัน จะแตกต่างที่ลำดับการเรียก

    เพลงที่จะเรียก คือ

    1.สาธุการ - ใช้ในการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

    2.สาธุการกลอง - ใช้ในการบูชาครูและเทพเทวดา

    3.ตระสันนิบาต - ใช้ในการเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประชุมพร้อมกัน ณ ปะรำพิธี

    4.ตระเชิญ - ใช้ในการเชิญเทพยดาต่างๆ

    5.โหมโรง - ใช้ในการเชิญเทพยดา ความหมายเทียบเท่าโหมโรงเย็น

    6.พราหม์เข้า,ดำเนินพราหมณ์ - ใช้ในการเชิญพระภรตมุณี(พ่อแก่) และ ฤๅษีต่างๆ

    7.เสมอเถร - ใช้ในการรำของผู้ประกอบพิธีที่จะสมมุติเป็นพระภรตมุณี(พ่อแก่)

    8.ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ - ใช้ในการเชิญพระนารายณ์

    9.ตระพระพิฆเนศ - ใช้ในการเชิญพระพิฆเนศ เทพแห่งความสำเร็จ

    10.ตระพระปรโคนธรรพ - ใช้ในการเชิญพระปรโคนธรรพ เทพแห่งดนตรีปี่พาทย์

    11.บาทสกุนี(เสมอตีนนก) - ใช้ในการเชิญพระวิศนุกรรม เทพแห่งการช่าง

    12.องค์พระพิราพเต็มองค์ - ใช้ในการเชิญพระพิราพ เทพแห่งการรำ ถือเป็นเพลงหน้าพาทย์สูงสุดของวงการนาฏดุริยางคศิลป์ การที่จะต่อเพลงนี้ได้นั้นมีกฎเกณท์อยู่หลายประการ

    13.รำดาบเฉือนหมู - ใช้ในการตัดแบ่งเครื่องสังเวยต่างๆไปให้แก่สัมภเวสีที่ไม่สามารถเข้ามาในปะรำพิธีได้

    14.นั่งกิน,เซ่นเหล้า - จะเรียกเพลงคู่กัน ใช้ในการถวายเครื่องสังเวยแก่ครูบาอาจารย์ ตลอดจนเทพยดาทั้งหลาย เปรียบเสมือนการรับประทานอาหารและการดื่มสุรา

    15.มหาชัย - ใช้ในตอนที่ทำพิธีครอบ ถือเป็นการประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่ลูกศิษย์

    16.โปรยข้าวตอก - ใช้ในการโปรยข้าวตอกดอกไม้

    17.พราหมณ์ออก,เสมอเข้าที่ - ใช้ในการเชิญพระภรตมุณีกลับ

    18.เชิด,กราวรำ - ใช้ในการบรรเลงเพื่อเป็นการส่งครูและเทพยดากลับ

    นอกจากนี้ ยังมีเพลงหน้าพาทย์เฉพาะของแต่ละสำนักบ้านดนตรีอื่น เช่น

    - ตระกริ่ง

    - ตระพระวิศณุกรรม

    - ตระพระปัญจสีขร

    - ตระพระสุรัสวดี

    - ตระพระอิศวร

    - ตระศิวะนาฏราช หรือ ตระนาฏราช

    - ตระนาง

    - ตระพระเจ้าเปิดโลก

    - ตระพระฤๅษีกไลยโกฏ

    - ตระเชิญเหนือเชิญใต้

    https://www.youtube.com/watch?v=hdpIfM3QX9o&t=244s  บรรยายเพลงหน้าพาทย์

https://www.wikiwand.com/th/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C#


