วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564

 

การจัดนิทรรศการแสดงผลงาน

การจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ จำเป็นต้องมีการวางแผนงาน เตรียมการ ดำเนินการ และวัดผลประเมินผลจนครบวงจร ซึ่งมีขั้นตอนการจัดนิทรรศการศิลปะโดยทั่วไป ดังนี้

1. การกำหนดวัตถุประสงค์และวางแผน ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด นั่นคือการเขียนโครงการจัดนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วยหลักการและเหตุผล (ประโยชน์และความจำเป็น) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย (เชิงปริมาณและคุณภาพ) ขั้นตอนการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา สถานที่ งบประมาณ การวัดผลประเมินผลและผลที่คาดว่าจะได้รับ (เมื่อสิ้นสุดโครงการ)

2. การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดนิทรรศการ โดยมีตำแหน่งประธาน รองประธาน เลขานุการ และกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายสถานที่ พิธีการ ต้อนรับ การเงิน ประชาสัมพันธ์ โสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น

3. การเตรียมผลงานศิลปะ หรือการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเตรียมจัดแสดง รวมทั้งการติดการ์ด หรือใส่กรอบผลงาน

4. การประชาสัมพันธ์ เป็นการเชิญชวนให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนไปร่วมชมนิทรรศการทั้งในรูปแบบของการจัดทำแผ่นพับ โปสเตอร์ บัตรเชิญ ป้ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สื่อมวลชน

5. การเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ เป็นการจัดเตรียมสถานที่ แสง เสียง บอร์ดแสดงผลงาน ไม้ประดับ โต๊ะ เก้าอี้ ริบบิ้นเปิดงาน สมุดเซ็นเยี่ยม และวัสดุอุปกรณ์ อื่นๆ

6. การจัดงานและพิธีการ เป็นการจัดกำหนดการพิธีการ และดำเนินการเปิดงานแสดงนิทรรศการ เช่น จัดทำ กำหนดการ คำกล่าวรายงาน คำกล่าวเปิดการนำชม การแสดงและการสาธิตผลงาน เป็นต้น

7. การวัดผลประเมินผล เป็นขั้นสุดท้ายที่ต้องการทราบผลการจัดนิทรรศการว่าบรรลุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการหรือไม่ ซึ่งสามารถวิเคราะห์จากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ชม จากสมุดเยี่ยมชม และจากที่ประชุมของคณะกรรมการ

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ศึกษาแนวคิด วิธีสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ระดับโลก




https://www.youtube.com/watch?v=k0m6MTpLTl4 

อิมเพรสชั่นนิสม์และการกำเนิด Modern Art



10 ศิลปินเอกของโลก





ภาพ"การพิพากษาครั้งสุดท้าย" โดย Michelangelo Buonarroti -หนึ่งในผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต ตั้งแต่ปี 1534 ถึงปี ค.ศ. 1541 เมื่อเขาเป็นชายชราแล้ว  ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องลัทธิทางศาสนา แต่เป็นภัยพิบัติในระดับสากล สำหรับการตีความพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของเขาศิลปินได้รับการเคารพและถูกลงโทษในเวลาเดียวกันทั้งในช่วงชีวิตของเขาและหลายศตวรรษต่อมา

โบสถ์ Sistine

เพดานโบสถ์ซิสทีน (อิตาลี: Volta della Cappella Sistina) ซึ่งวาดโดย Michelangelo ระหว่างปีค. ศ. 1508 ถึง 1512 เป็นผลงานหลักที่สำคัญของศิลปะเรอเนสซองส์ชั้นสูง เพดานเป็นของโบสถ์ซิสทีนซึ่งเป็นโบสถ์ของพระสันตปาปาขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นภายในวาติกันระหว่างปีค. ศ. 1477 ถึง 1480 โดยสมเด็จพระสันตปาปาซิกตัสที่ 4 ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบสถ์นี้ เป็นภาพวาดโดยคณะกรรมาธิการของสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 โบสถ์เป็นที่ตั้งของพระสันตปาปาและสถานบริการสำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย องค์ประกอบทาสีต่างๆของเพดานเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการตกแต่งที่ใหญ่ขึ้นภายใน Chapel ซึ่งรวมถึงจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ การพิพากษาครั้งสุดท้าย บนผนังวิหารโดย Michelangelo ภาพวาดฝาผนังโดยจิตรกรชั้นนำหลายคนในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 ได้แก่ Sandro Botticelli, Domenico Ghirlandaio และ Pietro Perugino และพรมผืนใหญ่ของ Raphael ซึ่งแสดงให้เห็นถึงหลักคำสอนส่วนใหญ่ของคริสตจักรคาทอลิก . ส่วนกลางของการตกแต่งเพดานเป็นฉากเก้าฉากจากหนังสือปฐมกาลซึ่ง การสร้างอาดัม เป็นที่รู้จักกันดีโดยมีตำแหน่งที่โดดเด่นเทียบเท่ากับเลโอนาร์โดดาวินชีเท่านั้น Mona Lisaพระหัตถ์ของพระเจ้าและอดัมถูกสร้างขึ้นใหม่โดยเลียนแบบนับไม่ถ้วน การออกแบบที่ซับซ้อนประกอบด้วยตัวเลขหลายชุดทั้งแบบสวมเสื้อผ้าและภาพเปลือยซึ่งทำให้มิเกลันเจโลสามารถแสดงทักษะของเขาได้อย่างเต็มที่ในการสร้างท่าทางที่หลากหลายสำหรับร่างมนุษย์และได้จัดเตรียมหนังสือลวดลายที่มีอิทธิพลอย่างมากสำหรับศิลปินคนอื่น ๆ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา .

 

............................

