วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565

รำแม่บท

 

ภาพประกอบ

อาจารย์จักรพัน  โปษยกฤต

รำแม่บทเล็ก

.
แม่บทเล็ก เป็นท่ารำมาตรฐาน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แม่ท่า” เช่นเดียวกับแม่บทใหญ่ แต่มีลีลากระบวนการรำที่สั้นกว่า แม่บทใหญ่ยาวถึง ๑๘ คำกลอน ส่วนแม่บทเล็กมีเพียง ๖ คำกลอน เป็นที่นิยมฝึกหัดกันเป็นอย่างมาก เพราะสารมารถนำไปใช้แสดงออกโรงไดพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป


ประวัติเพลงแม่บทเล็ก

แม่บทเล็กนี้ เป็นชุดรำชุดหนึ่งที่อยู่ในต้นเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทุกข์ 
ใช้ทำนองเพลงชมตลาด ซึ่งมีลีลาการเอื้อนที่ช้าและนุ่มนวล เหมาะกับกระบวนการรำที่มี
ความอ่อนช้อยงดงามตามลักษณะการรำของนาฏศิลป์ไทย ที่มีการวางไว้เป็นแบบมาตรฐาน


อ้างถึงบทความที่เกี่ยวข้อง

รำแม่บท ในการวิจัยครั้งนี้จะศึกษารำแม่บทเล็ก หรืออีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า 
แม่บทนางนารายณ์ มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ปรากฏอยู่ในระบำเบิกโรง 
ชุดนารายณ์ปราบนนทุก 

     และมีการสืบทอดต่อกันมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏในกลอนบทละคร
    ความพิสดารเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ จนถึงสมัยของพระบาทสมเด็จ
    พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเบิกโรงละครหลวง
    ไว้เป็นตำนานว่า



    เรื่องนารายณ์กำราบปราบนนทุก

     

    เป็นเรื่องดึกดำบรรพ์สืบกันมา
    เบิกโรงงานการเล่นเต้นรำ
    สำหรับโรงนางฟ้อนละครใน
    มีทีท่าต่าง ๆ อย่างนารายณ์
    มีชื่อเรียกท่าไว้ให้ศิษย์จำ
    บัดนี้เราได้รำทำบท
    เบิกโรงละครก่อนเล่นงาน




    ในต้นไตรดายุคโบราณว่า
    ครั้งกรุงศรีอยุธยาเอามาใช้
    ที่เริ่มมีพิธีทำเป็นการใหญ่
    แสดงให้เห็นครูผู้สอนรำ
    เยื้องกรายโดยนิยมคมขำ
    จะได้ทำให้ต้องแก่คลองการ
    ให้ปรากฏโดยแสดงแถลงสาร
    พวกเราท่านจงเป็นสุขทุกคน

    ลักษณะการแต่งกาย

              แต่งกายยืนเครื่อง พระ นาง ครบชุด

                   โอกาสที่ใช้แสดง

             สามารถใช้แสดงในงานต่าง ๆได้

     ิิิ                             วิธีที่ใช้แสดง

    – รำพระ นาง คู่ หรือ รำเป็นหมู่คณะ ตั้งแต่ ๒ คู่ขึ้นไป
    – รำเป็นนางล้วน เดี่ยว หรือ หมู่ก็ได้

                                ดนตรีที่ใช้ในการบรรเลง
    ใช้วงปี่พาทย์ เริ่มด้วยเพลงรัว ร้องเพลงชมตลาดจบด้วยเพลงรัวก็ได้ หรือ จะออกวรเชษฐ์
     เพลงเร็วลาก็ได้

    .

    .

    .

                         เนื้อร้องเพลง แม่บทเล็ก

    (ทำนองเพลงชมตลาด)

    เทพพนมปฐมพรหมสี่หน้า                    สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน

    ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน                            กินรีเลียบถ้ำอำไพ

    (ดนตรีรับ)

    อีกช้านางนอนภมรเคล้า                            แขกเต้าผาลาเพียงไหล่

    เมขลาโยนแก้วแววไว                            มยุเรศฟ้อนในนภาพร

    (ดนตรีรับ)

    ยอดตองต้องลมพรหมนิมิต                        อีกพิสมัยเรียงหมอน

    ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร                            พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์