https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C 

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564

เรื่องย่อ รามเกียรติ์

ท้าวทศรถ เป็นกษัตริย์ครองกรุงอยุธยา มีพระมเหสี ๓ องค์ คือ นางเกาสุริยานางไกยเกษี และนางสมุทรเทวี วันหนึ่งท้าวทศรถไปรบกับยักษ์ชื่อ ปทูตทันต์ โดยนางไกยเกษีตามเสด็จไปด้วย ขณะรบกันยักษ์แผลงศรไปถูกเพลารถของท้าวทศรถหักนางไกยเกษีรีบกระโดดลงจากรถ เอาแขนของนางสอดแทนเพลารถเมื่อท้าวทศรถฆ่ายักษ์ได้แล้วได้ทรงทราบถึงความจงรักภักดีของนางไกยเกษี จึงประทานพรว่าหากนางปรารถนาสิ่งใดพระองค์ก็จะประทานให้   ท้าวทศรถครองราชย์สมบัติมานานลายปีแล้วแต่ยังไม่มีโอรสจึงทำพิธีกวนข้าวทิพย์ กลิ่นข้าวทิพย์หอมไปถึง กรุงลงกา ทศกัณฐ์จึงใช้ให้นางยักษ์กากนาสูรมาขโมย นางแปลงร่างมาเป็นอีกา โฉบเอาข่าวทิพย์ไปได้เพียงครึ่งก้อน ทศกัณฐ์นำข้าวทิพย์ให้นางมณโฑ ผู้เป็นมเหสีกิน นางจึงตั้งครรภ์และประสูติพระธิดาออกมา แต่ขณะที่ประสูตินั้นพระธิดาร้องว่า “ผลาญราพณ์” ขึ้น ๓ ครั้ง พิเภกและโหรอื่นๆ ทำนายว่ากาลีบ้านกาลีเมืองทศกัณฐ์จึงสั่งให้นำพระธิดาผู้นั้นใส่ในผอบ ลอยน้ำไป พระฤๅษีชนกซึ่งเดิมเป็นราชาแห่งเมืองมิถิลามาพบเข้า ก็เก็บไปฝั่งดินฝากแม่ธรณีไว้จนเวลาล่างไปถึง ๑๖ ปี จึงไปขุดนางขึ้นมา แล้วจึงตั้งชื่อว่าสีดา แล้วกลับไปครองเมืองมิถิลาเช่นเดิม และได้จัดพิธียกศรเพื่อหาคู่ครองให้นางสีดาพระรามยกศรได้จึงได้อภิเษกกับนางสีดา และพานางกลับไปอยู่ที่กรุงอยุธยาส่วนข้าวทิพย์ที่เหลือสามก้อนครึ่งท้าวทศรถแบ่งให้พระมเหสีทั้งสาม ซึ่งต่อมานางตั้งครรภ์ และให้กำเนิดโอรสคือ นางเกาสุริยา ประสูติพระราม นางไกยเกษี ประสูติพระพรต และนางสมุทรเทวี ประสูติพระลักษณ์ กับพระสัตรุดต่อมา ท้าวทศรถคิดจะยกราชสมบัติให้พระรามปกครอง แต่นางไกยเกษีทูลขอเมืองอยุธยาให้พระพรตโอรสของตน และขอให้พระรามออกเดินป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี ท้าวทศรถเคยประทานพรให้นางไว้จึงจำต้องรักษาวาจาสัตย์พระรามก็ยินยอมออกจากเมืองโดยดี ซึ่งพระลักษณ์กับนางสีดาขอเสด็จตามไปด้วย ท้าวทศรถเสียพระทัยมากจนกระทั่งสิ้นพระชนม์พระราม พระลักษณ์ และนางสีดาไปตั้งอาศรมอยู่ในป่า วันหนึ่งนางสำมนักขา น้องสาวของทศกัณฐ์ออกไปเที่ยวป่า ได้พบพระรามเข้าเห็นพระรามมีรูปโฉมงดงามก็หลงรัก เข้าไปเกี้ยวพาราสีพระราม และทำร้ายนางสีดาพระลักษณ์โกรธมากจับนางมา ตัดหู ตัดจมูก ตัดมือ และเท้า แล้วปล่อยตัวไป นางกลับไปฟ้องพี่ชายทั้งสาม  คือ ทูษณ์ ขร และตรีเศียร ให้ไปรบกับพระราม แต่ก็ถูกพระรามฆ่าตาย นางจึงไปเล่าถึงความงดงามของนางสีดาให้ทศกัณฐ์ฟัง ทศกัณฐ์อยากได้นางมาเป็นชายา จึงออกอุบายให้มารีศแปลงตัวเป็นกวางทองมาล่อนางสีดาเห็นกวางทองเข้าก็อยากได้ ขอให้พระรามไปจับไม่ได้พอมารีศถูกศรของพระรามก็แกล้งทำเสียงพระรามร้องให้ช่วย นางสีดาจึงขอให้พระลักษณ์ตามไป ทศกัณฐ์ได้ราม พระโอกาสจึงเข้ามาลักพานางสีดาไปกรุงลงกาพระราม พระลักษณ์ เสด็จออกติดตามหานางด้วยความห่วงใยจนได้พบกับหนุมานและสุครีพ สุครีพ ขอให้พระรามฆ่าพาลีผู้เป็นพี่ชายของตนเสียก่อน ตนจึงจะช่วยทำสงครามกับทศกัณฐ์ เนื่องจากสุครีพแค้นใจที่ครั้งหนึ่งพระอินทร์ฝากผอบใส่นางดารามากับพาลี เพื่อเป็นรางวัลให้กับสุครีพที่ยกเขาพระสุเมรุให้ตั้งตรงได้แต่ถูกพาลีริบไปเป็นของตน