ภาพวาดปูนเปียก(Fresco )



Toreador Fresco
จิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับการบูรณะจาก Palace at Knossos, Crete, c. 1550 bce ; ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีIráklionครีต ความสูง (รวมขอบ) 81 ซม.   SCALA / Art Resource นิวยอร์ก


การวาดภาพเฟรสโก (Fresco ) วิธีการวาดภาพสีน้ำบนปูนปลาสเตอร์ที่เพิ่งทาใหม่บนพื้นผิวผนัง สีซึ่งทำโดยการบดผงสีแห้งในน้ำบริสุทธิ์ให้แห้งและตั้งด้วยปูนปลาสเตอร์เพื่อให้กลายเป็นส่วนถาวรของผนัง การวาดภาพเฟรสโกเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำภาพจิตรกรรมฝาผนังเนื่องจากให้รูปแบบที่เป็นอนุสาวรีย์มีความทนทานและมีพื้นผิวด้านเป็นเทคนิคที่ทนทานที่สุดและประกอบด้วยกระบวนการต่อไปนี้ ปูนปลาสเตอร์ที่เตรียมไว้เป็นพิเศษสามชั้นต่อเนื่องกันทรายและบางครั้งฝุ่นหินอ่อนจะถูกเกาะติดกับผนัง ใช้เสื้อโค้ทหยาบสองตัวแรกและอนุญาตให้ตั้งค่า (แห้งและแข็งตัว) ในระหว่างนี้ศิลปินผู้สร้างการ์ตูนเต็มรูปแบบ (การวาดภาพเตรียมการ) ของภาพที่จะวาดได้โอนโครงร่างของการออกแบบลงบนผนังจากการลอกลายที่ทำจากการ์ตูน สุดท้ายเคลือบเรียบ (intonaco ) ของปูนปลาสเตอร์จะถูกเหยียบลงบนผนังให้มากที่สุดเท่าที่จะทาสีได้ในครั้งเดียว ขอบเขตของพื้นที่นี้ถูก จำกัด อย่างระมัดระวังตามเส้นชั้นความสูงเพื่อไม่ให้ขอบหรือรอยต่อของแต่ละส่วนที่ต่อเนื่องของการฉาบปูนสดไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนเหล่านี้เรียกว่าgiornateซึ่งเป็น "งานประจำวัน" จากนั้นการลอกลายจะถูกยึดไว้กับอินโทนาโคสดและวางเรียงรายอย่างระมัดระวังด้วยส่วนที่อยู่ติดกันของผนังทาสีและรูปทรงที่เกี่ยวข้องและเส้นภายในจะถูกลากลงบนปูนปลาสเตอร์สด ภาพวาดที่จาง ๆ แต่ถูกต้องนี้ทำหน้าที่เป็นแนวทางในการวาดภาพด้วยสีอินโทนาโคที่เตรียมอย่างถูกต้องจะเก็บความชื้นไว้ได้นานหลายชั่วโมง เมื่อจิตรกรเจือจางสีของเขาด้วยน้ำและใช้พู่กันกับปูนปลาสเตอร์สีจะซึมลงบนพื้นผิวและเมื่อผนังแห้งและเซ็ตตัวอนุภาคเม็ดสีจะถูกผูกหรือประสานพร้อมกับปูนขาวและอนุภาคทราย สิ่งนี้ช่วยให้สีมีความคงทนและทนทานต่อการเสื่อมสภาพได้ดีเนื่องจากเป็นส่วนสำคัญของพื้นผิวผนังแทนที่จะเป็นชั้นสีที่ซ้อนทับ ขนาดกลางของปูนเปียกทำให้ต้องใช้ทักษะทางเทคนิคของจิตรกรอย่างมากเนื่องจากเขาต้องทำงานให้เร็ว (ในขณะที่ปูนปลาสเตอร์เปียก) แต่ไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดโดยการทาสีทับได้ ต้องทาด้วยปูนปลาสเตอร์ใหม่หรือใช้วิธี secco

ต้นกำเนิดของภาพวาดปูนเปียกไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ถูกใช้ในช่วงต้นของอารยธรรมมิโนอัน (ที่Knossosบนเกาะครีต) และโดยชาวโรมันโบราณ (ที่ปอมเปอี ) ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีเป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ของการวาดภาพปูนเปียกดังที่เห็นในผลงานของCimabue , Giotto , Masaccio , Fra Angelico , Correggioซึ่งชื่นชอบคำขวัญใน su ("จากด้านล่างสู่ด้านบน") _ เทคนิค - และจิตรกรอื่น ๆ อีกมากมายจาก ปลายศตวรรษที่ 13 ถึงกลางศตวรรษที่ 16 ภาพวาดของMichelangeloในSistine ChapelและRaphaelภาพจิตรกรรมฝาผนังสแตนซาในวาติกันเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มีชื่อเสียงที่สุด โดยช่วงกลางศตวรรษที่ 16 แต่การใช้กลางแจ้งได้ส่วนใหญ่ถูกแทนที่ด้วยภาพวาดสีน้ำมัน เทคนิคนี้เป็นเวลาสั้น ๆ ฟื้นขึ้นมาในศตวรรษที่ 20 โดยดิเอโกริเวร่าและเม็กซิกัน muralists อื่น ๆ เช่นเดียวกับ ฟรานเชสเคล







กุสตาฟ คลิมต์ (Gustav Klimt) เป็นจิตรกรคนสำคัญในลัทธิสัญลักษณ์นิยมผู้มีผลงานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร จุดเด่นในผลงานของเขาคือการใช้ลวดลายและการตกแต่งแบบอาร์ตนูโวกับการใช้แผ่นทองคำเปลวมาเป็นสีหลักในภาพได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะในผลงานชิ้นเอกคือภาพ The Kiss ซึ่งเป็นภาพเขียนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขา และภาพ Portrait of Adele Bloch-Bauer I ซึ่งมีชื่อเสียงไม่แพ้กันและมักถูกเรียกเป็น “โมนาลิซาแห่งออสเตรีย” ผลงานหลายชิ้นของเขาแฝงความหมายซ่อนปรัชญาความคิดเอาไว้อย่างน่าสนใจ คลิมต์เป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอีกคนหนึ่งในยุคศิลปะสมัยใหม่