    (ดนตรีรับ)

    https://www.youtube.com/watch?v=KVxiEh1Wf3c รำแม่บทเล็ก

    ปฏิบัตินาฏศิลป์ ม.1




    ประวัติความเป็นมารำวงมาตรฐาน

       รำวงมาตรฐาน เป็นการแสดงที่มีวิวัฒนาการมาจาก รำโทน  เป็นการรำและร้องของชาวบ้าน 
    ซึ่งจะมีผู้ชายและผู้หญิง รำกันเป็นคู่ๆ รอบๆ ครกตำข้าวที่วางคว่ำไว้ หรือไม่ก็รำกันเป็นวงกลม 
    โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ลักษณะการรำ และการร้องเป็นไปตามความถนัด  
    ไม่มีแบบแผนกำหนดไว้ 
          ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 – 2488 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้น
    ที่ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่  8ธันวาคม 2484เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพในประเทศ
    ไทย  โดยใช้เส้นทางต่างๆ  ในแผ่นดินไทยลำเรียงเสบียงอาหาร อาวุธและกำลังพล     
     เพื่อใช้ในการต่อสู้กับประเทศสัมพันธมิตร ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี จอมพล ป (แปลก)  
    พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย  
    เพราะเกรงว่าหากปฏิเสธคงจะถูกปราบปรามแน่  ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบ
    จากการรุกรานของฝ่ายสัมพันธมิตร   ที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีฐานทัพญี่ปุ่นทางอากาศโดยเฉพาะ
    ในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนัก
    ด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายทำลายชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก
     โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น
             เมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไป คืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจน
    จึงพักการรุกราน   ประชาชนชาวไทย ได้รับความเดือนร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัว
    เป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีการผ่อนคลายความตึงเครียด ความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้าน
    ที่ซบเซาไป กลับมาร้องรำทำเพลง นั้นก็คือ การเล่นรำโทน” คำร้อง ทำนองและการแต่งกาย
     ก็ยังคงเรียบง่ายเน้นความสะดวกสบาย   สนุกสนาน เช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่ เพลงใกล้เข้าไป
    อีกนิด   ช่อมาลี   ตามองตา   ยวนยาเหล เป็นต้น
       ต่อมาเมื่อปี พ.. 2487 รัฐบาลได้เล็งเห็นศิลปะพื้นบ้านอันสวยงามของไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย
    ควรที่จะเชิดชูให้มีระเบียบแบบแผนตามแบบนาฏศิลป์ไทยเพราะหากชาวต่างชาติมาพบเห็น
    จะตำหนิได้ว่าศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มีความสวยงาม  ประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะ
    ที่แสดงออกว่าเป็นชาติ ที่มีวัฒนธรรม    จึงได้มอบให้ กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบใน    
    การปรับปรุงและพัฒนาการรำ (รำโทน) ขึ้นใหม่ให้มีระเบียบ แบบแผน มีความงดงามมากยิ่งขึ้น
     ทั้งทางด้านเนื้อร้อง ทำนองเพลง และนำท่ารำจากแม่บทกำหนดเป็นท่ารำเฉพาะแต่ละเพลง
    อย่างเป็นแบบแผน
      รำวงมาตรฐาน ประกอบด้วยเพลงทั้งหมด 10 เพลง 
     กรมศิลปากรแต่งเนื้อร้องจำนวน 4 เพลงคือ  
                  1.เพลงงามแสงเดือน  (เพลงที่ 1)
                  2.เพลงชาวไทย  (เพลงที่ 2)
                  3.เพลงรำมาซิมารำ (เพลงที่ 3)
                  4.เพลงคืนเดือนหงาย (เพลงที่ 4)
    ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม แต่งเนื้อร้องเพิ่มอีก 6 เพลงคือ
                   1. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ  (เพลงที่ 5)
                   2.เพลงดอกไม้ของชาติ  (เพลงที่ 6)
                   3. เพลงหญิงไทยใจงาม  (เพลงที่ 7)
                   4. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า (เพลงที่ 8)
                5.เพลงยอดชายใจหาญ  (เพลงที่ 9)
                6.เพลงบูชานักรบ  (เพลงที่ 10)
      ส่วนทำนองเพล ทั้ง 10 เพลง กรมศิลปกรและกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้แต่ง  
    เมื่อปรับปรุงแบบแผนการเล่นรำโทนให้มีมาตรฐานและมีความเหมาะสม   
    จึงมีการเปลี่ยนชื่อจากรำโทนเป็น รำวงมาตรฐาน อันมีลักษณะการแสดงที่
    เป็นการรำร่วมกันระหว่างชาย-หญิง เป็นคู่ๆ เคลื่อนย้ายเวียนเป็นวงกลม (ทวนเข็มนาฬิกา)
     มีเนื้อร้องที่แต่งทำนองขึ้นใหม่ มีการใช้ทั้งวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบ และบางเพลงก็ใช้
     วงดนตรีสากลบรรเลงประกอบ ซึ่งเนื้อร้องที่แต่งขึ้นใหม่ทั้ง 10 เพลง มีท่ารำที่กำหนดไว้
    เป็นแบบแผน คือ