และครั้งสุดท้ายพาลีเข้าไปสู้รบกับความ ชื่อ ทรพี ในถ้ำแล้วส่งสุครีพให้คอยดูอยู่ปากถ้ำ ถ้าเลือดที่ไหลออกมาข้นเป็นเลือดควาย ถ้าเลือดใสเป็นของตนให้สุครีพปิดปากถ้ำเสีย สุครีพเฝ้าดูอยู่เห็นเลือดที่ไหลออกมาใส เพราะน้ำฝนชะจึงคิดว่าพาลีตายจึงเอาหินปิดปากถ้ำ พาลีเข้าใจว่าสุครีพคิดฆ่าตนจึงขับไล่สุครีพออกจากเมือง พระรามจึงได้แผลงศรไปฆ่าพาลีตาย สุครีพจึงเกณฑ์ไพร่พลลิงมาช่วยพระรามรบ   คืนหนึ่งทศกัณฐ์ฝันร้ายพิเภกทำนายว่า ทศกัณฐ์ถึงคราวเคราะห์ให้ส่งนางสีดาคืนไปเสีย ทศกัณฐ์โกรธมากขับไล่พิเภกออกนอกเมือง พิเภกจึงเข้าไปสวามิภักดิ์กับพระรามช่วยให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการทำสงครามแก่พระรามอยู่เสมอ พระรามทำสงครามกับทศกัณฐ์อยู่นานหลายปีจนญาติพี่น้องของทศกัณ{Nตามในสงครามกันหมด ทศกัณฐ์ต้องออกรบเองพระรามแผลงศรถูกหลายครั้ง แต่ทศกัณฐ์ก็ไม่ตาย เพราะถอดดวงใจฝากฤๅษีโคบุตรไว้หนุมานกับองคตจึงทูลรับอาสาพระรามไปหลอกเอากล่องดวงใจมาจนได้ ทศกัณฐ์ออกรบอีกพอพระรามแผลงศรไปปักอกทศกัณฐ์ หนุมานก็ขยี้กล่องดวงใจจนแหลกลาญ ทศกัณฐ์จึงสิ้นชีวิตจากนั้นพิเภกก็พานางสีดามาคืนให้พระราม และเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ นางสีดาจึงขอทำพิธีลุยไฟซึ่งนางสามารถเดินลุยไฟได้อย่างปลอดภัย พระรามตั้งให้พิเภกครองกรุงลงกา แล้วพระรามก็เสด็จกลับอยุธยาพร้อมด้วยนางสีดา และพระลักษณ์ ต่อมาปิศาจยักษ์ตนหนึ่งชื่อนางอดูลได้แปลงร่างเป็นสาวใช้ของนางสีดา ขอร้องให้นางสีดาวาดรูปทศกัณฐ์ให้ดู พอดีพระรามเสด็จมานางสีดาตกใจพยายามลบเท่าไรก็ลบไม่ออก จึงรีบซ่อนไว้ใต้ที่บรรทม  ทำให้พระรามบรรทมไม่หลับต้องสั่งให้พระลักษมณ์มาค้นดูก็ได้รูปของทศกัณฐ์ พระรามกริ้วมาก หาว่านางสีดามีใจรักทศกัณฐ์สั่งให้พระลักษณ์นำนาง ไปประหาร แต่พระลักษมณ์ปล่อยนางไป นางสีดาไปอาศัยอยู่กับฤๅษีตนหนึ่งจนประสูติโอรสองค์หนึ่งคือ พระมงกุฎ    วันหนึ่ง นางสีดาไปอาบน้ำที่ลำธาร เห็นลิงเอาลูกเกาะหน้าเกาะหลังพาไปไหนมาไหนด้วย นางจึงกลับไปอุ้มโอรสที่ฝากพระฤๅษีเลี้ยงไว้มาด้วย เมื่อพระฤๅษีลืมตาขึ้นมาจากการบำเพ็ญตบะไม่เห็นพระมงกุฎ   จึงชุบกุมารขึ้นอีกองค์หนึ่งชื่อว่า พระลบ  นางสีดาจึงมีโอรสสององค์พระฤๅษีได้สั่งสอนศิลปวิทยาให้กุมารทั้งสองจนเก่งกล้า  พระรามได้ทำพิธีปล่อยม้าอุการม้าผ่านเข้าไปในป่า พระมงกุฎเห็นเข้าก็จับมาขี่เล่น พระพรตแผลงศรไปจับตัว พระมงกุฎได้พระรามสั่งให้นำตัวไปประจานเจ็ดวันแล้วให้ประหารเสีย แต่พระลบมาช่วยไปได้ พระรามออกรบด้วยตนเองแต่ไม่สามารถเอาชนะกันได้ จนกระทั่งรู้ว่าเป็นพ่อลูกกัน พระรามไปอ้อนวอนนางสีดาให้กลับอยุธยาแต่นางสีดาไม่ยอม พระรามจึงทำอุบายว่าสิ้นพระชนม์ นางสีดาตกใจรีบกลับมาเยี่ยมพระศพ พระรามจึงออกมาจากโกศจับนางสีดาไว้ นางสีดา รู้ว่าถูกหลอกจึงอธิษฐานแทรกแผ่นดินหนีไปอยู่เมืองบาดาล พิเภกแนะนำพระรามออกเดินป่าอีกครั้งเพื่อเสดาะเคราะห์ พระรามจึงเสด็จไปพร้อมพระลักษมณ์ ได้ฆ่ายักษ์ตายอีกหลายตน ครั้งสุดท้ายพระรามได้สู้กับท้าวอุณาราชพระรามถอนต้นกกมาพาดสาย ยิงไปตรึงท้าวอุณาราชไวhกับแผ่นดิน แล้วจึงเสด็จกลับเข้ากรุงอยุธยา  พระอิศวรสงสารพระรามจึงช่วยไกล่เกลี่ยให้นางสีดา   ยอมคืนดีกับพระราม จากนั้นพระรามกับนางสีดาก็กลับมาครองกรุงอยุธยาอย่างมีความสุข