บทความโดย สุทัศน์ ยกส้าน
Gustav Klimt คือจิตรกรชาวออสเตรีย ผู้บุกเบิกศิลปะยุคใหม่ที่เน้นความมีเสน่ห์ เร่าร้อนของสตรี


Klimt เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1862 ที่เมือง Baumgarten ใกล้กรุงเวียนนาในออสเตรียเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของครอบครัวที่มีทายาท 7 คน บิดาเป็นช่างแกะสลัก

ชีวิตในวัยเด็กของ Klimt ลำบากมากเพราะครอบครัวยากจนและการจ้างงานในสมัยนั้นมีน้อย เมื่ออายุ 14 ปี Klimt ได้เข้าศึกษาที่ Vienna School of Arts and Crafts เป็นเวลา 7 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษา Klimt กับพี่ชายและเพื่อนได้รับงานตกแต่งเพดานและผนังของพิพิธภัณฑ์ ทั้งในออสเตรียและต่างประเทศ เช่นที่ ยูโกสลาเวีย เชโกสโลวาเกีย และเยอรมนี

เมื่ออายุ 26 ปี Klimt ได้รับเหรียญ Golden Order of Merit จากจักรพรรดิ Franz Josef ที่ 1 แห่งออสเตรียในฐานะผู้มีผลงานศิลปะดีเยี่ยม และได้รับเลือกเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งมหาวิทยาลัยมิวนิกและมหาวิทยาลัยเวียนนาด้วย

ในปี 1892 บิดาและพี่ชายของ Klimt เสียชีวิต เหตุการณ์นี้ทำให้ Klimt เสียใจและรู้สึกกังวลมาก เพราะต้องรับผิดชอบเป็นผู้นำครอบครัวแทนบิดาและรับภาระเลี้ยงดูครอบครัวของพี่ชายด้วย อาการซึมเศร้าทำให้ Klimt หมดความรู้สึกต้องการวาดภาพเป็นเวลานานถึง 5 ปี

จนกระทั่งอายุ 35 ปีจึงเริ่มหยิบแปรงวาดภาพอีก เมื่อ Klimt ได้รู้จัก Emilie Flöge ทั้งๆ ที่ Flöge รู้ดีว่า Klimt มีความสัมพันธ์กับสตรีอื่นอีกหลายคน แต่เธอก็ยินดีเป็นทั้งนางแบบ ชู้รัก และเพื่อนรักของ Klimt จนตลอดชีวิตของเขา

ในช่วงเวลานี้ ลีลาการวาดภาพของ Klimt ได้เปลี่ยนไปมาก หลังจากที่ได้เห็นภาพแนว Impressionism, Realism, Naturalism, Pointillism และ Symbolism ประสบการณ์เหล่านี้ ได้กระตุ้นให้ Klimt คิดสร้างศิลปะรูปแบบใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวออสเตรียโดยเฉพาะ

หลังจากนั้นไม่นานคนออสเตรียก็เริ่มรู้จักภาพวาดสไตล์ Art Nouveau Klimt เป็นคนที่มีความรักชาติสูง ในปี 1897 เขาจึงจัดตั้งสมาคม Vienna Secession เพื่อรวบรวมภาพของศิลปินมือใหม่ที่เป็นชาวออสเตรียมาจัดแสดงและขาย รวมถึงดูแลผลประโยชน์ของบรรดาสมาชิก

โดยพยายามเชื่อมโยงจิตรกรกับประชาชนให้เข้าใจกันและกัน เมื่อรัฐบาลสนับสนุนโดยการมอบที่ดินให้จัดสร้างหอศิลป์ และสมาคมได้ออกนิตยสาร สมาคมจึงมีอิทธิพลและเกียรติมาก ผลงานนี้เองที่ทำให้ Klimt ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมคนแรก

ในขณะเดียวกัน Klimt ก็รับงานวาดภาพประดับเพดานห้องประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัยเวียนนาด้วย แต่ผลงานของเขาซื้อ Philosophy, Medicine and Jurisprudence ถูกมหาวิทยาลัยปฏิเสธที่จะรับเพราะมีส่วนที่สื่อความ “อนาจาร” ของสตรีเปลือย Klimt จึงลาออกจากการเป็นสมาชิกสมาคม

แล้วเริ่มชีวิตวาดภาพอย่างอิสระโดยใช้สีฝุ่น ทองคำเปลวและเงินเปลวในภาพ และจัดภาพในลักษณะที่ช่องว่างระหว่างรูปวาดมีความสำคัญพอๆ กับรูป อีกทั้งสีที่ใช้ก็เข้มและรุนแรงขึ้นดังภาพ Nuda Veritas ที่ Klimt วาดเมื่ออายุ 37 ปี เป็นภาพสตรีเปลือย ผมแดง ยืนถือกระจกส่องความจริง

เมื่ออายุ 45 ปี Klimt ได้รับเลือกเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบัน Vienna และ Munich Academy และเริ่มได้รับการยอมรับว่ามีอิทธิพลต่อจิตรกรออสเตรียรุ่นใหม่ๆ เช่น Kokoschka และ Schiele

Klimt ล้มป่วยด้วยโรคปอดบวม และเสียชีวิตด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1917 ที่กรุงเวียนนา สิริอายุ 46 ปี

ทุกวันนี้โลกรู้จักภาพคนในแบบ mosaic ของ Klimt ดีพอๆ กับสูตร E=mc2 ของ Einstein และเพลงของ Beethoven โดยเฉพาะภาพ Judith and the Head of Holofernes ภาพ Portrait of Adele Bloch-Bauer I และภาพ The Kiss