    เพลง               ท่ารำชาย                   ท่ารำหญิง

    เพลงงามแสงเดือน     ท่าสอดสร้อยมาลา              ท่าสอดสร้อยมาลา
    เพลงชาวไทย        ท่าชักแป้งผัดหน้า               ท่าชักแป้งผัดหน้า
    เพลงรำมาซิมารำ     ท่ารำส่าย                     ท่ารำส่าย
    เพลงคืนเดือนหงาย    ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง           ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง
    เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ท่าแขกเต้าเข้ารังและท่าผาลาเพียงไหล่ ท่าแขกเต้าเข้ารังและท่าผาลาเพียงไหล่
    เพลงดอกไม้ของชาติ  ท่ารำยั่ว                      ท่ารำยั่ว   
    เพลงหญิงไทยใจงาม  ท่าพรหมสี่หน้าและท่ายูงฟ้อนหาง    ท่าพรหมสี่หน้าและท่ายูงฟ้อนหาง
    เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า ท่าช้างประสานงาชายท่าจันทร์ทรงกลด ท่าช้างประสานงาชายท่าจันทร์ทรงกลด
    เพลงยอดชายใจหาญ  ท่าจ่อเพลิงกาล                ท่าชะนีร่ายไม้ 
    เพลงบูชานักรบ      ท่าจันทร์ทรงกลด และท่าขอแก้ว    ท่าขัดจางนางและท่าล่อแก้ว 


     ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำ    เพลงรำวงมาตรฐานทั้ง 10 เพลงนั้นคือคณะอาจารย์ด้านนาฏศิลป์ของ
    กรมศิลปากรได้ช่วยกันคิดประดิษฐ์ท่ารำให้งดงามถูกต้องตามหลักนาฏศิลป์กำหนดให้เป็น
    แบบมาตรฐาน ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำของรำวงมาตรฐาน คือ 
                          1.  หม่อมต่วน (นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) 
                          2.  ครูมัลลี คงประภัศร์ 
                          3.  ครูลมุล ยมะคุปต์
                         4.  ครูผัน โมรา    
     ต่อมาได้มีการนำรำวงนี้ไปสลับกับวงลีลาศ ทำให้ชาวต่างประเทศรู้จักรำวง เพื่อให้ประชาชนชาวไทย
    ได้เล่นกันแพร่หลาย และมีแบบแผนอันเดียวกัน กรมศิลปากรจึงเรียกว่ารำวงมาตรฐาน 
     การแสดงรำวงมาตรฐาน  มีผู้แสดงครั้งแรก  ดังนี้
                   นายอาคม    สายาคม                       นางสุวรรณี   ชลานุเคราะห์
                   นายจำนง   พรพิสุทธิ์                       นางศิริวัฒน์   ดิษยนันทน์
                   นายธีรยุทธ   ยวงศรี                         นางสาวสุนันทา   บุณยเกตุ



    https://www.youtube.com/watch?v=KVxiEh1Wf3c   รำแม่บทเล็ก


    https://www.youtube.com/watch?v=p3fIrEEeAiU  รำวงมาตรฐาน


    https://www.youtube.com/watch?v=6EM35bB9htw  สื่อการสอน รำวงมาตรฐาน

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    gotoknow.org 
    thaidance11.blogspot.com 

    วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2565

    พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี รัชกาลที่ 9

     


    https://www.youtube.com/watch?v=qTpxAxoibvw  

    เพลง Jazz เพลงพระราชนิพนธ์ [The jazz king]


    https://www.youtube.com/watch?v=biRGJcWuMkA 

    บทเพลงพระราชนิพนธ์ ชุด รักพ่อ...มิรู้จบ (เต็มอัลบั้ม)【Official Audio】

    “ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของข้าพเจ้า จะเป็นแจ๊สหรือไม่ใช่แจ๊สก็ตาม ดนตรีล้วนอยู่ในตัวทุกคน เป็นส่วนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตคนเรา สำหรับข้าพเจ้า ดนตรีคือสิ่งประณีตงดงามและทุกคนควรนิยมในคุณค่าของดนตรีทุกประเภท เพราะว่าดนตรีแต่ละประเภทต่างก็มีความเหมาะสมตามแต่โอกาสและอารมณ์ที่ต่างกันออกไป”

    ความตอนหนึ่งจากพระราชดำรัส ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่นักข่าวอเมริกันในรายการเสียงแห่งวิทยุอเมริกา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ถึงเรื่องดนตรีที่พระองค์ทรงโปรด

    ด้วยพระชนมายุเพียง 18 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เพลงอย่างจริงจัง ซึ่งขณะนั้นยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช โดยพระองค์สามารถพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงได้หลากหลายแนวทั้งแจ๊สและบลูส์

    แม้ว่าพระองค์จะทรงพระราชกรณียกิจอย่างหนักในฐานะประมุขของประเทศ แต่ยังทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้ถึง 48 เพลง พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นั้นกล่าวกันว่า หากทรงมีแรงบันดาลใจ ทรงสามารถพระราชนิพนธ์เพลงได้ทันที ดังใน พ.ศ. 2502 ที่เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเคนท์เสด็จเยือนประเทศไทย ระหว่างที่ทรงรอเครื่องบินจอดราว 10 นาที ก็ทรงแต่งเพลง Alexandra โดยใช้เวลาไม่กี่นาที หรือใน พ.ศ. 2516 “แมนรัตน์ ศรีกรานนท์” เล่าว่า ทรงแต่งเพลง “เราสู้ แบบสด ๆ โดยทรงขีดเส้นโน้ตห้าเส้นบนซองจดหมายแล้วทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงออกมาโดยพลัน”

    นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระสหายทางดนตรี ซึ่งเป็นนักดนตรีแจ๊สชั้นแนวหน้า ผู้ได้รับฉายาว่า “King of Swing” เขาผู้นั้น คือ “เบนนี่ กู๊ดแมน” โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงดนตรีกับศิลปินผู้นี้ถึง 2 ครั้ง ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นโดยผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก และบนอพาร์ตเม้นท์ของนายเบนนี่


    พระอัจฉริยภาพด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้รับการยอมรับและยกย่องจากทั่วโลก และด้วยพระอัจฉริยภาพอันสูงส่งด้านดนตรี สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา (Academy for Music and Performing Arts in Vienna) จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรเกียรติคุณชั้นสูงแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ ลำดับที่ 23 พร้อมทั้งจารึกพระปรมาภิไธยลงบนแผ่นศิลาของสถาบัน ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ที่มีอายุน้อยที่สุดและเป็นชาวเอเชียเพียงผู้เดียวที่ได้รับเกียรติอันสูงสุดนี้

    ในการเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐออสเตรียในครั้งนั้น (พ.ศ. 2507) วงดุริยางค์นีเดอร์เออสทอร์ไรซ์ โทนคึนสทเลอร์ ออร์เคสตรา ได้อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ออกบรรเลง ณ คอนเสิร์ตฮอลล์ กรุงเวียนนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ไปทรงฟังดนตรี ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ตามเสด็จครั้งนั้น ได้บันทึกไว้ว่า

    “…ชาวต่างประเทศซึ่งได้ซื้อตั๋วเพื่อจะทดสอบดูว่า ประชาชนที่มาฟังดนตรีนี้ ชอบ ชื่นชม กับเพลงพระราชนิพนธ์หรือเปล่า ปรากฏว่าทุกเพลงต้องช้า ล่าช้า…เพราะประชาชนได้ปรบมือถวายพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะทุกครั้งที่มีการปรบมือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ใน BOX ของ Presidential Box…ได้ทรงลุกขึ้นยืนรับการปรบมือจากประชาชน… หลังจากการดนตรีสิ้นสุดลง ผู้ที่มาฟังดนตรีมาบอกกับท่านทูตชาติชายฯ ว่า ‘ถ้าไม่อยากที่จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ละก็ มาเล่นดนตรีที่กรุงเวียนนาเถิด จะเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงยิ่งต่อไป”