 

 



วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564

โขน สำหรับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตอนที่ 2

 

ตัวละครโขน รามเกียรติ์

 อินทรชิต เป็นยักษ์มีกายสีเขียว เป็นโอรสของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ เดิมชื่อรณพักตร์  เมื่อสามารถรบชนะพระอินทร์ได้ ทศกัณฐ์พอใจมากจึงเปลี่ยนชื่อให้ว่า อินทรชิต อินทรชิตมีชายาชื่อ สุวรรณกันยุมา  มีโอรส ๒ องค์ คือ ยามลิวันและกันยุเวก มีศรนาคบาศ ศรพรหมาสตร์ และศรวิษณุปาฌัมเป็นอาวุธ  ทั้งยังสามารถแปลงกายเป็นพระอินทร์ได้อีกด้วย  พระพรหมเคยประทานพรให้ว่า เวลาจะตายต้องตายบนอากาศ และอย่าให้ศีรษะขาดตกถึงพื้น มิฉะนั้นจะกลายเป็นไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก  ต้องใช้พานแว่นฟ้าของพระพรหมมารองรับ โลดจึงจะปลอดภัย  ดังนั้น เมื่อพระลักษมณ์จะแผลงศรไปตัดคออินทรชิต จึงตรัสสั่งให้องคตเอาพานแว่นฟ้ามาคอยรับ