สำหรับภาพ Adele Bloch-Bauer I นั้นถือกันว่าเป็นภาพ Mona Lisa ของออสเตรีย ส่วนภาพ The Kiss ที่ Klimt วาดในปี 1909 ก็ได้รับความนิยมนำไปติดประดับในหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยในอเมริกายิ่งกว่าภาพ Sunflowers ของ van Gogh เสียอีก ในปี 2003 ภาพ Landhaus am Attersee ของ Klimt ถูกนำออกขายได้ในราคา 29.1 ล้านดอลลาร์

และเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2006 ภาพ Portrait of Adele Bloch-Bauer I ที่ Klimt วาดในปี 1907 ซึ่งเป็นภาพสตรีสวมเครื่องประดับทองคำและเพชรพลอยในลักษณะของราชินีอียิปต์ในอิริยาบถยืน และเตรียมตัวจะลงประทับในโลงศพ ได้ถูกนำออกประมูลขายได้ในราคา 135 ล้านดอลลาร์ (5,100 ล้านบาท) ราคานี้จึงทำให้เป็นภาพที่มีราคาแพงที่สุดในโลก

และเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ปี 2005 หนังสือรวบรวมภาพของ Klimt ที่หนัก 5 กิโลกรัมก็ถูกสั่งจองหมดก่อนที่โรงพิมพ์จะพิมพ์เสียอีก สำหรับงานแสดงผลงานชอง Klimt ที่ Neue Galerie ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดตั้งแต่ 12 ตุลาคม ปี 2005 จนถึง 30 มิถุนายน ปี 2006 สิถิติการเข้าชมได้แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่แกลเลอรีเปิดแสดงมา 7 ปี ไม่มีศิลปินคนใดดึงดูดผู้คนได้มากเท่า Klimt เลย

เหตุใดผู้คนจึงหลงใหล Klimt คำตอบคือ Klimt เป็นจิตรกรเอตทัคคะผู้ถนัดการแสดงความงามที่เต็มด้วยเสน่ห์และความลึกลับของสตรี ภาพของ Klimt ไม่เป็นธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะบางครั้งได้เน้นคุณลักษณะของสตรีบางประการเกินจริง และบางครั้งก็เน้นน้อยเกินไป ภาพที่มีชื่อเสียงมักมีฉากหลังเป็นลวดลายคล้ายปีกผีเสื้อหรือหางนกยูง

นอกจากนี้ภาพสตรีของ Klimt มักจะสื่อความรู้สึกของการมีเสรีภาพในการแสวงหากามรส ทั้งนี้เพราะ Klimt ชอบให้นางแบบนั่งนาน และนั่งโพสหลายครั้งในท่ายั่วยวนตามที่ Klimt กำหนด นางแบบหลายคนเป็นโสเภณีและสาวไฮโซ โอกาสเช่นนี้ทำให้เหล่าเธอสามารถมีสัมพันธ์กับ Klimt ได้ จนเป็นที่เลื่องลือว่า Klimt มีลูกถึง 14 คน

ขณะยังมีชีวิตอยู่และหลังจากเสียชีวิตไปแล้ว ศิลปะของ Klimt มีคนชื่นชอบมาก ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นไม่มีใครเคยสนใจศิลปะของออสเตรียเลย จนเมื่อ Klimt นำ Art Nouveau ออกสู่สายตาชาวโลกเมื่อ 100 ปีก่อน ทุกคนก็ตระหนักว่าศิลปะสมัยใหม่แห่งเวียนนาหมายถึงภาพที่แสดงเสรีภาพทางเพศของสตรี

ความสนใจในภาพของ Klimt ได้พุ่งสูงโดยเฉพาะราว 4 ปีก่อนนี้ เมื่อพิพิธภัณฑ์ Belvedere ในเวียนนาถูกศาลสหรัฐฯ ตัดสินให้คืนภาพ 5 ภาพของ Klimt แก่ทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมายของมหาเศรษฐีนักธุรกิจชาวออสเตรียเชื้อสายเชโกสโลวาเกียชื่อ Ferdinand Bloch-Bauer ภาพทั้ง 5 ภาพได้แก่ Beech woods (1903), Apple Tree (1911-1912), Houses in Unterach on the attersee (1906), Adele Bloch-Bauer I (1907) และภาพ Adele Bloch-Bauer II (1912)

โดยทายาทผู้นั้นคือ Maria Altmann ซึ่งพำนักอยู่ที่ลอสแองเจลิสในสหรัฐอเมริกา เพราะ Altmann อ้างว่า เมื่อ Ferdinand Bloch-Bauer หนีภัยนาซีออกจากออสเตรียในปี 1938 และเสียชีวิตที่สวิตเซอร์แลนด์ในปี 1945 นั้น Altmann

มีหลักฐานว่าได้ยกตึกอาคารและทุกสิ่งทุกอย่างในอาคารให้เธอกับพี่และน้องของเธอก่อนจะหนีไป โยไม่มีเวลาจัดการกับภาพที่สะสมไว้ ทำให้ภาพเหล่านี้ถูกทหารนาซีปล้นไปจากคฤหาสน์ เมื่อสงครามโลกสิ้นสุด รัฐบาลออสเตรียได้ภาพที่ถูกยึดไปกลับคืน

จากนั้น Ronald Lauder ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ Neue Galerie ได้พยายามช่วย Altmann ต่อสู้นำภาพที่ Klimt วาดมาคืนให้ Altmann ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า 20 ปี และเมื่อเขาทำได้สำเร็จ Lauder ได้ซื้อภาพ Adele Bloch-Bauer I จาก Altmann ไปในราคา 135 ล้านเหรียญ

ณ วันนี้ ภาพของ Klimt อีกภาพหนึ่งที่ชื่อ Blooming Meadow ซึ่ง Leonard Lauder ผู้เป็นพี่ชายของ Ronald Lauder ได้ซื้อไว้ในปี 1983 ก็ถูก Georges Jorisch ผู้เป็นหลานของ Amalie Redlich อ้างว่า ภาพดังกล่าวได้ถูกปล้นไปจาก Amalie เมื่อทหารนาซีส่งเธอไปเข้าค่ายกักกันในโปแลนด์ และเธอได้เสียชีวิตที่นั่น