    แสงแห่งแผ่นดิน สำนักพิมพ์อมรินทร์
    www.vogue.co.th
    https://www.brighttv.co.th/rama9/%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%8A%E0%B8%9B%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5#google_vignette

    บทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร




    https://www.youtube.com/watch?v=F2PTpkLKuUs  เพลงเกาะในฝัน


    ฉัน สุด ปลื้ม
    .ไม่ลืมเกาะงามที่เคย ฝัน
    .หลงเพ้อ คำมั่น
    .รำพันถึงความรัก ชื่น ฉ่ำ
    .แสง จันทร์ผ่อง
    .ส่องเป็นประกายบนผืน น้ำ
    .เสียงสาย ลมพร่ำ
    .คร่ำครวญเหมือนมนต์ ตรา
    .หาดทรายขาว..
    .หมู่ดาว พราวพร่างนภา
    .รูป งาม เพราพริ้ง ตา
    .ใย ด่วน ลาเลือน มลาย
    .ฝัน สุด สิ้น
    .ไม่ยล ไม่ยิน น่าใจ หาย
    .ฝันถึง ไม่หน่าย
    .ไม่คลาย ร้างรัก เธอ

    หาดทรายขาว
    .หมู่ดาว พราวพร่างนภา
    .รูปงาม เพราพริ้ง ตา
    .ใยด่วน ลาเลือน มลาย
    .ฝัน สุด สิ้น
    .ไม่ยล ไม่ยิน น่าใจ หาย
    .ฝันถึง ไม่หน่าย
    .ไม่คลาย ร้างรัก เธอ.....


    เพลงแสงเดือน


    ดนตรี 13 Bars..11...12...
    13...นวล....แสงนวลผ่องงามตา
    ....แสง จัน ทรา
    ....ส่องเรืองฟากฟ้า...ไกล
    ..งาม....แสงงามผ่องอำไพ
    ....ย้อม ดวง ใจ
    ....ให้คงคลั่งไคล้...เดือน
    ..ชมแล้ว ชมเล่า..เฝ้าชะแง้..แลดู
    ..เพลินพิศ เพลินอยู่..ไม่รู้..ลืมเลือน
    ..เดือน....แสงเดือนผ่องวันเพ็ญ
    ....แสง จันทร์ เพ็ญ
    ...เด่นงามใดจะเหมือน
    ....โฉม งาม เทียบ
    เปรียบเดือน..แสงงาม
    ดนตรี 5 Bars..3...4...
    5...นวล....แสงนวลผ่องงามตา
    ....แสง จัน ทรา
    ....ส่องเรืองฟากฟ้า...ไกล
    ..งาม....แสงงามผ่องอำไพ
    ....ย้อม ดวง ใจ
    ....ให้คงคลั่งไคล้...เดือน
    ..ชมแล้ว ชมเล่า..เฝ้าชะแง้..แลดู
    ..เพลินพิศ เพลินอยู่..ไม่รู้..ลืมเลือน
    ..เดือน....แสงเดือนผ่องวันเพ็ญ
    ....แสง จันทร์ เพ็ญ
    ...เด่นงามใดจะเหมือน
    ....โฉม งาม เทียบ
    เปรียบเดือน..แสงงาม..


    แสงเทียน

    จุดเทียนบวงสรวง ปวงเทพเจ้า
    สวดมนต์ค่ำเช้า ถึงคราวระทมทน
    โอ้ชีวิตหนอ ล้วนรอความตายทุกคน
    หลีกไปไม่พ้น ทุกข์ทนอาทรร้อนใจ
    ต่างคนเกิดแล้ว ตายไป
    ชดใช้เวรกรรมจากจร

    นิจจังสังขารนั้นไม่เที่ยง เสี่ยงบุญกรรม
    ทุกคนเคยทำกรรมไว้ก่อน

    เชิญปวงเทวดา ข้าไหว้วอน
    ขอพรคุ้มไปชีวิตหน้า

    ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา
    หนีปวงโรคาที่เบียดเบียน
    แสงแววชีวาเปรียบแสงเทียน