นางสำมนักขา เป็นยักษ์ กายสีเขียว เป็นน้องร่วมมารดาคนสุดท้องของทศกัณฐ์ สามีชื่อชิวหา ต่อมาชิวหาถูกทศกัณฐ์ขว้างจักรตัดลิ้นขาดถึงแก่ความตาย นางสำมนักขาจึงเป็นม่าย มีความว้าเหว่ ออกท่องเที่ยวไปจนได้พบพระราม นางเห็นพระรามรูปงามก็นึกรักอยากได้ไปเป็นคู่ครอง ถึงกับตบตีนางสีดาดวยความหึงหวงจึงถูกพระลักษมณ์ตัดหู จมูก มือและเท้าแล้วไล่ไป นางสำมนักขากลับไปฟ้องพี่ชายคือ ทูษณ์ ขร และตรีเศียร ว่าถูกพระรามข่มเหง แต่ยักษ์ทั้ง 3 ตน ก็ถูกพระรามสังหาร นางสำมนักขาจึงไปหาทศกัณฐ์ ชมโฉมนางสีดาให้ฟัง จนทศกัณฐ์นึกอยากได้เป็นชายา จนกระทั่งไปลักพานางสีดามา




พิเภก คือ เทพบุตรเวสสุญาณ จุติลงมาเกิดเพื่อช่วยพระรามปราทศกัณฐ์  มีกายสีเขียว เป็นน้องของทศกัณฐ์มีความรู้ทางโหราศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม  สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำเมื่อทศกัณฐ์ลักพานางสีดามา พิเภกได้ทูลตักเตือน และแนะนำให้ส่งนางสีดาคืนไป ทำให้ทศกัณฐ์โกรธมาก จนขับไล่พิเภกออกไปจากเมือง  พิเภกจึงไปสวามิภักดิ์กับพระราม ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ จนกระทั่งพระรามชนะสงคราม  หลังจากเสร็จศึกแล้ว พระรามได้สถาปนาให้พิเภกเป็นกษัตริย์ครองกรุงลงกา มีพระนามว่า ท้าวทศคีรีวงศ์



อสุรผัด  เป็นบุตรของ หนุมาน กับ นางเบญกาย เมื่อเล็กๆ เป็นเพื่อนเล่นกับ ไพนาสุริวงศ์ (โอรสของทศกัณฐ์ซึ่งติดท้องนางมณโฑมา และพิเภกคิดว่าเป็นบุตรของตน) จนไพนาสุริวงศ์โตขึ้น และพี่เลี้ยงได้บอกความจริงว่าไม่ใช่บุตรของ พิเภก แต่เป็นบุตร ทศกัณฐ์  ไพนาสุริวงศ์จึงไปขอกำลังจาก ท้าวจักรวรรดิ ผู้เป็นพันธมิตรของทศกัณฐ์มารบกับพิเภกและจับพิเภกขังไว้ อสุรผัดเห็นพิเภกซึ่งเป็นตาของตนถูกขังก็มาเฝ้าไพนาสุริวงศ์ แล้วขอให้ปล่อยพิเภก แต่กลับถูกท้าวจักรวรรดิขับไล่ อสุรผัดมีความโกรธจึงหนีมาแจ้งข่าวกรุงลงกาเกิดกบฏให้หนุมานฟัง (ขณะนั้นหนุมานกำลังบวชเป็นฤาษี) พระรามจึงส่ง พระพรต และ พระสัตรุด ยกทัพมาปราบท้าวทศพินและท้าวจักรวรรดิได้สำเร็จ  เมื่อเสร็จศึกลงกาครั้งที่สอง อสุรผัดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราชเมืองลงกา



นางเบญจกาย   เป็นบุตรีของ พิเภก กับ นางตรีชฎา    หลังจากที่ หนุมาน ใช้อุบายเผากรุงลงกา ทศกัณฐ์ ก็วางแผนลวงโดยให้นางเบญกายแปลงเป็น นางสีดา ตายลอยตามน้ำไปให้พระรามเห็น เพื่อให้พระรามเสียใจแล้วยกกองทัพกลับ นางเบญกายจึงได้ไปเฝ้าดูนางสีดา แล้วแปลงกายเป็นนางสีดา จนทศกัณฐ์ก็จำไม่ได้  จากนั้นนางเบญกายก็แกล้งตายลอยทวนน้ำมาจนถึงหน้าพลับพลาของพระราม พระรามเสียใจมากและโกรธหนุมานที่ไปเผากรุงลงกา แต่พิเภกทูลให้พระรามเห็นพิรุธที่ศพลอยทวนน้ำ จึงนำศพไปเผาไฟ นางเบญกายทนความร้อนไม่ไหวจึงเหาะหนีขึ้นท้องฟ้า หนุมานเหาะตามไปจับตัวนางมาได้ พระรามพิจารณาโทษและอภัยโทษให้นางเบญกาย แล้วสั่งให้หนุมานพานางไปส่ง แต่หนุมานลักลอบได้นางเป็นภรรยา จนเกิดบุตรชายชื่อ อสุรผัดต่อมาทศกัณฐ์ได้ทำพิธีตั้งอุโมงค์บำเพ็ญตบะ หนุมาน สุครีพ และ นิลนนท์ ได้รับคำสั่งให้ไปทำลายพิธี โดยขอน้ำล้างเท้านางเบญกายไปรดบนแผ่นหินที่ปิดปากอุโมงค์



นนทก เป็นยักษ์ที่ทำหน้าที่ล้างเท้าเทวดาอยู่ที่เชิงเขาไกรลาส ถูกพวกเทวดาแกล้งตบหัวบ้าง ถอนผมบ้าง จนหัวโล้น นนทกมีความแค้นมาก จึงเข้าเฝ้าพระอิศวรทูลขอพรให้มีนิ้วเป็นเพชร สามารถชี้ให้ผู้ใดตายก็ได้ จากนั้นนนทุกก็ใช้นิ้วเพชรชี้ให้เทวดา พญาครุฑ คนธรรพ์ ตายเกลื่อนกลาด พระนารายณ์จึง ต้องไปปราบ ก่อนตายนนทุกต่อว่าพระนารายณ์ว่า ตนเองมีเพียงสองมือเท่านั้น จะชนะพระนารายณ์ที่มีถึงสี่กรได้อย่างไร พระนารายณ์จึงประทานพรให้แก่นนทุกไปเกิดเป็นยักษ์มีสิบหน้า ยี่สิบมือ แล้วพระองค์จะไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียงสองมือ เพื่อปราบนนทกในชาติใหม่ ให้หมดสิ้นทั้งวงศ์ยักษ์ นนทกจึงกลับชาติมาเกิดเป็นทศกัณฐ์

 


วิรุณจำบัง   เป็นบุตรของ พญาทูษฐ์ แห่งกรุงจารึก มีม้าคู่ใจชื่อ นิลพาหุ เป็นม้าที่สามารถหายตัวได้  วิรุณจำบังและ สัทธาสูร ได้ไปช่วยกรุงลงการบกับ พระราม และ พระลักษณ์ วิรุณจำบังได้ทำการหายตัวไปลอบฆ่าพลวานรล้มตายลงเป็นอันมาก พระรามจึงแผลงศรฆ่าม้าของวิรุณจำบังตาย เมื่อไม่มีพาหนะวิเศษ วิรุณจำบังก็รู้ตัวว่าสู้ไม่ได้จึงหนีลงไปซ่อนตัวที่ใต้มหาสมุทร หนุมาน ลงไปตามแต่ไม่พบ จนในที่สุดก็สังเกตได้ว่าวิรุณจำบังคงจะซ่อนตัวอยู่ในฟองน้ำในที่สุดวิรุณจำบังก็ต้องสิ้นชีวิตลงด้วยฝีมือของหนุมานนั่นเอง