ทั้งๆ ที่ Jorisch มีหลักฐานต่างๆ สนับสนุน แต่ Leonard Lauder ได้ปฏิเสธข้ออ้างทุกประเด็นโดยให้เหตุผลว่า เขามีหลักฐานการเป็นเจ้าของภาพที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ การฟ้องร้องและการต่อสู้เรื่องนี้คงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะรู้ผลสุดท้าย

จะอย่างไรก็ตามเมื่อ Neue Galerie จัดงานแสดงภาพของ Klimt กว่า 120 ภาพในปี 2007 ภาพทั้งหมดเป็นภาพผู้หญิง เช่น ภาพเลสเบียนสองคนนอนเปลือยกายกอดกัน ภาพผู้หญิงกำลังสำเร็จความใคร่ ภาพสตรีมีครรภ์ และภาพสตรีที่มีฐานะสังคมเพราะได้สามีรวย

เช่น ภาพ Adele Bloch-Bauer I หญิงผู้มีสามีชื่อ Ferdinand Bloch-Bauer และขณะนั่งเป็นแบบเธอได้ลอบมีสัมพันธ์กับ Klimt แต่เมื่อ Klimt วาดภาพ Adele Bloch-Bauer II ในปี 1912 เสน่ห์ของเธอได้ลดลงไปมากแล้ว และนั่นก็หมายความว่าสัมพันธ์สวาทระหว่างคนทั้งสองก็ได้จางสิ้นไปแล้วด้วย

ถึงกระนั้น ภาพ Adele Bloch-Bauer I ก็ยังร่ายมนตราให้ผู้คนมาเยือน Neue Galerie ต่อไป เพราะเมื่อภาพถูกนำออกแสดงในสัปดาห์แรกของงานสถิติผู้เข้าชมได้เพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ทันที


ตัวอย่างการวิจารณ์งานศิลปะ ม.6

   


การวิจารณ์งานศิลปะ

https://www.youtube.com/watch?v=8r9w9wRejnA  ตัวอย่างการวิจารณ์งานศิลปะ

https://www.youtube.com/watch?v=cgQwVDKeUKc  

เปิดภาพ นั่งดู 7 งานศิลปะสาย Painting | Art Critique

อิทธิพลของวัฒนธรรมไทยที่มีต่องานทัศนศิลป์ในสังคม ทัศนศิลป์ ม.6




แหล่งข้อมูลวิดีโอ

https://www.youtube.com/watch?v=u1JJZU1ztGg 

อิทธิพลของวัฒนธรรมไทยที่มีต่องานทัศนศิลป์ในสังคม 

https://www.youtube.com/watch?v=pXq1WlE_zls

อิทธิพลของวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่มีผลต่องานศิลปะ

การวาดภาพล้อเลียน เนื้อหา ม.6


                                                     

การวาดภาพล้อเลียนหรือภาพการ์ตูน


การ์ตูนหมายถึงอะไร

 การ์ตูน(CARTOON)ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า "ภาพล้อ ภาพตลก บางทีก็เขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจล้อเลียน จะให้ดูรู้สึกขบขัน บางทีก็เขียนติดต่อกันเป็นเรื่องยืดยาว"

                                            การ์ตูนตลก ที่แสดงสื่อความหมายด้วยภาพ
ลักษณะของภาพวาดการ์ตูน
1. แบบธรรมชาติ   เป็นแบบที่อิงลักษณะความเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งต่างๆ ทั้งในลักษณะที่มีสัดส่วนเหมือนหรือคล้ายธรรมชาติ ในลักษณะแบบยืดสัดส่วนและหดสัดส่วน ดังตัวอย่างภาพ เป็นต้น
เหมือนหรือคล้ายธรรมชาติ

แบบยืดสัดส่วนผลงานของวัฒนา เพชรสุวรรณ แบบหดสัดส่วน
 (นักเขียนการ์ตูนในหนังสือขายหัวเราะ)  
แบบหดสัดส่วน
  2. แบบเหนือธรรมชาติ เป็นแบบที่สร้างสรรค์ขึ้นตามจินตนาการเหนือรูปแบบที่พบเห็นในธรรมชาติทั่วไป แต่อาจได้แรงใจมาจากสิ่งที่มีอยู่จริงหรือคิดขึ้นใหม่ก็ได้ เช่น โดราเอมอน
    และโดนัลดั๊ก เป็นต้น

ประเภทของภาพวาดการ์ตูน

ประเภทของการ์ตูน แบ่งออกได้ 6 ประเภท ดังนี้
คือภาพการ์ตูนที่วาดขึ้นและตีพิมพ์ลงสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร โดยมีเนื้อหาล้อเลียน เสียดสี ประชดประชันนักการเมือง หรือเหตุการณ์ทางการเมือง ในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์ จุดประสงค์เพื่อความสนุกสนานและความขบขัน ในบางครั้งอาจสอดแทรกถึงวิธีการแก้ปัญหานั้นๆ การ์ตูนชนิดนี้อาจมีคำบรรยายหรือไม่มีก็ได้ โดยนักวาดการ์ตูนล้อการเมืองนั้น ถือว่าเป็นคอลัมนิสต์หรือบรรณาธิการคนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ เรียกว่า การ์ตูนนิสต์ ( CARTOONNIST )
           การ์ตูนล้อการเมือง เกิดขึ้นครั้งแรกในโลกที่ประเทศอังกฤษ โดยชาวอังกฤษชื่อ เจมส์ กิลล์เรย์ (ค.ศ. 1757- ค.ศ.1815) ได้เขียนภาพล้อเลียนพระบรมวงศานุวงศ์ของประเทศอังกฤษ ที่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ศีลธรรมของชนชั้นสูง และการทำงานของรัฐบาล ทำให้ประชาชนคลายความเครียดจากภาวะสงครามในขณะนั้น
            สำหรับประเทศไทย การ์ตูนล้อการเมืองเริ่มมีขึ้นมาพร้อมๆ กับวิวัฒนาการการ์ตูนในประเทศไทย โดยเฉพาะในยุครัชกาลที่ 6 ที่สื่อสิ่งพิมพ์และประชาธิปไตยเฟื่องฟู ในยุคนี้มีการ์ตูนล้อการเมืองเริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