    เปรียบเทียนสิ้นแสง ยามแรงลมเป่า
    ชีพดับอับเฉา เหมือนเงาไร้ดวงเทียน
    จุดเทียนถวาย หมายบนบูชาร้องเรียน
    โรคภัยเบียดเบียน แสงเทียนทานลมพัดโบย
    โรครุมเร่าร้อน แรงโรย
    หวนโหยอาวรณ์อ่อนใจ

    ทำบุญทำทานกันไว้เถิด เกิดเป็นคน
    ไว้เตรียมผจญชีวิตใหม่

    เคยทำบุญทำคุณ ปางก่อนใด
    ขอบุญคุ้มไปชีวิตหน้า

    ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา
    แสงเทียนบูชาจะดับพลัน
    แสงเทียนบูชาดับลับไป



    ชะตาชีวิต

    นกน้อยคล้อยบินมาเดียวดาย
    ...คิดคิดมิวายกังวลให้หม่นฤทัยหมอง
    ขาดมวลมิตรไร้คนสนิทคู่เคียงครอง
    หลงไหลหมายปองคนปรานี
    ...ขาดเรือนแหล่งพักพำนักนอน
    ขาดญาติบิดรและน้องพี่
    บาปกรรมคงมี จำทนระทม

    ...ท้องฟ้าสายัณห์ตะวันเลือน
    ...แสงลับนับวันจะเตือนให้ใจต้องขื่นขม
    หากเย็นลงฟ้าคงยิ่งมืดยิ่งตรอมตรม
    ชีวิตระทมเพราะรอมา
    ...จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง
    เฝ้ามองให้เดือนชุบวิญญา
    สักวันบุญมา ชะตาคงดี

    นกน้อยคล้อยบินมาเดียวดาย
    ...คิดคิดมิวายกังวลให้หม่นฤทัยหมอง
    ขาดมวลมิตรไร้คนสนิทคู่เคียงครอง
    หลงไหลหมายปองคนปรานี
    ...ขาดเรือนแหล่งพักพำนักนอน
    ขาดญาติบิดรและน้องพี่
    บาปกรรมคงมี จำทนระทม

    ...ท้องฟ้าสายัณห์ตะวันเลือน
    ...แสงลับนับวันจะเตือนให้ใจต้องขื่นขม
    หากเย็นลงฟ้าคงยิ่งมืดยิ่งตรอมตรม
    ชีวิตระทมเพราะรอมา
    ...จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง
    เฝ้ามองให้เดือนชุบวิญญา
    สักวันบุญมา ชะตาคงดี



    ยามเย็น

    ..แดด รอน ๆ
    เมื่อทินกรจะลับเหลี่ยมเม-ฆา
    ทอแสงเรืองอร่าม ช่าง งาม ตา
    ในนภาสลับ จับ อัม พร
    ..แดด รอน ๆ
    เมื่อทินกรจะลาโลกไป ไกล
    ยามนี้จำต้องพราก จาก ดวง ใจ
    ไกลแสนไกลสุดห่วง ยอด ดวง ตา
    ..แต่ก่อนเคยคลอเคลียกัน
    ทุกวันคืนรี่นอุรา
    ต้องอยู่เดียวเปลี่ยววิญญา
    เหมือนดัง นภา ไร้ ทินกร
    แดด รอน ๆ
    หากทินกรจะลาโลกไป ไกล
    ความรักเราคง อยู่ คู่ กัน ไป
    ในหัวใจคงอยู่ คู่ เชย ชม
    ..แดด รอน ๆ
    หมู่มวลภมรบินลอยล่องตาม ลม
    คลอเคล้าพฤกษาชาติ ชื่น เชย ชม
    ชมสมตามอารมณ์ ล่อง เลย ไป
    ลิ่ว ลม โชย
    กลิ่นพันธุ์ไม้โปรยโรยร่วงห่วงอา ลัย
    ยามสายัณห์พลันพราก จาก ดวง ใจ
    คอยแสงทองวันใหม่ กลับ คืน มา
    แต่ก่อนเคยคลอเคลียกัน
    ทุกวันคืนชื่นอุรา
    ต้องอยู่เดียวเปลี่ยววิญญา
    เหมือนดังนภาไร้ทินกร
    ..โอ้ ยาม เย็น
    จวบยามนี้เป็นเวลา สุด อา วรณ์
    ยามไร้ความสว่างห่างทินกร
    ยามรักจำจะ จร จาก กัน ไป..