กุมภกรรณ เป็นยักษ์มีกายสีเขียว มีหอกโมกขศักดิ์เป็นอาวุธ ได้ชื่อว่า กุมกรรณ (หูหม้อ) เพราะมีร่างกายใหญ่โตจนเอาหม้อใส่ไว้ในหูได้ กุมภกรรณ เป็นน้องร่วมมารดาของทศกัณฐ์ โดยเป็นพี่ของพิเภก  ครั้งหนึ่ง กุมภกรรณออกรบกับพระลักษมณ์ ได้พุ่งหอกโมกขศักดิ์ไปถูกพระลักษมณ์จนสลบ  แต่พิเภกและหนุมานช่วยแก้ไขให้ฟื้นได้  ต่อมา กุมภกรรณได้ทำพิธีทดน้ำ โดยเนรมิตรกายให้ใหญ่โตขวางทางน้ำไว้ เพื่อให้กองทัพของพระรามอดน้ำตาย แต่ถูกหนุมานทำลายพิธีครั้งสุดท้าย กุมภกรรณออกรบกับพระราม ถูกศรของพระรามจนเสียชีวิต



สุครีพ เป็นลิงมีกายสีแดง เป็นลูกของพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนา สุครีพมีศักดิ์เป็นน้าของหนุมาน  เมื่อพระฤาษีโคดมรู้ความจริงจากนางสวาหะว่า สุครีพไม่ใช่ลูกของตน แต่เป็นลูกชู้ จึงสาปให้กลายเป็นลิงพร้อมกับพาลีผู้เป็นพี่ชาย ซึ่งเป็นลูกของพระอินทร์ แล้วไล่ให้เข้าป่าไป  ต่อมาสุครีพได้เป็นทหารเอกของพระราม ได้รับความไว้วางพระทัยจากพระราม ให้เป็นผู้จัดการกองทัพ ออกสู้รบกับกองทัพของกรุงลงกาอยู่เสมอ


องคต เป็นลิงมีกายสีเขียว  เป็นบุตรของพาลี กับนางมณโฑ  เมื่อพาลีแย่งนางมณโฑมาจากทศกัณฐ์แล้ว  นางต้องเป็นภรรยาของพาลีจนกระทั่งตั้งครรภ์  ทศกัณฐ์ไปฟ้องฤาษีอังคัตอาจารย์ของพาลี จนพาลียอมคืนนางมณโฑให้แต่ขอลูกไว้  ฤาษีอังคัตจึงทำพิธีเอาลูกออกจากท้องนางมณโฑ ไปใส่ในท้องแพะ  เมื่อครบกำหนดคลอด พระฤาษีก็ทำพิธีให้ออกจากท้องแพะ ให้ชื่อว่า องคต  ส่วนทศกัณฐ์ยังผูกใจเจ็บ จึงแปลงกายเป็นปูยักษ์คอยอยู่ก้นแม่น้ำ เพื่อจะฆ่าองคตขณะทำพิธีลงสรง แต่ถูกพาลีจับได้ แล้วเอามาผูกไว้ให้ลูกลากเล่นอยู่เจ็ดวันจึงปล่อยไป เมื่อสุครีพขอให้พระรามมาช่วยปราบพาลี  ก่อนที่พาลีจะสิ้นใจตาย ได้สำนึกตนว่าทำผิดต่อสุครีพ ทั้งไม่รักษาคำสัตย์สาบาน  จึงได้ทูลฝากฝังสุครีพและองคตไว้กับพระราม  องคตได้ช่วยทำศึกกับกองทัพของทศกัณฐ์อย่างเต็มความสามารถพระรามเคยส่งองคตเป็นทูตไปเจรจากับทศกัณฐ์ เพื่อทวงนางสีดาคืน แม้จะไม่สำเร็จ แต่ก็ได้แสดงความเฉลียวฉลาดและความกล้าหาญ  ให้ประจักษ์แก่ตาของทศกัณฐ์


สดายุ  บางแหล่งเรียกชื่อหนึ่งว่า ชตายุ เป็นน้องของ พญาสัมพาที และเป็นสหายกับท้าวทศรถ
ขณะที่ ทศกัณฐ์ กำลังลักพาตัว นางสีดา มาจาก พระราม นั้น ก็พอดีเหาะผ่านมาพบกับพญานกสดายุ นางสีดาจึงร้องให้ช่วย สดายุเข้ารบพุ่งกับทศกัณฐ์ แต่ทศกัณฐ์สู้ไม่ได้ นกสดายุจึงเกิดความลำพองใจร้องเย้ยหยันว่าตนไม่เคยเกรงกลัวใครเลย นอกจากพระอิศวร พระนารายณ์และพระธำมรงค์ของพระอิศวรที่นางสีดาสวมอยู่เท่านั้น