ภาพการ์ตูนล้อการเมืองภาพแรกของไทย (ฝีพระหัตถ์โดยรัชกาลที่ 6)
 เป็นภาพการ์ตูนล้อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ขณะเป็นกรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนล้อการเมืองภาพแรกของไทย
ภาพการ์ตูนล้อการเมือง ฝีพระหัตถ์โดยรัชกาลที่ 6

 การ์ตูนนิสต์การเมืองคนแรกของไทย คือ ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) ซึ่งมีโอกาสเดินทางไปศึกษาวิชาศิลปะการวาดที่ประเทศยุโรป ได้นำเทคนิคจากต่างประเทศวาดภาพการ์ตูนเป็นลายเส้น ได้รับรางวัลการประกวดภาพล้อจากรัชกาลที่ 6 โดยการเขียนการ์ตูนล้อเลียนนักการเมืองสำคัญๆ ในยุคนั้น
ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น)

ภาพล้อการเมือง ของเปล่ง ไตรปิ่น
  นอกจากนี้แล้ว ชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ ไอ เคียว คาวา ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองไทย สนับสนุนให้นักเขียนการ์ตูนวาดภาพการ์ตูนลงในหนังสือพิมพ์ยาโมโต จวบจนสมัยรัชกาลที่ 7 การ์ตูนเริ่มซบเซา เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดปัญหาการขาดแคลนกระดาษพิมพ์
            จนกระทั่งยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 วงการการ์ตูนเริ่มฟื้นฟูขึ้นพร้อมกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การ์ตูนนิสต์วาดภาพล้อเลียนจนเกินขอบเขต ทำให้มีกฏหมายของคณะราษฎรออกมาควบคุม
            หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประยูร จรรยาวงศ์ ได้วาดภาพการ์ตูนที่มีตัวแสดงชื่อ "ศุขเล็ก" ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำตัว เขียนการ์ตูนขำขัน และการ์ตูนล้อการเมือง ได้รับรางวัลจากการประกวดการ์ตูนสันติภาพโลก เมื่อปี พ.ศ. 2503 ที่นิวยอร์ก ชื่อภาพ การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย (THE LAST NUCLEAR TEST ) และได้รับรางวัลแมกไซไซ ที่ประเทศฟิลิปปินส์

ภาพการ์ตูนศุขเล็ก (รูปคนซ้ายสุด) สัญลักษณ์ประจำตัว ของประยูร จรรยาวงศ์


                                                          ภาพเขียนประยูร จรรยาวงศ์
ผลงานการเขียนการ์ตูน ของประยูร จรรยาวงศ์
  ยุคทองของการ์ตูนล้อการเมืองไทย เริ่มต้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เมื่อมีหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้นใหม่อีกหลายฉบับ ทำให้มีการ์ตูนนิสต์การเมืองที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นอีกหลายคน เช่น ชัย ราชวัตร กับคอลัมน์ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หมื่น (ชูชาติ หมื่นอินกุล) ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ อรุณ วัชระสวัสดิ์ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และ THE NATION เซีย ไทยรัฐ ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ขวด เดลินิวส์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ แอ๊ด ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ หมอ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และอูดด้า เป็นต้น



ผลงานของชัย ราชวัตร ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ



ผลงานการ์ตูน ของเซีย ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ



                                        ผลงานการ์ตูน ของเซีย ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ








ผลงานการ์ตูนของอรุณ วัชระสวัสดิ์ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ผลงานการ์ตูนของ ขวด เดลินิวส์ ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ภาพการ์ตูนล้อการเมือง ของนักเขียนการ์ตูนเมืองไทย

2. การ์ตูนล้อบุคคล (CARICATURE) เป็นการ์ตูนที่เขียนขึ้นเพื่อล้อเลียนบุคคลดังในสาขาอาชีพต่างๆ ของสังคม หรือาจจะเป็นภาพล้อเพื่อนๆ และตัวเราเองก็ได้
            ในการเขียนภาพล้อบุคคลนี้ สิ่งสำคัญคือจะต้องหาจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์บนใบหน้าและลักษณะรูปร่างของคนนั้นๆ ให้ได้ เช่น คิ้วดก ตากลมโต จมูกใหญ่ ปากหนา หูกาง รูปร่างสูงเก้งก้าง หรืออ้วนเตี้ย เป็นต้น จากนั้นจึงนำมาออกแบบตัวละครการ์ตูนด้วยการยืดหดสัดส่วนให้เพี้ยนไปจากความจริงให้ดูมีอารมณ์ขัน แต่ยังมีเค้าของบุคคลนั้นอยู่

ภาพการ์ตูนล้อบุคคลดังในสาขาอาชีพต่างๆ ของสังคม


ภาพการ์ตูนล้อบุคคลดาราไทย รูปคุณบิลลี่ และคุณสิเรียม

ภาพล้อบุคคลนักเขียนการ์ตูนชื่อ ชูชาติ หมื่นอินกุล หรือพี่หมื่น
วาดโดย อรรณพ กิตติชัยวรรณ หรือ แอ๊ด

ขั้นตอนการวาดภาพล้อบุคคล


  3. การ์ตูนขำขัน (GAG CARTOONS) เป็นการ์ตูนที่เขียนขึ้นเพื่อเน้นความตลกขบขันเป็นหลัก นิยมเขียนเป็นช่องอาจมีช่องเดียวหรือหลายช่องก็ได้ จะมีคำบรรยายหรือไม่มีก็ได้ มุกตลกควรคิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ปัจจุบันในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในสังคม ปฏิกิริยาการตอบสนองทางอารมณ์ขันจึงจะได้ผลดี ตัวอย่างการ์ตูนขำขันของไทยที่ได้รับความนิยมมากคือ การ์ตูนขายหัวเราะ เป็นต้น
การ์ตูนขำขันแสดงเหตุการณ์ปัจจุบันในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในสังคม

4. การ์ตูนเรื่องยาว (COMICS OR SERIAL CARTOONS)เป็นการ์ตูนที่เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวหลายกรอบภาพต่อเนื่องกันจนจบ เนื้อหาที่นำเสนอมีหลายแนว เช่น ผจญภัย วิทยาศาสตร์ สยองขวัญ รัก และตลกเบาสมอง เป็นต้น การ์ตูนประเภทนี้จะพิมพ์เป็นเล่ม เช่น หนังสือการ์ตูนฝรั่งเรื่องเกี่ยวกับยอดมนุษย์ทั้งหลาย การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องโดราเอม่อน เป็นต้น
             การ์ตูนเรื่องยาวนี้นักเขียนการ์ตูนไทยชื่อดังในอดีตผู้ล่วงลับชื่อ จุลศักดิ์ อมรเวช หรือ จุก เบี้ยวสกล ท่านเรียกว่า "นิยายภาพ" ผลงานเด่นของท่านได้แก่ เจ้าชายผมทอง การ์ตูนเพื่อนหนู

นิยายภาพเจ้าชายผมทอง
  นิยายภาพการ์ตูนเพื่อนหนู

 5. การ์ตูนประกอบเรื่อง (ILLUSTRATED CARTOONS)เป็นการ์ตูนที่วาดขึ้นเพื่อประกอบเนื้อหาของข้อเขียนต่างๆ เช่น ประกอบสื่อทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และประกอบสื่อการโฆษณา เป็นต้น
การ์ตูนประกอบสื่อทางการศึกษาเรื่องประเพณีการบวชนาค

ภาพการ์ตูนประกอบสื่อสิ่งพิมพ์
ภาพการ์ตูนบนปกหนังสือ
   6. การ์ตูนมีชีวิต (ANIMATED CARTOONS)หรือภาพยนตร์การ์ตูน เป็นภาพการ์ตูนที่เขียนแสดงอิริยาบถในท่านิ่งหลายภาพ ซึ่งค่อยๆ เปลี่ยนท่าทางไปทีละนิด แล้วนำไปถ่ายทำด้วยเทคนิคการถ่ายภาพยนตร์ หรือใช้คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ทำให้ภาพนั้นเคลื่อนไหวได้คล้ายมีชีวิต เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนไทยเรื่องสุดสาคร และก้านกล้วย      ภาพยนตร์ การ์ตูนฝรั่งเรื่องสโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด เป็นต้น
โปสเตอร์ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องสโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ดของ WALT DISNEY'S

 อุปกรณ์เครื่องมือในการวาดการ์ตูน
 อุปกรณ์เครื่องมือในการวาดการ์ตูน ที่สำคัญขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
             1. กระดาษ ให้มีเนื้อหนาพอควรและไม่ซึมเปื้อนหมึกหรือสีง่าย ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกลวิธีการสร้างสรรค์ เช่น กระดาษอาร์ต กระดาษการ์ด เหมาะสำหรับวาดด้วยปากกาจุ่มหมึก พู่กันจุ่มหมึก และปากกาหมึกสำเร็จรูป เป็นต้น กระดาษวาดเขียนร้อยปอนด์ด้านผิวเรียบเหมาะสำหรับการวาดด้วยดินสอดำ ดินสอสี ปากกา เป็นต้น ด้านผิวหยาบเหมาะสำหรับการวาดด้วยกลวิธีการระบายสีน้ำ สีโปสเตอร์ เป็นต้น
             2. ดินสอ ควรเป็นดินสอไส้อ่อน เพราะสามารถลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่าย ดินสอที่เหมาะใช้ร่างภาพการ์ตูน ได้แก่ B, 2B และ HB ไม่ควรใช้ดินสอที่มีไส้แข็งเพราะเวลาวาดจะขูดกระดาษเป็นรอยลึก ทำให้ลบยาก
             3. ยางลบ ควรเป็นแบบเนื้ออ่อน เพราะเวลาลบจะได้ไม่มีขุยมาก และสามารถตัดแต่งให้มีปลายแหลมเพื่อไว้ใช้ลบในส่วนพื้นที่แคบๆ ได้
             4. ปากกา นิยมใช้อยู่หลายแบบ เช่น ปากกาจุ่มหมึกหัวช้อน (หัวคาบร้า) หัวเขียนแผนที่ (หัวกลม) หัวจีเพ็น (G-PEN) และปากกาหมึกสำเร็จรูป เช่น ปากกาเขียนแบบ ปากกามาร์กเกอร์ ปากกาปลายสักหลาด และปากกาหัวไฟเบอร์ เป็นต้น
             5. พู่กัน นิยมใช้พู่กันขนอ่อนนุ่มแบบกลมมากกว่าพู่กันแบบแบน พู่กันกลมปลายแหลมเบอร์เล็กใช้สำหรับตัดเส้น ระบายพื้นที่แคบ และเก็บรายละเอียด เบอร์ใหญ่ใช้สำหรับระบายพื้นที่กว้าง และใช้ตัดเส้นที่มีขนาดใหญ่
             6. หมึก มีทั้งหมึกดำและหมึกสี ได้แก่ หมึกดำอินเดียนอิงค์ซึ่งใช้กับปากกาจุ่มหมึกหรือพู่กัน และหมึกสีที่ใช้กับปากกาเขียนแบบหรือพู่กัน 7. สี ที่นิยมใช้กันในระดับเบื้องต้น ได้แก่ สีดินสอ สีน้ำ สีโปสเตอร์ และสีเมจิก
มีดังนี้
             
1. ศึกษาเนื้อหาเรื่องราวที่จะวาด เพื่อจับประเด็นของจุดประสงค์ที่ต้องการให้ตัวละครนั้นๆ มีลักษณะเด่นอย่างไร เช่น เถ้าแก่อาเซี่ยผู้มีอันจะกิน จะมีลักษณะรูปร่างอ้วนท้วม ดวงตาเล็ก คนชรามีลักษณะหลังงอ ใบหน้าเหี่ยวย่น ผมขาว และโจรผู้ร้ายมีคิ้วหนา ตาดุดันไว้หนวดเครา เป็นต้น
                                 โจรผู้ร้าย                          คนชรา                       หญิงอ้วน


 2. ออกแบบร่างภาพ หลังจากศึกษาบุคลิกของตัวละครตามเนื้อหาที่เขียนกำหนดไว้จนเข้าใจแล้ว จึงใช้จินตนาการเป็นภาพขึ้นในสมองก่อน จากนั้นจึงถ่ายทอดออกมาเป็นภาพร่างคร่าวๆ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวแบบวาดภาพบุคลิกของตัวละครนั้นต่อไป
             
3. ลงมือวาดตามแบบ และใช้กลวิธีสร้างสรรค์ผลงานตามที่ตนกำหนดไว้ เมื่อได้แบบที่พอใจแล้วจึงลงมือวาดตัวละครการ์ตูนในแต่ละตัวตามบุคลิกที่ได้ออกแบบไว้
การวาดภาพบุคลิกตัวละครในการ์ตูน

บทบาทของการ์ตูนในการโฆษณา
บทบาทของการ์ตูนในการโฆษณา
        จากผลการวิจัยของนักจิตวิทยาพบว่าเด็กไม่ชอบภาพที่เหมือนจริงซับซ้อน แต่จะชอบภาพลายเส้นง่ายๆ มากกว่า ดังนั้นเด็กจึงชอบการ์ตูนและรับรู้ภาพการ์ตูนได้ดี เพราะภาพการ์ตูนส่วนใหญ่จะมีลายเส้นน้อยไม่ซับซ้อน นอกจากนี้การ์ตูนยังทำให้ผู้ดูเกิดอารมณ์ขันและภาพตัวละครการ์ตูนมักจะแสดงรอยยิ้ม จึงช่วยลดความเครียดและแรงต้านทานของผู้ดูลง การใช้ภาพโฆษณาด้วยการ์ตูนจึงมีส่วนช่วยให้ผู้ใหญ่และเด็กที่เห็นการโฆษณานั้นไม่เกิดความรู้สึกต่อต้าน
             การ์ตูนจึงถูกนำมาใช้เพื่อดึงดูดความสนใจในการโฆษณาต่างๆ เช่น ใบปิดโฆษณา (POSTER) ป้ายโฆษณา โฆษณาข้างรถ แผ่นปลิว โฆษณาในหนังสือพิมพ์ โฆษณาในสมุดหน้าเหลือง และภาพยนตร์โฆษณา เป็นต้น

การโฆษณาข้างรถด้วยการนำภาพการ์ตูนมาออกแบบช่วยดึงดูดความสนใจมากขึ้น

ขั้นตอนการออกแบบโฆษณาโดยใช้ภาพการ์ตูน

1. ศึกษาเนื้อหาเรื่องราวที่จะโฆษณา เพื่อจะได้ข้อมูลมาเตรียมออกแบบ กำหนดหัวเรื่อง ข้อความ ภาพประกอบ ตัวอักษรได้สอดคล้องกับจุดประสงค์ในการโฆษณา และสื่อสารได้ดี เหมาะสมกับเพศและวัย
             
2. ศึกษาจิตวิทยาการวาดภาพสร้างอารมณ์ความรู้สึก เพื่อนำไปใช้วาดภาพแสดงอารมณ์ต่างๆ บนใบหน้า เช่น ต้องการแสดงอารมณ์ในเชิงบวก วาดปากเป็นเส้นโค้งหงายให้ดูยิ้ม อารมณ์ในเชิงลบปากเป็นเส้นโค้งคว่ำ เป็นต้น
             
3. เลือกใช้กลวิธีการสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับวัสดุ เมื่อรู้แนวทางที่จะกำหนดรูปภาพและอารมณ์ของภาพแล้วตัดสินใจเลือกกลวิธีการสร้างสรรค์จะเป็นแบบวาดเส้น แบบระบายสี หรือแบบผสมให้สอดคล้องกับวัสดุที่จะใช้
             
4. ออกแบบร่างภาพ หลังจากได้ข้อมูลของหัวเรื่อง ข้อความและภาพประกอบที่จะใช้จึงลงมือร่างแบบตัวอักษร ภาพประกอบแล้วนำมาทดลองจัดองค์ประกอบภาพกำหนดสีสัน จนได้แบบที่พึงพอใจ
             
5. ลงมือวาดตามแบบ เมื่อได้แบบที่ต้องการจึงลงมือวาดตามกลวิธีการสร้างสรรค์ผลงานที่เลือกและกำหนดไว้ หลังจากวาดงานต้นฉบับเสร็จถ้าต้องการเก็บรักษาให้คงทนควรพ่นเคลือบภาพด้วยแลกเกอร์สเปรย์


ภาพโฆษณาเรื่องการประหยัดพลังงาน เป็นการออกแบบโดยใช้ภาพการ์ตูนเป็นสื่อสร้างความเข้าใจ


แหล่งข้อมูลวิดีโอเพิ่มเติม



https://www.youtube.com/watch?v=XNyk28lMvaE  การวาดภาพล้อเลียน

https://www.youtube.com/watch?v=cLxNtgJQFYs  การวาดภาพล้อเลียน

https://www.youtube.com/watch?v=xY0F3_XGOlc วาดภาพการ์ตูนล้อเลียน